Show simple item record

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติ
dc.contributor.authorกฤษณี มหาวิรุฬห์
dc.date.accessioned2023-03-13T07:59:44Z
dc.date.available2023-03-13T07:59:44Z
dc.date.issued2019
dc.identifier.otherb210998th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6337
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในการชี้มูลความผิดทางวินัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทราบการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตและการดําเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตในต่างประเทศ และ เพื่อให้ทราบปัญหาการตรวจสอบการใช้อํานาจในการชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยศาลปกครองพร้อมข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา โดยมี สมมติฐานในการศึกษาคือ ปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตการใช้อํานาจในการชี้มูลความผิดทางวินัย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตการใช้อํานาจของศาลปกครองในการตรวจสอบการชี้มูล ความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติปัญหาการชี้มูล ความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินอกจากความผิดฐาน ทุจริตต่อหน้าที่เป็นการใช้อํานาจเกินกว่าที่กฎหมายกําหนดหรือไม่และปัญหาการนํากระบวนการไต่ สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปเป็นการสอบสวนของหน่วยงาน และนําไปใช้ในการชี้มูลความผิดทางวินัยของหน่วยงานได้หรือไม่ ปัญหาดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบ สําคัญต่อประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประสิทธิภาพในการลงโทษทาง วินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริต หากมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะทําให้การดําเนินงานทางวินัยกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตมีความชัดเจน และการบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและมีความเป็นธรรม มากขึ้น ผลการศึกษายืนยันสมมติฐานข้างต้นและมีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาคือข้อพิจารณาในเรื่อง นิติรัฐและนิติธรรมและการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องถ้อยคําที่ บัญญัติในกฎหมายต้องมีความชัดเจน หากต้องมีการตีความต้องให้ได้ข้อยุติร่วมกันโดยเร็วเพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาสะสม ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจนิยามของคําว่า “ทุจริต” ที่จะนําไปสู่การชี้มูล ความผิดและการลงโทษทางวินัยในทิศทางที่สอดคล้องตรงกัน โดยไม่จํากัดว่าการกระทําความผิดนั้นต้อง มาจากความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่เพียงฐานความผิดเดียวแต่ควรครอบคลุมอย่างน้อยอีก 3 ฐานความผิด คือ ฐานร่ํารวยผิดปกติฐานกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ ฐานกระทําความผิดต่อตําแหน่ง หน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งความผิดที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ขอบเขตการใช้อํานาจของแต่ละฝ่ายเป็นไปใน ทิศทางเดียวกันและเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและการพิจารณาโทษทางวินัยของเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตทุก ฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางและข้อความคิดที่สอดคล้องกัน หลักการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริต สมควรได้รับควรมีความรุนแรงกว่าความผิดทางวินัยฐานอื่น บุคลากรของสํานักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาเรื่องกล่าวหาทั้งหมดต้องมีความรู้ความ เข้าใจในหลักกฎหมายมหาชนมากเท่ากับหลักกฎหมายอาญา การตรวจสอบการใช้อํานาจของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยศาลปกครองควรคํานึงถึงวัตถุประสงค์หลักใน การจัดตั้งหน่วยงานนี้ที่มีความแตกต่างจากหน่วยงานอื่น ในกรณีจําเป็นที่ศาลต้องตรวจสอบความชอบ ด้วยกฎหมายของการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นไป อย่างระมัดระวังและไม่ก้าวล่วงไปตรวจสอบการใช้ดุลพินิจที่เป็นไปโดยชอบแล้ว เพื่อมิให้ก้าวล่วงไปในแดนของฝ่ายบริหารเช่นเดียวกับในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันที่ใช้อํานาจนี้อย่างจํากัด สําหรับเรื่อง กระบวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ดําเนินการไปแล้วไม่ ควรปล่อยให้สูญเปล่าไปทั้งหมดและควรคํานึงถึงการนําสํานวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยของ หน่วยงานต้นสังกัดและประกอบการพิจารณาของศาลด้วย ในระยะยาวต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ.ศ. 2561 ให้ชัดเจนขึ้น โดยเรื่องหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามมาตรา 28 (2) แก้ไขเป็น “ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ ของรัฐร่ํารวยผิดปกติกระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม และทุกฐานความผิดหากพบว่ามีมูลความผิดทางวินัยให้ ดําเนินการชี้มูลความผิดทางวินัยต่อไป” เรื่องการดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาตรา 91 แก้ไขเป็น “เมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนแล้วมีมติวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อ ตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกัน ทุกฐานความผิดให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ . . .” นอกจากนี้ในบทกําหนดโทษต้องกําหนดให้มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตในระดับที่รุนแรงขึ้นด้วยth
dc.description.provenanceSubmitted by Kwanruthai Kaewjampa (kwanruthai.k@nida.ac.th) on 2023-03-13T07:59:44Z No. of bitstreams: 1 b210998.pdf: 2667026 bytes, checksum: e3fffb68b30c9942f30a817c8c4085d7 (MD5)en
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2023-03-13T07:59:44Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b210998.pdf: 2667026 bytes, checksum: e3fffb68b30c9942f30a817c8c4085d7 (MD5) Previous issue date: 2019en
dc.format.extent282 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติth
dc.subject.otherการทุจริตและประพฤติมิชอบ -- ป้องกันและปราบปรามth
dc.titleปัญหาการตรวจสอบการใช้อำนาจชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยศาลปกครองth
dc.title.alternativeThe problem on the scrutiny of exercise power of the National Anti-Corruption Commission (NACC) to indentify prima face disciplinary offence by the judgment of administrative courtth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2019.85


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record