กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย กรณีศึกษา : ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการที่จำหน่ายรถยนต์ใช้แล้ว
Files
Publisher
Issued Date
2019
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
177 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b210968
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
คัตนานท์ ยะพานิช (2019). กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย กรณีศึกษา : ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการที่จำหน่ายรถยนต์ใช้แล้ว. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6332.
Title
กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย กรณีศึกษา : ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการที่จำหน่ายรถยนต์ใช้แล้ว
Alternative Title(s)
Liability for damage arising from unsafe products law case study : responsibility of used car entrepreneur
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรถยนต์ใช้แล้วเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีมาตรการ ทางกฎหมายในการกำจัดรถยนต์ใช้แล้วที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป เหมือนต่างประเทศ ในขณะที่ ผู้บริโภคก็ออกรถยนต์ใหม่ทดแทนรถยนต์คันเก่า วิวัฒนาการขายรถยนต์ในยุคแรก รถยนต์คันเก่าก็จะ ถูกขายให้แก่ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้วส่วนหนึ่ง ที่ประเทศไทยเรียกว่า เต้นท์รถยนต์ หรือ ขายเต้นท์ รูปแบบการเสนอขายของเต้นท์ก็จะมีการลงหนังสือรถยนต์ต่าง ๆ รวมถึงต้องอยู่ในทำเลที่ดีที่ ผู้คนสัญจรไปมาเพื่อสร้างโอกาสในการขาย อีกส่วนหนึ่งจะเป็นการขายระหว่างผู้ใช้รถยนต์คนเก่า กับ ผู้บริโภคโดยตรง ต่อมาเมื่อบริบทในสังคมเปลี่ยนไป มีวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีสูงขึ้น ระบบ อินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตผู้คนในสังคม ผู้ใช้รถยนต์คันเก่าก็ยังให้ความนิยมในการนำรถยนต์ไปขายเต้นท์รถยนต์เช่นเดิม เพียงแต่รูปแบบการเสนอขายถูกพัฒนาขึ้นด้วยรูปแบบการเสนอ ขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ในเว็บไซต์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการขายรถยนต์โดยเฉพาะ ผู้บริโภคจะ เข้าถึงข้อมูลของรถยนต์ผ่านคอมพิวเตอร์เดสท้อป หรือ โน้ตบุ้ค ทำให้ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว สร้างโอกาสในการขายเพิ่มขึ้นจากเทคโนโลยีที่พัฒนา ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสภาพเบื้องต้นของ รถยนต์ผ่านรูปถ่ายที่ถูกอัปโหลดเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีมีการ พัฒนาสูงขึ้นไปอีก โทรศัพท์มือถือมีราคาถูกลง ทำให้ประชาชนเข้าถึงฐานข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต ได้ง่ายขึ้นยิ่งกว่าเดิม โดยไม่ต้องทำผ่านเดสก์ท้อป หรือ โน้ตบุ้ค มีการโต้ตอบกันระหว่างเพื่อน เป็น เพื่อนของเพื่อน ใช้สังคมโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ผ่านทางแอปพลิเคชัน เช่น Facebook, Line, Instagram ทำให้รูปแบบการขายของผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว ถูกกระทำในนามของตัว ผู้ประกอบการเอง หรือ ตัวแทนเชิดมากขึ้น โดยมีการโพสต์การขายลงในระบบอินเตอร์เน็ตแบบ เฉพาะกลุ่ม โดยผู้ใช้แต่ละรายจะต้องขอเข้าร่วมกลุ่มแต่ละกลุ่มที่มีการสร้างขึ้น เพื่อเป็นสมาชิกก่อน ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่เดิมก่อนที่เทคโนโลยีจะพัฒนาขึ้นก็เป็นปัญหาที่มีอยู่แล้ว คือ รถยนต์ใช้แล้วที่ขาย หากมีความบกพร่องจนเกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน กล่าวคือ หากผู้บริโภคที่ซื้อรถยนต์ใช้แล้วได้รับ ความเสียหายจากการใช้สินค้า ประเภทรถยนต์ใช้แล้วที่ซื้อจากผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้วจากการ ใช้รถยนต์ที่เป็นปกติ ผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครองเพียงใด
