• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การให้สิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินและกลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำที่มีผลต่อความรักและพลังขับเคลื่อนองค์การของคนเก่ง

by โชติรส ดำรงศานติ

Title:

การให้สิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินและกลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำที่มีผลต่อความรักและพลังขับเคลื่อนองค์การของคนเก่ง

Other title(s):

The impact of intangible rewards and leadership communication strategies on talent's passion

Author(s):

โชติรส ดำรงศานติ

Advisor:

วาสิตา บุญสาธร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ

Degree department:

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2011

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2011.54

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ โดยประการที่หนึ่งเป็นการ พัฒนาแบบวัด ความรักและพลังขับเคลื่อนองค์กรที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของผู้วิจัย รวมถึงตรวจสอบความเที่ยงตรง เชิงโครงสร้างของ แบบวัด และวัตถุประสงค์ประการที่สอง เป็ นการศึกษาอิทธิพลของสิ่งจูงใจที่ ไม่ใช่ตัวเงิน และกลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำที่มีต่อความรักและพลังขับเคลื่อนองค์การของคนเก่ง ตามวัตถุประสงค์ประการที่หนึ่ง ผู้วิจัยสร้างและตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ของแบบวัดความรักและพลังขับเคลื่อนตามแนวคิดของผู้วิจัย ซึ่งประกอบด้วย คุณลักษณะ 5 ประการ คือ 1) ความรักและปรารถนาจะเป็นสมาชิกองค์การ 2) การทุ่มเทสร้างผลงานที่เป็นเลิศ 3) การมุ่งมันพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 4) ความไม่ยอท้อต่ออุปสรรคและ 5) การระลึกถึงองค์การใน ทางบวก โดยจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอยางที่เป็น พนักงานในองค์การภาคเอกชนจากหลายประเภท ธุรกิจจำนวน 365 คน เพื่อนำมาประเมินความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ ด้วยวิธี Principle Component Analysis (PCA) จัดองค์ประกอบด้วยวิธี Orthogonal Rotation และหมุนแกนด้วยวิธี Varimaxโดยพิจารณาเลือกองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ มากกว่า 0.3 ขึ้นไป ผลการวิเคราะห์ สามารถจัดองค์ประกอบได้ 6 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่ 1-5 มี ความสอดคล้องตามโครงสร้างที่ผู้วิจัยเสนอ แต่ในองค์ประกอบที่ 6 ประกอบด้วยข้อคำถาม 1 ข้อ ซึ่งตามโครงสร้างเดิมเป็นข้อคำถามเชิงลบที่มีนัยยะชี้วัดด้าน การระลึกถึงองค์การในทางบวก ไม่มี ความเหมาะสมที่จะระบุเป็นองค์ประกอบใหม่ได้ และเมื่อพิจารณาค่าความเชื่อมั่นรายข้อพบว่าเท่ากับ -.46 ซึ่งสมควรตัดเนื่องจากไม่กระทบต่อความ เที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และทำให้ความเชื่อมั่นรายฉบับเพิ่มขึ้นเป็น .915 วัตถุประสงค์ประการที่สอง เป็นการ ศึกษาอิทธิพลของสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงิน และกลยุทธ์ การสื่อสารของผู้นำที่มีต่อความรักและพลังขับเคลื่อนองค์การของคนเก่ง พนักงานที่มีผลการปฏิบัติงาน และ/ หรือมีศักยภาพสูงจำนวน 410 คน จาก 6 องค์การชั้นนำด้านอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีอัตราตอบกลับแบบสอบถามที่ใช้ได้คิดเป็นร้อยละ 78.05 ผลการศึกษาหลักพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วยองค์การที่สังกัด ช่วงอายุ และ อายุงานในองค์การปัจจุบัน 2) ปัจจัยด้านสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงิน ประกอบด้วย งานที่มีคุณค่า และ โอกาสในการพัฒนาความสามารถ และ 3) ปัจจัยด้านกลยุทธ์การมีผลต่อความรักและพลัง ขับเคลื่อนองค์การโดยร่วมกันทำนาย ได้ร้อยละ 57.5 ดังนั้น ในการสร้างความรักและพลังขับเคลื่อน องค์การ ผู้นำและนักทรัพยากรมนุษย์ควรให้สิ่งจูงใจและ กลยุทธ์การสื่อสาร ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนเก่ง รวมทั้งควรพิจารณาในเรื่องความแตกต่างของบุคคล เช่น เพศ ช่วงอายุ ฯลฯ ประกอบด้วย

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011

Subject(s):

การจูงใจในการทำงาน
การสื่อสารในองค์การ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

185 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/631
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b175389.pdf ( 1.49 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSHRD: Theses [144]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×