การวิจัยเพื่อพัฒนาแบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การ
by กุลธิดา กรมเวช
Title: | การวิจัยเพื่อพัฒนาแบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การ |
Other title(s): | An empirical development of organizational socialization scale |
Author(s): | กุลธิดา กรมเวช |
Advisor: | บังอร โสฬส, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ |
Degree department: | คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2012 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2012.35 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การตามแนวคิดวงจรชวิตการทำงานของบูแวน (Bhuvan, 2010) โดยเริ่มจากจัดทำแบบวัดการถ่ายทอดทาง สังคมขององค์การ 3 ฉบับแต่ละฉบับประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย รวมเป็น 9 องค์ประกอบย่อยตามกระบวนการถ่ายทอดทางสังคมที่เสนอโดย ดวซและไรท์แมน (Deaux & Wrightsman, 1988) ดังนี้ (1) แบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การช่วงเรียนรู้ประกอบด้วยข้อคำถามที่เกี่ยวกับการแสวงหาและคัดเลือกการบรรจุเข้าทำงานและการเรียนรู้รวม 31 ข้อ (2) แบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การช่วงเติบโต ประกอบด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับการยอมรับ การดำรงรักษาและการหันเหรวม 34 ข้อ และ (3) แบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การช่วงคงที่ ประกอบด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับการทบทวน การออกจากองค์การและการจดจำความหลังรวม31 ข้อทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในองค์การที่ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management Excellence) จำนวน 1,002 คน ผลการตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น พบว่าแบบวัดทั้ง 3 ฉบับมีจำนวนข้อคำถามที่มีคุณภาพถึงเกณฑ์มาตรฐานจำนวน31, 33, และ 31 ข้อตามลำดับจากนั้นจึงทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยั่นยืน พร้อมทั้งหาคุณภาพของแบบวัดที่ได้ใหม่นั้น ผลการวิเคราะห์องคประกอบพบว่า (1) แบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การช่วง เรียนรู้ประกอบด้วย 16 ข้อคคำถามมีค่าความเชื่อมั่นชนิดแอลฟาเท่ากับ .902 และมีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 4.783-11.058 รวมทั้งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 72.475 (2) แบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การช่วงเติบโต ประกอบด้วยข้อคำถาม 17 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นชนิด แอลฟาเท่ากับ .912 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 6.958-12.776 รวมทั้งสามารถอธิบายความ แปรปรวนได้ร้อยละ 67.679 (3) แบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การช่วงคงที่ประกอบด้วย ข้อคำถาม 18 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นชนิดแอลฟาเท่ากับ .951 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 8.198- 12.817 รวมทั้งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 73.777 เมื่อรวมข้อคำถามทั้งหมดและทำการวิเคราะห์แบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การทั้งฉบับพบว่ายังคงประกอบด้วย 9 องค์ประกอบย่อย แต่จานวนข้อคำถามที่มีคุณภาพลดลงจาก 51 ข้อ เป็น 46 ข้อ สามารถอธิบาย ความแปรปรวนได้ร้อยละ 75.614 และมีค่าความเชื่อมั่นชนิดแอลฟาเท่ากับ .958 มีค่าอำนาจจำแนก อยูระหว่าาง 6.848-12.817 การวิจัยในครั้งนี้เสนอแนะว่าผู้เกี่ยวข้องในองค์การสามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดเพื่อวัด ระดับการถ่ายทอดทางสังคมขององค์ การในแต่ละช่วงอายุงาน หรือใช้ฉบับเต็มเพื่อวัดการได้รับการ ถ่ายทอดทางสังคมขององค์การโดยรวมเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงการถ่ายทอดทาง สังคมขององค์การ นอกจากนี้ควรนำแบบวัดไปประยุกต์ ใช้ในการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อหา ความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมกับตัวแปรที่ศึกษาอื่นๆ เช่น ประสิทธิผลการ ทำงาน เพื่อสามารถนำผลที่ได้ไปปรับปรุงหรือพัฒนาการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การเพื่อให้เกิด การทำงานที่มีประสิทธิผลต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012 |
Subject(s): | พฤติกรรมองค์การ
วัฒนธรรมองค์การ |
Keyword(s): | การถ่ายทอดทางสังคม |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 21, 126 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/625 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|