ปัญหาในการกำหนดหลักเกณฑ์ของโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
by จริงจัง นะแส
Title: | ปัญหาในการกำหนดหลักเกณฑ์ของโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 |
Other title(s): | The problems of Environmental Impact Assessment (EIA) screening under the promotion and conservation of National Environment Quality Act (No.2) B.E. 2561 |
Author(s): | จริงจัง นะแส |
Advisor: | พัชรวรรณ นุชประยูร |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2019.87 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด หลักการสำคัญ และหลักกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการกลั่นกรองโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการกำหนดหลักเกณฑ์ของโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ที่ไม่ครอบคลุม ถึงผลกระทบ มีลักษณะตายตัวไม่ยืดหยุ่น และไม่ทันต่อสถานการณ์ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการวิจัยศึกษาจากเอกสาร รวมถึงกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ค้นหาหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการกลั่นกรองโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า การกลั่นกรองโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงาน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม ไม่จำกัดเพียงการกำหนดหลักเกณฑ์ ตามบัญชีรายชื่อ กล่าวคืออาจใช้วิธีการพิจารณารายโครงการ หรือการกำหนดหลักเกณฑ์ตามระดับ ความรุนแรงของผลกระทบที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการใช้ดุลพินิจ โดยนำมาประกอบการพิจารณา หลักเกณฑ์ตามบัญชีรายชื่อ รวมทั้ง การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอให้ ทบทวนหลักเกณฑ์ของโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะสามารถป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้ อย่างครอบคลุม รวมทั้ง มีมาตรการรองรับเพื่อการแก้ไขปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมให้ อยู่ ในระดับที่เหมาะสม อันเป็นเจตนารมณ์ประการสำคัญของกฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | กฎหมายสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 168 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6339 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|