Show simple item record

dc.contributor.advisorวรัชญ์ ครุจิตth
dc.contributor.authorชนม์ชนก เพ็งกุลth
dc.date.accessioned2023-01-24T07:39:51Z
dc.date.available2023-01-24T07:39:51Z
dc.date.issued2015th
dc.identifier.otherb191191th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6242
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษารูปแบบสารในการรณรงค์ผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจ (Facebook Fan Page) ขององค์กรกรีนพีซ ประเทศไทย ที่เผยแพร่ช่วง พ.ศ. 2554 - 2557(2) เพื่อศึกษาการรับรู้ทัศนคติและแนวโน้มการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายเจนเนอเรชั่นซี และ (3) เพื่อค้นหารูปแบบสารที่มีลักษณะตรงตามความสนใจ และความต้องการของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายเจนเนอเรชั่น ซี การศึกษาวิจัยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาเชิงเปรียบเทียบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่ารูปแบบสารของโครงการ กรณีศึกษา 3 โครงการ ที่มีลักษณะของการให้ข้อมูล และมีลักษณะของการโน้มน้าวใจด้วยการตอกย้ำสารด้วยการใช้จุดจูงใจแบบต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดแนวโน้มการมีส่วนร่วม มีความโดดเด่นในการใช้จุดจูงใจดังนี้ คือ (1) โครงการปกป้องอาร์กติก โดดเด่นด้านการใช้จุดจูงใจโดยใช้อารมณ์ (2) โครงการปกป้องกระบี่จากถ่านหิน โดดเด่นด้านการใช้จุดจูงใจโดยใช้เหตุผล (3) โครงการปฏิวัติพลังงาน โดดเด่นด้านการใช้จุดจูงใจโดยใช้อัตลักษณ์บุคคลส่วนที่สองเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบสารในด้านการรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มการมีส่วนร่วม ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเจนเนอเรชั่น ซีจำนวน 10 คน ที่มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบสารของโครงการปกป้องกระบี่จากถ่านหิน ส่งผลต่อการรับรู้ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักมากที่สุดทำให้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเกิดทัศนคติในแง่บวกโดยเกิดความชอบ และยังทำให้เกิดความคล้อยตาม แต่ยังไม่ต้องการมีส่วนร่วม จากผลการศึกษาทั้งสองส่วนนำมาซึ่งรูปแบบสารที่มีลักษณะตรงตามความสนใจ และความต้องการของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายเจนเนอเรชั่น ซี ดังนี้ (1) รูปแบบสารที่แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ มีความสวยงาม ทันสมัย (2) มีการให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงแบบครบทุกด้าน (3) มีการจัดลำดับสารที่ดี (4) เนื้อหาสารจะต้องสื่อความหมายตรงตัว (5) ใช้สัญลักษณ์แทนข้อมูลเชิงสาระอย่างมีประสิทธิภาพ (6) บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ของโครงการที่ชัดเจน (7) การใช้รูปภาพเพื่อโน้มน้าวใจอย่างเหมาะสม (8) เข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย (9) สื่อสารที่ให้รู้สึกว่าประเด็นปัญหานั้นใกล้ตัว (10) การเลือกใช้สื่อบุคคลนั้น จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมได้นอกจากนี้ผลจากการศึกษาวิจัย ยังพบข้อค้นพบที่น่าสนใจที่ว่า นอกจากรูปแบบสาร แล้วยังมีปัจจัยด้านกระแสนิยมที่ส่งผลโดยตรงต่อการรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น ซี อีกด้วยth
dc.description.provenanceSubmitted by นักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยทักษิณ (2566) (บุษกร แก้วพิทักษ์คุณ) (budsak.a@nida.ac.th) on 2023-01-24T07:39:51Z No. of bitstreams: 1 b191191.pdf: 3211693 bytes, checksum: bb36d50c6e9cdf6b74105288ff4efdd8 (MD5)en
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2023-01-24T07:39:51Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b191191.pdf: 3211693 bytes, checksum: bb36d50c6e9cdf6b74105288ff4efdd8 (MD5) Previous issue date: 2015en
dc.format.extent184 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการสื่อสารทางการตลาดth
dc.subject.otherการสื่อสาร -- การตลาดth
dc.subject.otherการสื่อสาร -- แง่สังคมth
dc.subject.otherการตลาดเพื่อสังคมth
dc.titleประสิทธิผลของนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม ของกรีนพีซประเทศไทย ที่มีต่อกลุ่มคนเจนเนอเรชั่นซีth
dc.title.alternativeEffectiveness of innovative social marketing communication of greenpeace Thailand towards generation C audienceth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2015.124


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record