แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สาขาอุตสาหการ ระดับภาคีวิศวกร เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Publisher
Issued Date
2012
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
14, 201 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พรนารี โสภาบุตร (2012). แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สาขาอุตสาหการ ระดับภาคีวิศวกร เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/635.
Title
แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สาขาอุตสาหการ ระดับภาคีวิศวกร เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Alternative Title(s)
An approach to developing competencies of associate industrial engineers for the preparedness of ASEAN Economic Community
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะในปัจจุบัน ของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรม สาขาอตสาหการ ระดับภาค วิศวกร 2) ศึกษาสมรรถนะที่ต้องการเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปีพ.ศ. 2558 3) นําเสนอแนวทางพฒนาสมรรถนะ ให้พร้อม รองรับการเข้าสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการทอดแบบสอบถาม ผู้ ประกอบวิชาชีพ และผู้บริหารองค์กรจํานวน 530 ชุด อัตราการตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 46.79 2) สนทนากลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ จํานวน 3 ท่าน 3) สัมภาษณ์คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทาง วิศวกรรมอุตสาหการ จํานวน 4 ท่าน ผลการศึกษาประกอบด้วย 1) สมรรถนะในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านค่านิยม ด้านความรู้และด้านทักษะ 2) ความต้องการสมรรถนะเมื่อประเทศไทยเข้าสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความต้องการสมรรถนะในระดับสูง ทุกด้าน เรียงตามลําดบจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความรู้ด้านค่านิยม และด้านทักษะทั้งนี้ ช่องว่างสมรรถนะสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ทักษะภาษาต่างประเทศหลักการตลาด การพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์การบูรณาการวิธีการทางวิศวกรรมอุตสาหการเศรษฐศาสตร์และการเงิน และการจัดการความเสี่ยง 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามองค์ประกอบของกระบวนการการเรียนรู้ในผู้ใหญ่ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาสมรรถนะควรเริ่มต้นที่การอบรมให้ความรู้ใน แนวทางปฏิบัติงานทั้งเชิงเทคนิค และเชิงการบริหาร เพื่อให้บุคลากรเข้าใจตนเองและพัฒนา ตนเองตามความต้องการ สิ่งที่เป็นแรงจูงใจให้เกิดความพร้อมจะเกิดจากแรงจูงใจทั้งที่เป็นตัวเงิน และความพอใจในงานบรรยากาศควรเป็นบรรยากาศการทํางานจริง การวางแผน ควรเน้นการแลกเปลี่ยนกับผู้มีประสบการณ์การวินิจฉัย ควรเน้นเปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมในการวินิจฉัย การกําหนดวัตถุประสงค์ควรให้สอดคล้องกันระหว่างเป้าหมายส่วนบุคคลและเป้าหมายองค์กร การออกแบบแผนการเรียนรู้ควรเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการพัฒนาใช้ทั้ง การฝึกอบรมในงาน การมอบหมายงานจริงให้ปฏิบัติการประเมินผลควรประเมินทั้งผลลัพธ์ เปรียบเทียบกับเป้าหมาย และประเมินพฤติกรรมระหว่างการพัฒนา ข้อเสนอแนะ มีดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะต่อองค์กร ได้แก่องค์กรควรให้ข้อมูลว่าการพัฒนาสมรรถนะมีความจําเป็นต่อองค์กร และต่อความก้าวหน้าของพนักงานอย่างไร โดยคํานึงถึง แรงจูงใจที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล และเน้นการมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนา 2) ข้อเสนอแนะต่อนักพัฒนาทร พยากรมนุษย์ได้แก่กระบวนการพัฒนาสมรรถนะควรมุ่งเน้นการมี ส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา และเน้นการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ทํางาน ทั้งนี้เพื่อลดแรง ต่อต้าน นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรดําเนินกระบวนการการพัฒนาสมรรถนะโดยให้ผสมกลมกลืนไปกับกระบวนการทํางาน 3) ข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สาขาอุตสาหการ ได้แก่ การเร่งรัดความรู้เฉพาะทางที่ตนเองมีความถนัด ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ประกอบกับการสร้างความสมดลระหว่างความรู้เชิงเทคนิค ทักษะการบริหารงาน – การสื่อสาร และทัศนคติให้สอดคล้องกับความต้องการในงานและสภาพแวดล้อมขององค์กรที่อาจมีความหลากหลายของกําลงคนเพิ่มขึ้นจากการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 4) ข้อเสนอแนะต่อสถาบันการศึกษา สภาวิศวกร และหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สถาบันการศึกษาควรมุ่งเน้น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งก่อให้ผู้เรียนเกิดค่านิยม ทัศนคติที่สอดคล้องกับความต้องการของ อุตสาหกรรม และตอบสนองพลวตรทางสังคมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยสภาวิศวกรควร ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าง ผู้ประกอบวิชาชีพรุ่นใหม่ กับผู้ประกอบ วิชาชีพที่ประสบความสําเร็จให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงประสบการณ์แนวคิด และ ทัศนคติทั้งในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงแรงงาน หรือกระทรวงอุตสาหกรรมควรยกระดับการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพ ให้ชัดเจน เช่น การจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพร่วมกัน 5) ข้อเสนอแนะต่อการศึกษาครั้งต่อไป ได้แก่ การศึกษาครั้งต่อไปควรเน้นเฉพาะ กลุ่มอุตสาหกรรม โดยคํานึงถึงสถิติที่นํามาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ระบุระดับความจําเป็น เร่งด่วนได้รวมทั้งการนําผลการศึกษาไปใช้ศึกษาเปรียบเทียบผลการนําไปใช้ระหว่างกลุ่มผู้ ประกอบวิชาชีพคนไทย และผู้ประกอบวิชาชีพต่างชาติ ในประเทศไทยต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012