Show simple item record

dc.contributor.advisorประทุม ฤกษ์กลาง
dc.contributor.authorประพิมพันธ์ เป็นสุขพร้อม
dc.date.accessioned2023-01-23T03:20:06Z
dc.date.available2023-01-23T03:20:06Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.otherb199271th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6226
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลธรรมะ ช่องทางของ สื่อสังคมออนไลน์ ประเภทของเนื้อหาธรรมะ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะ ที่มีผลต่อการลด ความเครียดและการเพิ่มความสุข โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลกลุ่ม ตัวอย่างวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วง 36-45 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท สถานภาพโสด ตำแหน่งงานอยู่ในระดับปฎิบัติการ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการแสวงหา ข้อมูลธรรมะเป็นประจำทุกวัน โดยใช้งานจากที่บ้านในช่วงเวลา 18.01-22.00 น.และใช้เวลา ประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมด้านประโยชน์ของข้อมูลข่าวสารธรรมะมากที่สุด รองลงมา คือด้านการยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต และด้านการนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ตามลำดับ ในด้านช่องทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์แสวงหาข้อมูลธรรมะอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดย มีการใช้ช่องทางผ่านแอปพลิเคชันไลน์ มากที่สุด รองลงมา คือเฟซบุ๊ก ว.วชิรเมธี และกูเกิล กรุ๊ปส์ กลุ่มตัวอย่างมีการค้นหาประเภทเนื้อหาธรรมะอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการค้นหาข้อมูลธรรมะ ประเภทเนื้อหาด้านข้อคิดเกี่ยวกับธรรมะมากที่สุด รองลงมา คือ เนื้อหาประเภทกฎแห่งกรรม และ เนื้อหาเกี่ยวกับความสุขที่แท้จริงจากศาสนา ในส่วนของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะอยู่ใน ระดับปานกลางโดยใช้เพื่อเป็ นแนวทางในการดำเนินชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือเพื่อเป็นที่ยึด เหนี่ยวจิตใจ และเพื่อหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กลุ่มตัวอย่างมีการลดความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยในเรื่องธรรมะช่วยลดความวุ่นวายใจมากที่สุด รองลงมาคือ ธรรมะช่วยลด ความโกรธ และธรรมะช่วยลดความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง และมีการเพิ่มความสุขอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยในเรื่องธรรมะทำให้ข้าพเจ้ามีสุขภาพจิตที่ดี ธรรมะทำให้สมองของข้าพเจ้ า ปลอดโปร่ง และธรรมะทำให้ข้าพเจ้ามีความสุข มากที่สุด รองลงมา คือ ธรรมะทำให้ชีวิตของข้าพเจ้า มีคุณค่า ธรรมะทำให้ข้าพเจ้านอนหลับสนิท และธรรมะทำให้ชีวิตของข้าพเจ้าดีขึ้น ตามลำดับ ผลการทดสสอบสมมุติฐานพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงานต่างกัน มีพฤติกรรมในการแสวงหาข้อมูลธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีกลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ต่างกัน มีการเปิดรับช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแสวงหาข้อมูลธรรมะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุ 46-60 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ระหว่าง 40,000-50,000 บาท สถานภาพหย่า มีการเปิดรับช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแสวงหาข้อมูล ธรรมะมากที่สุด ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะประชากรด้าน อาชีพ และ ตำแหน่งงาน แตกต่างกันมี การเปิดรับช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแสวงหาข้อมูลธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน 3) กลุ่มตัวอย่างที่มีตำแหน่งงานต่างกัน มีการเปิดรับประเภทเนื้อหาธรรมะผ่านสื่อสังคม ออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าผู้บริหารระดับกลางมีการเปิดรับประเภท เนื้อหาธรรมะแตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะประชากรด้าน เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรสแตกต่างกันมีการเปิ ดรับประเภทเนื้อหาธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน 4) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงานต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะที่ได้มาจากการแสวงหาข้อมูลธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ไม่แตกต่างกัน 5) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงานต่างกัน มีการลดความเครียดจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์แสวงหาข้อมูลธรรมะไม่แตกต่างกัน 6) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงานต่างกัน มีการเพิ่มความสุขจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการแสวงหาข้อมูลธรรมะไม่แตกต่างกัน 7) ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามพบว่า พฤติกรรมการแสวงหา ข้อมูลธรรมะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ในระดับปานกลางและมี ความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับประเภทเนื้อหาธรรมะ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะ การลดความเครียด แต่กลับมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเพิ่มความสุข ในด้านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ พบว่ามีความสัมพันธ์ เชิงบวกในระ ดับปานกลางกับประเภทเนื้อหาธรรมะ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะและการลดความเครียด แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเพิ่ม ความสุข ในด้านประเภทเนื้อหาธรรมะ มีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ธรรมะและการลดความเครียดในระดับสูง แต่การเพิ่มความสุขมีกลับมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ ด้านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับการลดความเครียด แต่มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับการเพิ่มความสุข ด้านการลดความเครียด มีความสัมพันธ์ เชิงบวกในระดับต่ำกับการเพิ่มความสุขth
dc.description.provenanceSubmitted by Kwanruthai Kaewjampa (kwanruthai.k@nida.ac.th) on 2023-01-23T03:20:06Z No. of bitstreams: 1 b199271.pdf: 1613405 bytes, checksum: 9f62899102fac384e82fb6157afac06f (MD5)en
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2023-01-23T03:20:06Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b199271.pdf: 1613405 bytes, checksum: 9f62899102fac384e82fb6157afac06f (MD5) Previous issue date: 2017en
dc.format.extent148 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherธรรมะth
dc.subject.otherความเครียด (จิตวิทยา)th
dc.titleอิทธิพลของพฤติกรรมการแสวงหาข่าวสารธรรมะพุทธศาสนาต่อการลดความเครียดและการเพิ่มความสุขของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeThe effects of dharma information seeking behavior through social media on stress reduction and increasing happiness of working age population in Bangkokth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.111


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record