Show simple item record

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติth
dc.contributor.authorสิริรัตน์ มุลิจันทร์th
dc.date.accessioned2023-01-24T09:03:08Z
dc.date.available2023-01-24T09:03:08Z
dc.date.issued2015th
dc.identifier.otherb191198th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6255
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (กฎหมายและการจัดการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ศึกษากรณีองค์กรตุลาการนั้น เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพทางนิติศาสตร์ เน้นการวิจัยเอกสาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการ โดยไม่ให้การตรวจสอบดังกล่าวกระทบกับความเป็นอิสระของตุลาการในการพิจารณาพากษาอรรถดี แต่มุ่งเน้นให้กิดการถ่วงดุลอำนาจ และการควบคุมตรวจสอบการใช้อ่านเป็นไปตามหลักนิติรัฐ ที่รัฐต้องยอมจำกัดอำนาจของตนเองให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่เป็นต้นกำเนิดของผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการได้ เช่น ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ เป็นต้น ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่ในการตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ผลการศึกษาจากงานวิจัยนี้ทำให้เกิดความชัดเจนในขอบเขตอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการหรือศาล ผู้เขียนจึงทำการศึกษาถึงโครงสร้าง ขั้นตอน และแนวทางการปฏิบัติงานขององค์กรตุลาการ ในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลทหาร เมื่อวิเคราะห์ตามหลักแนวคิด ทฤษฎีพบว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการทั่วไปของสำนักงานศาล งานธุรการทางคดีซึ่งเป็นงานสนับสนุนด้านกระบวนการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ทั้งงานธุรการทั่วไปและงานธุรการทางคดีนั้นปฏิบัติโดยข้าราชการเจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาล นอกจากนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินยังสามารถตรวจสอบในส่วนของงานบริหารจัดการคดีซึ่งเป็นกระบวนการขั้นตอนที่มิได้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแห่งเนื้อหาอรรคคดี ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาในทางการบริหารงาน รวมถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบจริยธรรมของผู้พิพากษาด้วยth
dc.description.provenanceSubmitted by นักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยทักษิณ (2566) (บุษกร แก้วพิทักษ์คุณ) (budsak.a@nida.ac.th) on 2023-01-24T09:03:08Z No. of bitstreams: 1 b191198.pdf: 2415769 bytes, checksum: db377213ba50c118d2ff6dca88152db2 (MD5)en
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2023-01-24T09:03:08Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b191198.pdf: 2415769 bytes, checksum: db377213ba50c118d2ff6dca88152db2 (MD5) Previous issue date: 2015en
dc.format.extent184 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.subjectผู้ตรวจการแผ่นดินth
dc.subject.otherตุลาการth
dc.subject.otherกระบวนการยุติธรรม -- ไทยth
dc.subject.otherกระบวนการยุติธรรมth
dc.titleอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ศึกษากรณีองค์กรตุลาการth
dc.title.alternativeThe ombudsman's jurisdiction in the examination of agencies in the administration of justice, a case study of judicial organizationth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineกฎหมายและการจัดการth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2015.125


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record