วิเคราะห์ความรับผิดทางอาญา ศึกษากรณีการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก
Files
Publisher
Issued Date
2019
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
231 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b210999
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วิชชุตา สุขสาคร (2019). วิเคราะห์ความรับผิดทางอาญา ศึกษากรณีการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6338.
Title
วิเคราะห์ความรับผิดทางอาญา ศึกษากรณีการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก
Alternative Title(s)
Analysis on criminal liability : case study on the possession of child pornography
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความรับผิดทางอาญา ศึกษากรณีการครอบครอง สื่อลามกอนาจารเด็ก วิทยานิพนธ์นี้จะมุ่งเน้นศึกษาเพื่อสรุป วิเคราะห์ตอบปัญหาดังกล่าว รวมถึง ความเป็นมา แนวคิด พัฒนาการของการคุ้มครองเด็ก ความหมายของสื่อลามกอนาจาร การครอบครอง และองค์ประกอบของกฎหมายข้างต้น ทั้งนี้เพื่อศึกษาท าความเข้าใจกฎหมายดังกล่าว และเปรียบเทียบกับการครอบครองในทางกฎหมายอาญา กับกฎหมายอาญาอื่น ๆ รวมทั้งกฎหมาย ของประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี โดยศึกษาจากกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร สหพันธรัฐเยอรมนี เนื่องจากเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญและเป็นประเทศแรก ๆ ที่ริเริ่มมีกฎหมายให้ความคุ้มครองในเรื่องสื่อ ลามกอนาจารเด็ก โดยศึกษาเปรียบเทียบนำไปสู่ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเป็น แนวทางในการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยและต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองเด็ก ในส่วนที่เกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก พบว่า การกำหนดความรับผิดในทางอาญา โดย เหตุผลที่ต้องมีการแยกกฎหมายความรับผิดทางอาญาในส่วนที่เป็นสื่อลามกอนาจารเด็กออกจากสื่อ ลามกอนาจารผู้ใหญ่นั้นสื่อลามกอนาจารคือภาพเด็กซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมทางเพศอย่างเปิดเผย หรือ ภาพซึ่งแสดงอวัยวะเพศหรือทวารหนักของเด็กโดยมีวัตถุประสงค์ทางเพศ หรือ เสียงเด็ก หรือบุคคลที่ แสดงเป็นเด็กซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมทางเพศอย่างเปิดเผย หรือภาพ หรือเสียง สนับสนุนส่งเสริมหรือ กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเพศอันผิดกฎหมายต่อเด็กการแยกแยะภาพศิลป์ หรือศิลปะกับสื่อหรือภาพ การลามกอนาจารนั้น ต้องพิจารณา (1) ให้ดูที่เจตนาของผู้ทำงานนั้น ๆ (2) ให้ดูปฏิกิริยาของผู้ชม (3) ความมีคุณค่า (4) ให้ดูที่ฝีมือหรือความสามารถในการถ่ายทอดของศิลปิน (5) ใช้การวินิจฉัยในทัศนะของวิญญูชน (6) งานที่พรรณนาหรือบรรยายถึงการกระทำทางเพศ ในความหมายที่มีการกำหนดไว้ โดยเฉพาะโดยกฎหมายของรัฐหรือไม่ (7) งานดังกล่าว ปราศจากคุณค่าทาง วรรณกรรม ศิลปกรรม การปกครอง หรือทางวิทยาการหรือไม่ (8) เป็นกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อศีลธรรมอันดีของ สังคมหรือไม่ ประเด็นการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กตามกฎหมายอาญานั้นต้องประกอบด้วยองค์ ประกอบ 2 ประการ (1) มีการควบคุมตัวทรัพย์ เป็นองค์ ประกอบทางกาย (Corpus) (2) มี เจตนาในการควบคุมองค์ ประกอบทั้งใจ (Animus) โดยองค์ประกอบทั้งสองประการจะต้องอยู่ด้วยกันถึงจะได้สิทธิครอบครอง ส่วนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีองค์ประกอบ 5 ประการ (1) มีการยึดถือ (2) มีเจตจำนงในการยึดถือ (3) มีเจตนาในการครอบครอง (4) มี เจตนา เป็นเจ้าของหรือไม่ก็ได้ (5) มีอำนาจในการควบคุมทรัพย์สินโดยกฎหมายของหลายประเทศ ก็มีการแบ่งแยกประเภทสื่อลามกอนาจารเด็กออกจากสื่อลามกอนาจารผู้ใหญ่ และกำหนดว่าการครอบครอง สื่อลามกเด็กเป็นความผิด โดยกำหนดโทษทั้งผู้ครอบครอง ผู้เผยแพร่ส่งต่อ และผู้ขาย มีบทลงโทษที่ รุนแรงกว่ากรณีสื่อลามกอนาจารผู้ใหญ่ แนวทางการคุ้มครองเด็กทั้งในประเทศและต่างประเทศมี พัฒนาการที่ดีเรื่อยมาพิจารณาจาก กติการะหว่างประเทศ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กฯและกฎหมายคุ้มครองเด็ก เพื่อให้เด็กได้ รับการคุ้มครองและป้องกันจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศมากขึ้น จึงได้มีการ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้ ความผิดเกี่ยวกับการค้า หรือให้แพร่หลายซึ่งวัตถุ หรือสิ่งลามกที่เป็นสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นความผิดที่ผู้กระทำต้องได้รับโทษหนักขึ้น รวมทั้ง กำหนดให้ การครอบครองและส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นความผิดซึ่งปัจจุบันกฎหมายดังกล่าว มีผลบังคับใช้แล้ว
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562