• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และการสนับสนุนทางสังคมในองค์การ กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา ข้าราชการสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม

by เบญจพร ยิฐธรรม

Title:

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และการสนับสนุนทางสังคมในองค์การ กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา ข้าราชการสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม

Other title(s):

The relationships among organizational communication patterns and social support with work morale : a case study of government officers in the ministry of industry

Author(s):

เบญจพร ยิฐธรรม

Advisor:

บังอร โสฬส, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ

Degree department:

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2010

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2010.99

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และการ สนับสนุนทางสังคมในองค์การ กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ โดยมีจุดมุ่งหมาย ในการศึกษาที่สำคัญ 5 ประการ คือ ประการแรก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการ ติดต่อสื่อสารในองค์การ 4 รูปแบบ กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ประการที่สอง เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างข้าราชการที่มีพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารในองค์การ ทั้ง 4 รูปแบบ ในระดับที่แตกต่างกัน ประการที่สาม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทาง สังคมในองค์การจากผู้บังคับบัญชา และจากเพื่อนร่วมงาน กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของ ข้าราชการ ประการที่สี่ เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความปรารถนาให้มี พฤติกรรมการ ติดต่อสื่อสารในองค์การ 4 รูปแบบที่มากขึ้นกว่าปัจจุบัน กับ ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของ ข้าราชการ และประการที่ห้า เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความปรารถนาให้มีการสนับสนุนทาง สังคมในองค์การจากผู้บังคับบัญชาและจากเพื่อนร่วมงานที่มากขึ้นกว่าที่ได้รับในปัจจุบัน กับขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มข้าราชการสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมี ตำแหน่งอยู่ในระดับชำนาญการ และระดับปฏิบัติการ ดำเนินการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธี สุ่มเลือก หน่วยงาน 5 หน่วยงาน จากทั้งหมด 9 หน่วยงาน และทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ( Stratified Sampling) สุ่มจากแต่ละหน่วยงานเป็นสัดส่วนเท่าๆกัน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 359 คนการวิจัยครั้งนี้ได้เลือกใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูลซึ่งประกอบด้วย 4 ชุด ชุดที่ 1เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร ในองค์การ โดยครอบคลุมทิศทางการสื่อสาร 4 รูปแบบ คือการสื่อสารแบบบนลงล่าง แบบล่างขึ้น บน แบบแนวนอน และแบบข้ามสายงาน ชุด2 เป็นแบบสอบถามการได้รับการสนับสนุนทางสังคม ในองค์การจาก2 แหล่งคือจากผู้บังคับบัญชา และจากเพื่อนร่วมงาน ชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับขวัญก าลังใจใน 4 ด้านซึ่งประกอบด้วย ด้าน ความพึงพอใจในงาน ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ด้านความรู้สึกมั่นคงในงาน และด้าน ความก้าวหน้าในงาน และชุด ที่ 4 เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับลักษณะ ส่วนบุคคลของผู้ตอบ แบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบผลสำคัญ ดังนี้ 1) พบว่า ข้าราชการที่รายงานว่ามีพฤติกรรมการ ติดต่อสื่อสารในองค์การแต่ละรูปแบบใน 4 รูปแบบยิ่งมาก มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานมาก ตามไปด้วย โดยพบความสัมพันธ์ทางบวกนี้ทั้งในกลุ่มรวมและในองค์ประกอบย่อยทุกด้าน ของขวัญกำลังใจ คือ ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ด้านความพึงพอใจในงาน ด้านความรู้สึก มั่นคงในงาน และด้านความก้าวหน้าในงาน 2) พบว่า ข้าราชการที่รายงานว่าพฤติกรรมการ ติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบในปริมาณมาก มีขวัญกำลังใจมากกว่าข้าราชการที่รายงานว่ามีพฤติกรรม การติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบในปริมาณน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) พบว่าการได้รับการ สนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชา และจากเพื่อนร่วมงานมีความสัมพันธ์อย่างเชื่อถือได้ทาง สถิติ กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการโดยรวมและทั้ง 4 ด้านดังกล่าวข้างต้นด้วย 4) พบว่า ข้าราชการที่ปรารถนาให้มีพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารในองค์การ 4 รูปแบบมากขึ้นกว่า พฤติกรรมการติดต่อสื่อสารที่กระทำอยู่ ยิ่งมากขึ้นยิ่งมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ น้อยลงโดยพบความสัมพันธ์ทางลบในกลุ่มรวมและในองค์ประกอบย่อยหลายด้าน และ 5) พบว่า ข้าราชการที่ปรารถนาให้ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในองค์การจากผู้บังคับบัญชาและจากเพื่อน ร่วมงานมากขึ้นกว่าที่ได้รับในปัจจุบัน ยิ่งมากยิ่งมีขวัญกำลังใจในด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน และด้านความพึงพอใจในงานยิ่งน้อย นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ พบว่า ข้าราชการที่มีอายุมาก มี อายุราชการมากหรือมีระดับเงินเดือนมาก มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ใน หน่วยงานมากกว่าข้าราชการที่มีลักษณะตรงกันข้าม

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010

Subject(s):

การสื่อสารในองค์การ
ขวัญในการทำงาน
ความพอใจในการทำงาน

Keyword(s):

พฤติกรรมการสื่อสาร

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

13, 113 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/632
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b168257.pdf ( 3,256.40 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSHRD: Theses [150]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×