Show simple item record

dc.contributor.advisorบังอร โสฬส, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorทิพย์วรรณ มงคลดีกล้ากุลth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:11:49Z
dc.date.available2014-05-05T09:11:49Z
dc.date.issued2011th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/636th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มุ่งศึกษาบทบาทของการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การและจิตลักษณะมุ่ง อนาคตควบคุมตนที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพจำนวน 405 คน ดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) 5 ฉบับ ได้แก่ (1) แบบสอบถามลักษณะ ส่วนบุคคล (2) แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมย่อย 5 ด้าน คือ ด้านการให้ความช่วยเหลือ ด้านการคำนึงถึงผู้อื่น ด้าน ความอดทนอดกลั้น ด้านการให้ความร่วมมือ และด้านความสำนึกในหน้าที่ (3) แบบสอบถาม ความผูกพันต่อองค์การ ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การ 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ ความผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่ และความผูกพันต่อ องค์การด้านบรรทัดฐาน (4) แบบสอบถามจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และ (5) แบบสอบถามการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ แบบสอบถามฉบับที่ 2 ถึง 5 ได้รับการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของ ครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficients) เท่ากับ .867, .827, .729, และ .937 ตามล าดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นชัดเจนว่า (1) พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการถ่ายทอดทาง สังคมในองค์การมาก มีความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็ นสมาชิกที่ดีขององค์การ มากกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การน้อย (2) พยาบาลวิชาชีพที่มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมาก มีพฤติกรรมการเป็นสม าชิกที่ดีขององค์การมากกว่า พยาบาลวิชาชีพที่มีจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนน้อย แต่ไม่พบว่ามีความผูกพันต่อองค์การ แตกต่างกัน (3) พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การน้อยและมีจิตลักษณะ มุ่งอนาคตควบคุมตนน้อย มีความผูกพันต่อองค์การและมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การมาก และมีจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมากอย่างชัดเจน (4) พยาบาลวิชาชีพที่มีความผูกพันต่อ องค์การมากมีพฤติกรรมการเป็ นสมาชิกที่ดีขององค์การมากกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีความผูกพัน ต่อองค์การน้อย ผลการศึกษาบ่งชี้บทบาทที่ส าคัญของการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การในการสร้างเสริม ความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การให้กับพยาบาลวิชาชาชีพ และบ่งชี้บทบาทสำคัญของจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนในการสร้างเสริมพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การ การศึกษาครั้งนี้จึงเสนอแนะว่า องค์การควรมุ่งเน้นการถ่ายทอดทางสังคม ในองค์การและพัฒนาจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนให้แก่พยาบาลวิชาชีพเพื่อเสริมสร้าง พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การth
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2014-05-05T09:11:49Z (GMT). No. of bitstreams: 1 nida-ths-b175390.pdf: 17995870 bytes, checksum: bed8ce1a156dbe7b0a20541781f027ea (MD5) Previous issue date: 2011th
dc.format.extent13, 163 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectจิตลักษณะth
dc.subject.lccHD 58.7 ท36 2011th
dc.subject.otherความผูกพันต่อองค์การth
dc.subject.otherพฤติกรรมองค์การth
dc.subject.otherวัฒนธรรมองค์การth
dc.titleบทบาทของการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การและจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาลวิชาชีพth
dc.title.alternativeThe roles of organizational socialization and psychological characteristic of future orientation and self control in relating to organizational commitment and organizational citizenship behavior of registered nursesth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelปริญญาโทth
thesis.degree.disciplineการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์th
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2011.62


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record