บทบาทของรายการเวทีสาธารณะกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงประเด็นทางสังคม
by อัญชลี เทียมคีรี
Title: | บทบาทของรายการเวทีสาธารณะกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงประเด็นทางสังคม |
Other title(s): | The role of public forum TV program in creating participation to change social issues |
Author(s): | อัญชลี เทียมคีรี |
Advisor: | อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2017.113 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยเรื่อง “บทบาทของรายการเวทีสาธารณะกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการ เปลี่ยนแปลงประเด็นทางสังคม” ผู้วิจัยมุ่งศึกษา “รายการเวทีสาธารณะ” ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของรายการ เวทีสาธารณะในการเปลี่ยนแปลงประเด็นทางสังคม และผลของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของ รายการเวทีสาธารณะที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเด็นทางสังคม โดยใช้เครื่องมือในการรวบรวม ข้อมูลประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) พร้อมกับ วิเคราะห์ประเด็นจากเทป บันทึกรายการ (Content Analysis) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) สนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลวิจัยพบว่า รายการเวทีสาธารณะ ซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นและอยู่ภายใต้องค์กรสื่อ สาธารณะไทยพีบีเอส โดยมีหลักการในการทำงานคือมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน ด้วยรูปแบบ ของรายการที่เน้นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้กับคนทุกกลุ่ม โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของ พลเมือง เพื่อขับเคลื่อนสังคมเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะ ทำให้รายการเป็นรายการข่าวที่สื่อ บทบาทความเป็นสื่อสาธารณะได้ชัดเจน จากการศึกษาประเด็นการนำเสนอรายการได้ให้สัดส่วนการ นำเสนอประเด็นปฏิรูปมากที่สุด โดยรองลงมาคือ ประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบจากนโยบายรัฐหรือ โครงการขนาดใหญ่ ประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ประเด็นเกี่ยวกับชุมชนสังคมและ วัฒนธรรม ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และประเด็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ซึ่งมีระดับของ ประเด็นตั้งแต่ 1) ประเด็นระดับเล็กที่มีผลกระทบเฉพาะชุมชน 2) ประเด็นระดับกลางที่มีผลกระทบระดับภูมิภาค และ 3) ประเด็นใหญ่ที่มีผลกระทบระดับประเทศ/ระดับสาธารณะ ซึ่งทั้ง 3 ระดับนั้น แม้ว่าจะเป็นปัญหาที่ถูกนำเสนออกมาในระดับที่แตกต่างกันไป แต่มักเชื่อมโยงและมีผลกระทบไปถึง ในระดับนโยบายเกือบทุกกรณี รายการได้ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในหลายมิติ ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในฐานะเป็น แหล่งข่าวหรือเจ้าของประเด็น 2) มีส่วนร่วมวางแผนกำหนดเนื้อหารายการ 3) การมีส่วนร่วมในรายการ 4) การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเด็น 5) การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อ เนื้อหารายการ ซึ่งการมีส่วนร่วมในฐานะเป็นแหล่งข่าวหรือเจ้าของประเด็น และการมีส่วนร่วมใน รายการ เป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมที่สูงที่สุด และพบว่าการมีส่วนร่วมในฐานะเป็นแหล่งข่าวหรือ เจ้าของประเด็น และการมีส่วนร่วมวางแผนกำหนดเนื้อหารายการ เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมที่ส่งผล กระทบและสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อประเด็นที่ถูกนำเสนอมากที่สุด แต่ทั้งนี้ผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยังอยู่ในระดับที่น้อยมาก เนื่องจากบางปัจจัยในการบริหารจัดการภายในองค์กร อาจเป็นข้อจำกัด ทำให้การเข้าไปมีส่วนร่วมยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้การหวังผล ในการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายจึงไม่สามารถทำได้มากนัก อย่างไรก็ดีสิ่งที่เป็นจุดเด่นของรายการ คือ สามารถสร้างการรวมกลุ่มพลเมืองและเสริมพลังภาคพลเมือง เปิดโอกาสให้กับคนเล็กคนน้อยของ สังคมเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้เห็นว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีตัวตน มีอำนาจ มีอัตลักษณ์ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | การเปลี่ยนแปลงทางสังคม -- ไทย
การสื่อสาร -- แง่สังคม -- ไทย สื่อมวลชน -- แง่การเมือง |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 134 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6229 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|