จากการศึกษา ผู้เขียนพบว่า พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ ปลอดภัย พ.ศ.2551 มีข้อกฎหมายที่กำหนดความรับผิดของผู้ประกอบการไว้อย่างชัดเจน โดยนำหลัก ความรับผิดโดยเคร่งครัด หรือ ความรับผิดเด็ดขาดมาบังคับใช้ รวมถึงนิยามของ สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไว้ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ อีกทั้งยังมีการกำหนดขอบเขตความรับผิดในส่วนค่าเสียหายในส่วนของจิตใจ และ ค่าสินไหมทดแทนเชิงลงโทษไว้เพื่อปรามผู้ประกอบการด้วย อีกทั้งยังได้มีการบัญญัติเรื่องอายุความไว้ เป็นการเฉพาะ ซึ่งมีความกว้างในการคุ้มครองผู้บริโภค มากกว่ากฎหมายที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ ที่บังคับใช้ แต่เมื่อผู้เขียนได้ทำการศึกษาความเป็นมาและเจตนารมณ์ในการร่าง พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ทำให้พบว่า กฎหมายฉบับนี้มุ่งบังคับใช้ กับ ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก เท่านั้น (Mass Production) ไม่ได้รวมไปถึง ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้วที่ผลิตรถยนต์เป็นคันต่อคัน แม้ว่านิยาม ของคำว่า “ผลิต” ตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ จะหมายถึงการประกอบ ดัดแปลง ด้วยก็ตาม เนื่องจากในการ ซ่อมแซมฟื้นฟูสภาพรถยนต์ใช้แล้วจะมีหลายส่วน ส่วนอะไหล่ในเครื่องยนต์บางชิ้นต้องมีการถอด ออกมาเพื่อซ่อมแซม จากนั้นจึงประกอบเข้าไป รวมถึงหลายกรณีที่มีการดัดแปลงเอาอะไหล่รถยนต์ รุ่นอื่นที่ไม่ตรงรุ่นมาใช้ เพื่อลดต้นทุนในการขาย สร้างกำไรได้มากขึ้น ให้แก่ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้ แล้ว ในส่วนนิยาม คำว่า สินค้า ตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ทุกชนิดที่ผลิต หรือ นำเข้าเพื่อขาย ซึ่งหากพิจารณาตีความแล้ว รถยนต์ใช้แล้วก็น่าจะอยู่ในความหมายของคำว่า สังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ฉบับนี้ด้วย แต่เมื่อพิจารณาอย่างแท้จริงถึงเจตนารมณ์ของผู้ร่าง กฎหมายแล้ว รถยนต์ใช้แล้วกลับไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้ ผู้บริโภคได้รับความ คุ้มครองเพียงข้อกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น อีกทั้ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในส่วน มาตรา 4 ได้บัญญัตินิยามของสินค้า “ผลิตผลเกษตรกรรม” ไว้อย่างชัดเจน แต่กลับไม่มีการบัญญัติ กฎหมายในส่วนนิยามเพื่อบังคับใช้ กับ สินค้า “รถยนต์ใช้แล้ว” เป็นการเฉพาะ ภายหลังที่ผู้เขียนได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ทั้งในประเทศ สหรัฐอเมริกา, กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และ ประเทศญี่ปุ่นแล้ว พบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ การปกครองแบ่งเป็นมลรัฐ ศาลฎีกาสูงสุดของแต่ละมลรัฐ ต่างมีคำวินิจฉัย และ บรรทัดฐานในการ วางข้อกฎหมายระบบคอมมอน ลอว์ โดยมีคำพิพากษาที่น่าสนใจของศาลสูงสุดแห่งมลรัฐนิว เจอร์ซีย์ ได้พิพากษาให้ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว ต้องรับผิดตามหลักกฎหมายความรับผิดโดยเคร่งครัดด้วย แต่กลับกันศาลสูงสุดในมลรัฐอิลลินอยส์ กลับปฎิเสธหลักการที่จะให้ผู้ประกอบการรับผิดในกฎหมาย ความรับผิดของผลิตภัณฑ์ต่อสินค้ารถยนต์ใช้แล้ว ในส่วนกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และ ญี่ปุ่น ไม่ได้นำหลักกฎหมายความรับผิดโดยเคร่งครัด มาปรับใช้กับผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว โดยหลักกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับเพียงผู้ประกอบการที่ ผลิตสินค้าจำนวนมาก (Mass Production) ผู้เขียนได้เสนอแนวทางให้แก้ไข โดยเพิ่มเติมกฎหมายพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความ เสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ให้มีความชัดเจน และ ครอบคลุมไปถึงสินค้า รถยนต์ใช้แล้ว โดยให้เพิ่มเติมนิยาม สินค้า “รถยนต์ใช้แล้ว” เข้าไปในคำนิยาม มาตรา 4 เพื่อจะมีผล
บังคับทางกฎหมายที่เป็นธรรมมากขึ้นในส่วนค่าเสียหาย และ ภาระการพิสูจน์ ในการคุ้มครอง ผู้บริโภคที่ได้รับอันตรายจากการใช้สินค้าประเภท ”รถยนต์ใช้แล้ว”จากการใช้ตามปกติธรรมดา และ ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการบังคับให้ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้วต้องจัดทำ “คำแนะนำผู้ซื้อ” ให้แก่ผู้บริโภค
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562