ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ
by ศศิภรณ์ คำวิเศษณ์
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problem concerning on the privilege's protection of the institution higher education staffs particularly in academic |
ผู้แต่ง: | ศศิภรณ์ คำวิเศษณ์ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ปุ่น วิชชุไตรภพ |
ชื่อปริญญา: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิติศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2015.121 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
วิทยานิพนธ์เรื่อง "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ" ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับข้อความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐสิงคโปร์และไทย จากการศึกษาพบว่า พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการได้รับการคุ้มครองในเรื่องสิทธิประโยชน์ไม่เพียงพอ เนื่องจากการเกิดปัญหาเศษฐกิจในไทย เมื่อปี พ.ศ. 2540 จึงทำให้รัฐบาลมีนโยบายลดจำนวนข้าราชการเพื่อลดงบประมาณรายจ่ายของประเทศและมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสถาบันอุดมศึกษาจากเดิมที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาในส่วนราชการให้กลายมาเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐเพื่อให้การบริหารงานในสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเป็นอิสระจากส่วนราชการ อีกทั้ง สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐจะมีพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเป็นของตนเอง ทำให้มีการบรรจุตำแหน่งพนักงานในสถาบัอุดมศึกษาแทนที่อัตราว่างของตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของพนักงานใน สถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการจะเป็นไปตามข้อบังคับของแต่ละสถาบันอุดมศึกษาและกิจการของสถาบันอุดมศึกษาไม่อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน โดยในปัจจุบันมีบทบัญญัติกลาง คือ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ได้กำหนดการคุ้มครองให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ส่วนพนักงานในสถาบันอุดมศึกษานั้นพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดเพียงคำนิยามและให้การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปตามที่ข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาได้กำหนดไว้ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการได้รับสิทธิประโยชน์ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ โดยพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการมีสิทธิประกันสังคมและในบางสถาบันอุดมศึกษาได้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเป็นการออมเงินไว้ในเวลาที่เกษียณอายุการทำงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการไม่มีความผูกพันกับองค์กรเพราะไม่มีความมั่นคงในการทำงานและการดำรงชีวิตจึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนสายงานในการอุดมศึกษาของไทย ซึ่งเมื่อเทียบกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิซาการในสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรและสิงคโปร์ จะเห็นได้ว่าพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการของทั้งสามประเทศได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอและเท่าเทียมกัน ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่าปัญหาดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการของไทยหลังการเกษียณอายุการทำงานทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่าการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของพนักงานใน สถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการควรมีการกำหนดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิซาการและมีการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเพียงกองทุนเดียว โดยให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการจากทุกสถาบันอุดมศึกษาเข้ามาเป็นสมาชิกของกองทุนดังกล่าวและกำหนดในการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการของตนทุกคนเข้ามาเป็นสมาชิก ซึ่งการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวให้นำรูปแบบของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาปรับใช้ อาจมีความแตกต่างจาก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ดังนั้นหากมีการกำหนดเครื่องราชอิสริยาภรณ์และมีการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาตามที่ผู้เขียนได้เสนอไปจะส่งผลให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการมีแรงจูงใจในการทำงานและพัฒนาศักยภาพของตนเองตลอดเวลา ซึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์และกองทุนบำเหน็จบำนาญพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาจะก่อให้เกิดความมั่นคงในการทำงานและการดำรงชีวิตของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการและไม่เกิดภาวะสมองไหลในการอุดมศึกษาของไทยเพราะพนักงานใน สถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของตน แม้ว่าจะไม่เทียบเท่ากับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในระบบราชการก็ตาม |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
สวัสดิการลูกจ้าง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย บุคลากร -- สถาบันอุดมศึกษา |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 145 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6253 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|