• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

by ชานนท์ ทองสุกมาก

Title:

บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

Other title(s):

The roles and authorities of local administrative organizations in promoting and protecting geographical indications under the intellectual property law system

Author(s):

ชานนท์ ทองสุกมาก

Advisor:

เกียรติพร อำไพ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2019

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2019.76

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการกระจายอำนาจกับบทบาทอำนาจหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านทรัพย์สินทางปัญญาในส่วนของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ ในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานส่วน ท้องถิ่นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศจีน สำหรับเป็นแนวทาง เพื่อกำหนดขอบเขตของอำนาจอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีส่วนช่วยในการ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามกฎหมายได้มากขึ้น จากการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยในฐานะที่ความใกล้ชิดกับ ประชาชนในท้องถิ่นมากที่สุดยังไม่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เท่าที่ควร ซึ่งเกิดจากป๎ญหาความไม่มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่มีบุคลากรที่มี คุณสมบัติในการทำหน้าที่โดยตรง และการขาดความเชื่อมโยงในการทำงานแบบบูรณาการของทั้ง ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติม อำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 โดยการกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นเป็นการเฉพาะในส่วนของการ ส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาของท้องถิ่นเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และให้มีการปรับปรุง โครงสร้างภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละรูปแบบ โดยให้มีหน่วยงานที่มีบุคลากร ประจำของแต่ละท้องถิ่นที่มีหน้าที่จัดการและดูแลเกี่ยวกับด้านทรัพย์สินทางป๎ญญาของชุมชนหรือ ท้องถิ่นนั้น ซึ่งสามารถทำหน้าที่ในลักษณะที่เป็นหน่วยงานให้คำแนะนำ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และส่ง ต่อคำขอรับความคุ้มครองสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มายังราชการส่วนกลางได้โดยตรง และให้มี นโยบายเพื่อการกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาในระดับท้องถิ่นในส่วนของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดภาคการค้าการลงทุน สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยการพัฒนาระบบความคุ้มครองให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และส่งเสริมการจดทะเบียนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์ภายใต้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น นอกจากนี้ ต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และจัดอบรมให้ข้อมูลความรู้แก่ท้องถิ่นและ ชุมชนอยู่เสมอ เพื่อเสริมสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญ ความตระหนักรู้ และความเข้าใจถึง สิทธิและประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาอย่างรอบด้าน เพื่อกระตุ้นให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญาใน ระดับท้องถิ่นในส่วนของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่สามารถได้รับความคุ้มครองสิทธิและใช้ประโยชน์จาก สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562

Subject(s):

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ทรัพย์สินทางปัญญา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

124 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6329
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b210965.pdf ( 1,073.30 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×