สื่อปฏิบัติการสมมติ รูปแบบการสื่อสารเพื่อการเสริมสร้างพลังอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในบริบทของการอบรมเชิงปฏิบัติการ
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
195 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b191187
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อิศราพักตร์ สรรพศาสตร์ (2015). สื่อปฏิบัติการสมมติ รูปแบบการสื่อสารเพื่อการเสริมสร้างพลังอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในบริบทของการอบรมเชิงปฏิบัติการ. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6259.
Title
สื่อปฏิบัติการสมมติ รูปแบบการสื่อสารเพื่อการเสริมสร้างพลังอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในบริบทของการอบรมเชิงปฏิบัติการ
Alternative Title(s)
Role-play action medium the communication pattern for the empowerment of child development volunteers
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา "สื่อปฏิบัติการสมมติ" รูปแบบการสื่อสารเพื่อการ เสริมสร้างพลังของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ในบริบทของการอบรมเชิงปฏิบัติการ และผลลัพย์ที่ เกิดขึ้น โดยใช้แนวทางวิถีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์ชัอมูลเชิงคุณภาพ ในกิจกรรมการ อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร จัดขึ้น วันที่ 3 สิงหาคม - 17 กันยายน พ.ศ. 2552 ทั้งนี้ เพื่อทำการศึกษาวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1 การวิจัยเชิงเอกสาร และ 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบำเพ็ญเหนือ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดศรีบุญเรืองและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนธรรมานุรักษ์ ผลการวิจัยพบว่า "สื่อปฏิบัติการสมมติ" ประกอบล้วย ลักษณะองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ 1) สภาวะอิสระทางร่างกายและจิตใจ 2) การกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า 3) การใช้ทักษะการเคลื่อนไหว และการใช้เสียง 4) การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และ 5) การสื่อสารความหมาย เชิงสัญญะ ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดสะท้อนอยู่ในการใช้กิจกรรมตำราในรูปแบบการสื่อสารของ วิทยากรได้แก่ เกม ดนตรี ลีลาประกอบเพลง การใช้จินตนาการ การเคลื่อนไหว การเล่น การเต้นอิสระ บทบาทสมมติ การเล่าเรื่องสร้างสรรค์ และการใช้แบบฝึกทักษะทางการแสดง ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นการแสดงออกทางร่างกาย เสียง ภาษา อารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ ขอ อาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก นอกจากนั้นผลการวิจัยพบว่า มีลำดับขั้นตอนการใช้รูปแบบการสื่อสารของ "สื่อปฏิบัติการสมมติ" ในการอบรมเชิงปฏิบัติการปี พ.ศ. 2552 รวมทั้งหมด 4 ลำดับขั้นตอน ได้แก่ 1) ผ่อนคลาย ไร้กลัว 2) ตัวตน สร้างสรรค์ 3 สัมพันธ์ เรียนรู้ และ 4) พื้นฟู บูรณาการ ขั้นตอนดังกล่าวให้ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กที่เกิดขึ้นทันที และ ผลลัพธ์อันต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ดังนี้คือ ด้านทัศนคติที่เปิดกว้างต่อการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ และเชื่อมั่นในการกล้าแสดงออกโดยปราศจากความกลัวและไม่ใส่ใจในเสียงวิจารณ์รอบข้าง, ด้านเจตคติในวิชาชีพที่เหมาะสม, ด้านบุคลิกภาพที่สะท้อนผ่านทักษะการแสดงออกทางร่างกาย เสียง ภาษา อารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ด้านลักษะภาพในการบูรณาการ ทางการจัดการเรียนรู้ ทางการ สื่อสารกับเด็กปฐมวัย และทางการสร้างคุณค่าต่อองค์กร, ด้านการทำงานเป็นทีมในการแสดงออกสร้างสรรค์และอิสระ มีความพึงพอใจในการทำงานเป็นทีม และการใช้พลังกลุ่มด้านแรงจูงใจในการทำงานหลังการอบรมทันทีที่มีเต็มเปี่ยม แต่แรงจูงใจในการทำงานปัจจุบัน ลดลง ด้วยสาเหตุค่าตอบแทนที่ไม่สมดุลกับค่าใช้จ่าย สรุปผลการวิจัยว่า "สื่อปฏิบัติการสมมติ" เป็นการบูรณาการองค์ความรู้เชิงสหวิทยาการ ที่มีประเด็นภายใต้แนวคิดวิชาการ 6 เรื่อง ได้แก่ 1) แนวคิดการสื่อสารระหว่างบุคคลผ่านสื่อบุคคล 2) แนวคิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 3 แนวคิดการเสริมสร้างพลัง 4 แนคิดสร้างสรรค์ในฐานะสื่อเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาแนวคิดกระบวนการเรียนรู้โดยบทบาทสมมติ และสุดท้าย1 แนวคิดสัญญวิทยาและการสร้างความหมาย โดยแนวคิดที่เป็นจุดเด่นของ "สื่อปฏิบัติการสมมติ" อยู่ที่การใช้รูปแบบการสื่อสารของวิทยากรผ่านก็กิจกรรมที่หลากหลาย ท่ามกลางบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ผ่อนคลาย เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน การสื่อสารสัมพันธ์แบบเสมอภาค สร้างการตระหนักรู้ในคุณค่าแห่งตนด้วยความหมายเชิงสัญญะ และการมีประโยชน์ต่อ การปฏิบัติงานในแวดวงการจัดอบรมสัมมนาเพื่อการพัฒนาบุคลากรครูที่สอบเด็กระดับปฐมวัย ใน สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งให้ประ โยชน์ทางตรงแก่วิทยากรในการใช้เป็นแนวทาง วางแผนหลักสูตรการอบรม และประ โยชน์ทางอ้อมแก่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดอบรมในการใช้เป็นทางเลือกรูปแบบการสื่อสารที่น่าสนใจ และได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558