ปัญหาในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าโดยการบังคับใช้สิทธิทางอาญา ศึกษาเฉพาะกรณี การปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า
Files
Publisher
Issued Date
2019
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
153 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b210971
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
บารมี กวักทรัพย์ (2019). ปัญหาในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าโดยการบังคับใช้สิทธิทางอาญา ศึกษาเฉพาะกรณี การปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6335.
Title
ปัญหาในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าโดยการบังคับใช้สิทธิทางอาญา ศึกษาเฉพาะกรณี การปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า
Alternative Title(s)
Criminal trademark enforcement : a case study of spurious trademark or fraudulent imitatior
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า และ บังคับใช้โทษทางอาญาจากการละเมิดเครื่องหมายการค้า ซึ่งจะศึกษาเฉพาะกรณี การปลอมหรือ เลียนเครื่องหมายการค้าและความผิดทางอาญาจากการละเมิดสิทธิดังกล่าวเท่านั้น ไม่รวมถึงสิทธิหรือ การบังคับสิทธิทางแพ่ง โดยศึกษาจากกฎหมายของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ รวมไปถึงการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อเสนอแนวทางในการ แก้ไขปัญหาและพัฒนากฎหมายคุ้มครองและความผิดทางอาญาจากการละเมิดเครื่องหมายการค้า ของประเทศไทยที่เหมาะสมต่อไป จากการศึกษาพบว่า การบังคับใช้โทษทางอาญาจากการการปลอมหรือเลียนเครื่องหมาย การค้าของประเทศไทย ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และในพระราชบัญญัติเครื่องหมาย การค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและกำหนดโทษทาง อาญาจากการละเมิดเครื่องหมายการค้าไว้แตกต่างกัน อีกทั้งยังได้กำหนดให้สภาพความรับผิดทาง อาญาจากการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าที่เป็นความผิดอาญาที่คู่กรณีไม่อาจยอมความกันได้ หรือเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการใช้กฎหมายอาญาเฟ้อ ทำให้เกิดผลกระทบ ต่อกระบวนการยุติธรรม และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการคุ้มครองเจ้าของเครื่องหมายการค้า จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนด สภาพความรับผิดทางอาญาจากการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าคู่กรณีไม่อาจยอมความกันได้ หรือเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ส่วนในประเทศเยอรมันและประเทศฟินแลนด์ กำหนดให้การ ดำเนินคดีอาญาจากการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าผู้เสียหายจะต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเสียก่อน หมายความว่าการบังคับใช้สิทธิทางอาญาในการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าเป็นเรื่องของวัตถุประสงค์ของผู้เสียหายในการตัดสินใจที่จะบังคับใช้สิทธิทางอาญา ปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงเสนอแนะให้ประเทศไทยแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญาจากการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า ให้คู่กรณีสามารถยอมความกันได้ เช่นเดียวกับ ประเทศเยอรมันและประเทศฟินแลนด์ เพื่อลดปัญหากฎหมายอาญาเฟ้อซึ่งกระทบต่อกระบวนการ ยุติธรรม และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการคุ้มครองเจ้าของเครื่องหมายการค้าอย่างแท้จริง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562