แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา
by วัชระ เชียงกูล
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for tourism development in Buriram to match behaviors of sport tourists |
ผู้แต่ง: | วัชระ เชียงกูล |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | โชคชัย สุเวชวัฒนกูล |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2015.115 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยว ระดับความสําคัญและ ประสิทธิภาพการดำเนินงาน (ความพึงพอใจในการใช้บริการ) ของปัจจัยที่ควรพิจารณาด้านการตลาดการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Importance-Performance Analysis (IPA) เพื่อให้ทราบแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว จังหวัดบุรีรัมย์ให้เหมาะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาซึ่งการศึกษาครั้งนี้อาศัยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 400 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน และในกรณีที่ผลการวิจัยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะนำสู่การวิเคราะห์แจกแจงแบบตารางไขว้ (Crosstabs) และทำการเปรียบเทียบระดับความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใชสถิติ Least-Significant Different (LSD)ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาส่วนใหญ่ เลือกใช้สื่อ เพื่อการรับรู้ก่อนการเดินทางคือ สื่อสังคมออนไลน์มีจุดประสงคการท่องเที่ยวเพื่อชมการแข่งขันกีฬา โดยมีผูร้่วมเดินทางจำนวน 2 คน ใช้รถส่วนบุคคลเพื่อการเดินทาง ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ทำการค้างแรมในที่พักราคาประมาณ 1,000 บาท มีระยะเวลาการท่องเที่ยว 2 วัน ค่าใชจ้่ายเฉลี่ยในการท่องเที่ยวแต่ละครั้งอยู่ที่ 10,000 บาทและมีความถี่ในการท่องเที่ยวอยูที่ 2 คร้ังต่อปีด้านระดับความสำคัญของปัจจัยที่ควรพิจารณาด้านการตลาดการท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ที่ ระดับมากและประสิทธิภาพการดำเนินงานของปัจจัยที่ควรพิจารณาด้านการตลาดการท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ที่ระดับปานกลางผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกันมีระดับความสำคัญของปัจจัยที่ควรพิจารณาด้นการตลาดการท่องเที่ยวโคยรวมที่แตกต่งกัน และปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของปัจจัยที่ควรพิจารณาด้านการตลาดการท่องเที่ยวโดยรวมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกเหนือจากนั้นพบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์นั้น ควรทำการปรับปรุงด้านการพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวให้มีมารยาท อัธยาศัยและบุคลิกภาพที่ดีในการให้บริการและมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริม โอกาสการจ้างงานให้เกิดความเท่าเทียมกัน ทั้งสตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมถึงมุ่งส่งสริมผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ทางจังหวัดฯ ควรเพิ่มด้านความหลากหลายของแพ็คเกจครบวงจรทางการท่องเที่ยวที่จัดจำหน่ายรวมถึงช่องทางการ สื่อสารข้อมูล ทางการท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์ก่อนการเดินทาง เช่น รายงานสถานการณ์ความสงบ ด้านสุขอนามัย ด้านข้อควรระวัง และความปลอดภัย ภัยพิบัติต่างๆ แก่นักท่องเที่ยว |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | นักท่องเที่ยว -- พฤติกรรม -- ไทย -- บุรีรัมย์
การท่องเที่ยว -- การจัดการ -- ไทย -- บุรีรัมย์ |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยวเชิงกีฬา |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 469 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6252 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|