บทบาทของการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การและจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาลวิชาชีพ
by ทิพย์วรรณ มงคลดีกล้ากุล
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การและจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาลวิชาชีพ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The roles of organizational socialization and psychological characteristic of future orientation and self control in relating to organizational commitment and organizational citizenship behavior of registered nurses |
ผู้แต่ง: | ทิพย์วรรณ มงคลดีกล้ากุล |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | บังอร โสฬส, อาจารย์ที่ปรึกษา |
ชื่อปริญญา: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | ปริญญาโท |
สาขาวิชา: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2011.62 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาบทบาทของการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การและจิตลักษณะมุ่ง อนาคตควบคุมตนที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพจำนวน 405 คน ดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) 5 ฉบับ ได้แก่ (1) แบบสอบถามลักษณะ ส่วนบุคคล (2) แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมย่อย 5 ด้าน คือ ด้านการให้ความช่วยเหลือ ด้านการคำนึงถึงผู้อื่น ด้าน ความอดทนอดกลั้น ด้านการให้ความร่วมมือ และด้านความสำนึกในหน้าที่ (3) แบบสอบถาม ความผูกพันต่อองค์การ ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การ 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ ความผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่ และความผูกพันต่อ องค์การด้านบรรทัดฐาน (4) แบบสอบถามจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และ (5) แบบสอบถามการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ แบบสอบถามฉบับที่ 2 ถึง 5 ได้รับการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของ ครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficients) เท่ากับ .867, .827, .729, และ .937 ตามล าดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นชัดเจนว่า (1) พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการถ่ายทอดทาง สังคมในองค์การมาก มีความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็ นสมาชิกที่ดีขององค์การ มากกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การน้อย (2) พยาบาลวิชาชีพที่มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมาก มีพฤติกรรมการเป็นสม าชิกที่ดีขององค์การมากกว่า พยาบาลวิชาชีพที่มีจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนน้อย แต่ไม่พบว่ามีความผูกพันต่อองค์การ แตกต่างกัน (3) พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การน้อยและมีจิตลักษณะ มุ่งอนาคตควบคุมตนน้อย มีความผูกพันต่อองค์การและมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การมาก และมีจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมากอย่างชัดเจน (4) พยาบาลวิชาชีพที่มีความผูกพันต่อ องค์การมากมีพฤติกรรมการเป็ นสมาชิกที่ดีขององค์การมากกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีความผูกพัน ต่อองค์การน้อย ผลการศึกษาบ่งชี้บทบาทที่ส าคัญของการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การในการสร้างเสริม ความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การให้กับพยาบาลวิชาชาชีพ และบ่งชี้บทบาทสำคัญของจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนในการสร้างเสริมพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การ การศึกษาครั้งนี้จึงเสนอแนะว่า องค์การควรมุ่งเน้นการถ่ายทอดทางสังคม ในองค์การและพัฒนาจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนให้แก่พยาบาลวิชาชีพเพื่อเสริมสร้าง พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | ความผูกพันต่อองค์การ
พฤติกรรมองค์การ วัฒนธรรมองค์การ |
คำสำคัญ: | จิตลักษณะ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 13, 163 แผ่น ; 30 ซม. |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/636 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|