• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

บทบาทภาครัฐในการส่งเสริมและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของบุคคลต่างด้าว

by กฤษณา บุญแท้

Title:

บทบาทภาครัฐในการส่งเสริมและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของบุคคลต่างด้าว

Other title(s):

The roles of the state in the promotion and monitoring of undertaking of businesses by foreigners

Author(s):

กฤษณา บุญแท้

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2019

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2019.84

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ปัจจุบันการค้าการลงทุนจากบุคคลต่างชาติในประเทศไทยเป็นแบบเสรีทางการค้าอย่างมี เงื่อนไข และมีข้อก้าหนดที่เข้มงวด โดยมีการห้ามบุคคลต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ในบางธุรกิจ และธุรกิจบางประเภทคนต่างชาติจะด้าเนินการได้ต้องขออนุญาตก่อนถึงจะดำเนินธุรกิจ ได้ ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจจากคนต่างชาตินั้นอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประกอบ ธุรกิจของบุคคลคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ซึ่งบังคับใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปี และในปัจจุบันการค้า การลงทุนระหว่างประเทศหรือการลงทุนจากต่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงไปตาม สภาพเศรษฐกิจและสังคมการเมืองของประเทศ สิ่งส้าคัญที่สุดคือ นโยบายการค้าการลงทุน และ ความสะดวกรวดเร็วในการเปิดเสรีทางการค้าเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศให้ได้มาก และมีผลดีต่อประเทศให้มากที่สุด จึงเป็นที่มาในการศึกษาถึงบทบาทของรัฐในการส่งเสริมและการก้ากับดูแลการประกอบ ธุรกิจของบุคคลต่างด้าวในประเทศไทย โดยศึกษาบทบาทนโยบายของรัฐ ทั้งในระดับนโยบายและ การนำนโยบายไปปฏิบัติ หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ที่ท้าหน้าที่ในการส่งเสริมและก้ากับดูแล กฎเกณฑ์ ข้อห้าม เงื่อนไขในการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติ โดยศึกษาทั้งในแง่กฎหมายที่ใช้บังคับ แนวนโยบายที่ผ่านมา หลักคิดทฤษฎี ทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยผลการศึกษาพบว่า บทบาท ภาครัฐขาดนโยบายระดับรัฐบาลที่มีความชัดเจนในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งขาดการวางแผนในระยะสั้นระยะกลางระยะยาว ทั้งนี องค์กร หน่วยงานของรัฐในการส่งเสริม กำกับดูแล คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของบุคคลคนต่างด้าว ยังมีข้อจ้ากัดในด้านบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมการลงทุนของคนต่างด้าว ทั้งด้านการปฏิบัติการด้าน วิชาการ จำนวนบุคลากรในการปฏิบัติงาน การควบคุม และการเปิดเสรีการค้าตามบัญชีแนบท้าย พระราชบัญญัติฯ ซึ่งเป็นการควบคุมที่เข้มงวดในหลายประเภทธุรกิจ ส่งผลให้เกิดการผูกขาดจากกลุ่ม ทุนในประเทศ ไม่เกิดการพัฒนาด้านนวัตกรรมในทางการค้าและบริการ ท้าให้ไม่ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงในการแข่งขันระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่มาของข้อเสนอแนะใน การศึกษาครั้งนี ดังนี้ แก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของบุคคลต่างด้าว พ.ศ.2542 ในประเด็น นโยบายและแผนในการส่งเสริมและก้ากับดูแลการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ โดยกำหนดให้มีแผน แม่บทและแผน ปฏิบัติการในการส่งเสริมและกำกับดูแลในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว แก้ไข และกำหนดบทบาทของหน่วยงานของรัฐในการส่งเสริมและกำกับดูแล ทั้งคณะกรรมการการประกอบ ธุรกิจของบุคคลคนต่างด้าว และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้มีบทบาทหน้าที่เชิงรุกมากขึ้น เน้นบทบาท การส่งเสริมให้ชัดเจน และบทบาทในการควบคุมให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และประการสุดท้ายพิจารณาเปิดเสรีทางการค้าให้มากขึ้น โดยทบทวนบัญชี แนบท้ายพระราชบัญญัติเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่เคยมีข้อจำกัด เพื่อให้เกิดเสรีทางการค้าและเกิดประโยชน์ต่อสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และทำให้ผู้ประกอบการไทยพร้อมที่จะแข่งขันและพัฒนาในระดับระหว่างประเทศได้

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562

Subject(s):

คนต่างด้าว -- ไทย
การลงทุนของต่างประเทศ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

170 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6336
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b210997.pdf ( 1,463.54 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×