ปัญหาหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558
by ระวิวรรณ ทวิชสังข์
Title: | ปัญหาหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 |
Other title(s): | Collateral problems in accondance of Commercial Collateral Act B.E. 2558 |
Author(s): | ระวิวรรณ ทวิชสังข์ |
Advisor: | วริยา ล้ำเลิศ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2020 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2020.86 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ในการหาแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการ สถาบันการเงินมักเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่ ผู้ประกอบการให้ความสนใจเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กับบริษัทหรือกิจการของผู้ประกอบการ แต่ใน ขณะเดียวกันสถาบันการเงินก็อนุมัติวงเงินและปล่อยสินเชื่อได้ในวงเงินที่จำกัด เนื่องจากต้องอยู่ ภายใต้ข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ประกอบกับการพิจารณาสินเชื่อให้กับลูกค้าแต่ละรายนั้น สถาบันการเงินจะพิจารณาถึงปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น จำนวนวงเงินที่ผู้ประกอบการขอกู้ ความสามารถในการชำระคืน และมูลค่าของหลักประกันที่ผู้ประกอบการนำมาเป็นหลักประกันในการ ขอสินเชื่อ ทั้งนี้ ในการนำทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนี้ หากทรัพย์นั้นมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหนี้ที่ เป็นประกัน ย่อมเป็นการจูงใจให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินในการให้สินเชื่อ (Extension of Credit) เนื่องจากธนาคารหรือสถาบันการเงินย่อมมีความมั่นใจว่า แม้ลูกหนี้หรือผู้ขอสินเชื่อจะไม่ชำระหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็ยังสามารถที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันได้ ดังนั้น มาตรการการประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน จึงเป็นมาตรการหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในการหาเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการประกอบธุรกิจ และเป็นส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมการลงทุนใน การประกอบธุรกิจและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันมีแค่ค้ำประกัน จำนำ และจำนอง เท่านั้นที่ สถาบันการเงินนำไปใช้เกี่ยวกับการประกันการชำระหนี้โดยเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์มาตรา 702, 703 และมาตรา 747 กฎหมายหลักประกันดังกล่าวเป็นประโยชน์ในวงจำกัด และไม่สอดคล้องหรือรองรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันทำให้ทรัพย์สินที่มีมูลค่าทาง เศรษฐกิจหลายอย่างไม่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้ เช่น วัตถุดิบ สินค้าคงคลัง สิทธิเรียกร้อง ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น จากปัญหาข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่เอื้อต่อ การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินซึ่งเป็นหลักประกันและทรัพย์สินบางประเภทที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่ ไม่สามารถนำมาเป็นหลักประกันตามกฎหมายได้ จึงทำให้เป็นที่มาของพระราชบัญญัติหลักประกัน ทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 และมีผล ใช้บังคับในวันที่ 2 กรกฎาคม 2562 จากการศึกษาและวิเคราะห์พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 พบว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น โดยนอกจากจะเพิ่มเติมประเภททรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้แล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถใช้ ประโยชน์จากหลักประกันนั้นได้ต่อไป แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษายังพบว่าพระราชบัญญัติ หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 นั้น ยังคงมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการไม่ว่าจะเป็นปัญหา กฎหมายเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญา ผลของสัญญาและนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ หลักประกันกับผู้รับหลักประกัน ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ระหว่างผู้ให้หลักประกันและผู้รับ หลักประกันกับบุคคลภายนอก และปัญหาเกี่ยวกับการบังคับหลักประกัน.โดยแนวทางการแก้ปัญหาที่ ผู้ศึกษานำมาเสนอนั้นเป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเท่านั้น หากมีการแก้ไขบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจฉบับนี้จริง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสอบถามความเห็นของภาค ธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาในทางปฎิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้การปรับปรุง พระราชบัญญัติดังกล่าวสมบูรณ์และสมประโยชน์ทั้งในส่วนของผู้รับหลักประกัน และผู้ให้หลักประกัน และในส่วนอื่น ๆ ต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558
หลักประกันทางธุรกิจ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 139 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6331 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|