• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

ประสิทธิผลของนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม ของกรีนพีซประเทศไทย ที่มีต่อกลุ่มคนเจนเนอเรชั่นซี

by ชนม์ชนก เพ็งกุล

ชื่อเรื่อง:

ประสิทธิผลของนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม ของกรีนพีซประเทศไทย ที่มีต่อกลุ่มคนเจนเนอเรชั่นซี

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Effectiveness of innovative social marketing communication of greenpeace Thailand towards generation C audience

ผู้แต่ง:

ชนม์ชนก เพ็งกุล

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วรัชญ์ ครุจิต

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2558

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2015.124

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษารูปแบบสารในการรณรงค์ผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจ (Facebook Fan Page) ขององค์กรกรีนพีซ ประเทศไทย ที่เผยแพร่ช่วง พ.ศ. 2554 - 2557(2) เพื่อศึกษาการรับรู้ทัศนคติและแนวโน้มการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายเจนเนอเรชั่นซี และ (3) เพื่อค้นหารูปแบบสารที่มีลักษณะตรงตามความสนใจ และความต้องการของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายเจนเนอเรชั่น ซี การศึกษาวิจัยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาเชิงเปรียบเทียบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่ารูปแบบสารของโครงการ กรณีศึกษา 3 โครงการ ที่มีลักษณะของการให้ข้อมูล และมีลักษณะของการโน้มน้าวใจด้วยการตอกย้ำสารด้วยการใช้จุดจูงใจแบบต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดแนวโน้มการมีส่วนร่วม มีความโดดเด่นในการใช้จุดจูงใจดังนี้ คือ (1) โครงการปกป้องอาร์กติก โดดเด่นด้านการใช้จุดจูงใจโดยใช้อารมณ์ (2) โครงการปกป้องกระบี่จากถ่านหิน โดดเด่นด้านการใช้จุดจูงใจโดยใช้เหตุผล (3) โครงการปฏิวัติพลังงาน โดดเด่นด้านการใช้จุดจูงใจโดยใช้อัตลักษณ์บุคคลส่วนที่สองเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบสารในด้านการรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มการมีส่วนร่วม ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเจนเนอเรชั่น ซีจำนวน 10 คน ที่มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบสารของโครงการปกป้องกระบี่จากถ่านหิน ส่งผลต่อการรับรู้ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักมากที่สุดทำให้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเกิดทัศนคติในแง่บวกโดยเกิดความชอบ และยังทำให้เกิดความคล้อยตาม แต่ยังไม่ต้องการมีส่วนร่วม จากผลการศึกษาทั้งสองส่วนนำมาซึ่งรูปแบบสารที่มีลักษณะตรงตามความสนใจ และความต้องการของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายเจนเนอเรชั่น ซี ดังนี้ (1) รูปแบบสารที่แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ มีความสวยงาม ทันสมัย (2) มีการให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงแบบครบทุกด้าน (3) มีการจัดลำดับสารที่ดี (4) เนื้อหาสารจะต้องสื่อความหมายตรงตัว (5) ใช้สัญลักษณ์แทนข้อมูลเชิงสาระอย่างมีประสิทธิภาพ (6) บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ของโครงการที่ชัดเจน (7) การใช้รูปภาพเพื่อโน้มน้าวใจอย่างเหมาะสม (8) เข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย (9) สื่อสารที่ให้รู้สึกว่าประเด็นปัญหานั้นใกล้ตัว (10) การเลือกใช้สื่อบุคคลนั้น จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมได้นอกจากนี้ผลจากการศึกษาวิจัย ยังพบข้อค้นพบที่น่าสนใจที่ว่า นอกจากรูปแบบสาร แล้วยังมีปัจจัยด้านกระแสนิยมที่ส่งผลโดยตรงต่อการรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น ซี อีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การสื่อสารทางการตลาด
การสื่อสาร -- การตลาด
การสื่อสาร -- แง่สังคม
การตลาดเพื่อสังคม

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

184 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6242
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b191191.pdf ( 3,136.42 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [179]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×