• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ภาวะผู้นำกับผลการปฏิบัติงานของทีมในผู้ต้องขังโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาเรือนจำชั่วคราวเขาพลอง สังกัดเรือนจำจังหวัดชัยนาท

by ณัฎฐิณี ทองเรือง

Title:

ภาวะผู้นำกับผลการปฏิบัติงานของทีมในผู้ต้องขังโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาเรือนจำชั่วคราวเขาพลอง สังกัดเรือนจำจังหวัดชัยนาท

Other title(s):

Leadership and team performance of inmate biological way of life for sustainable development project : a case study of Khowplong Temporary Prison of Chainat Provincal Prison

Author(s):

ณัฎฐิณี ทองเรือง

Advisor:

จุฑามาศ แก้วพิจิตร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ

Degree department:

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2012

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2012.49

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาภาวะผู้นําในผู้นําทีมผู้ต้องขังที่อยู่ในโครงการ ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรือนจําชั่วคราวเขาพลอง สังกัดเรือนจําจังหวัดชัยนาท 2)ศึกษาการ ทํางานเป็นทีมในผู้ต้องขังโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรือนจําชั่วคราวเขาพลอง สังกัด เรือนจําจังหวัดชัยนาท 3) ศึกษาผลการปฏิบัติงานของทีมในผู้ต้องขังโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน เรือนจําชั่วคราวเขาพลอง สังกัดเรือนจําจังหวัดชัยนาท 4) พัฒนาโมเดลต้นแบบในการ พัฒนาภาวะผู้นําของผู้นําทีมผู้ต้องขังกับโมเดลต้นแบบในการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานของทีมใน ผู้ต้องขังโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรือนจําชั่วคราวเขาพลอง สังกัดเรือนจําจังหวัด ชัยนาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือทีมผู้ต้องขังในโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนทั้ง 5 ทีม แบ่งเป็น ผู้นําทีมผู้ต้องขัง 5 คน สมาชิกในทีมผู้ต้องขัง 15 คน และผู้คุมที่ดูแลทีม ผู้ต้องขัง 3 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบ สัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบบันทึกภาคสนาม ทําการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ทีมที่มีผลการปฏิบัติงานของทีมอยู่ในระดับสูงคือทีม 5 ผู้นําทีมมีรูปแบบ ภาวะผู้นําแบบมุ่งคนผสมผสานผู้นําแบบพบกันครึ่งทาง ในทีม 5 ผู้ต้องขังหลายคน มีประสบการณ์ ด้านการเกษตรมาก่อน ทีมที่มีผลการปฏิบัติงานของทีมอยู่ในระดับปานกลางคือทีม 1 และทีม 2 ผู้นําทีมที่ 1 มีรูปแบบภาวะผู้นํามุ่งงานผสมผสานกับผู้นําการเปลี่ยนแปลงในมิติสร้างแรงบันดาลใจ ผู้นําทีม 2 มีรูปแบบภาวะผู้นําแบบชักจูง ภายในทีม 1 และ ทีม 2 มีความสามัคคีแต่เนื่องด้วยผู้ต้องขัง ทั้ง 2 ทีมนี้หลายคนไม่มีประสบการณ์ทางด้านการเกษตรมาก่อนส่วนทีมที่มีผลการปฏิบัติงานของ ทีมอยู่ในระดับต่ําคือทีม 3 และทีม 4 โดยผู้นําทีม 3 มีรูปแบบภาวะผู้นํามุ่งคน และผู้นําทีม 4 มีรูปแบบภาวะผู้นําแบบย่ําแย้ผสมผสานแบบมอบหมายงานคือขาดภาวะผู้นํา ทีม 3 และ ทีม 4 ในทีมไม่มีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว และผู้ต้องขังหลายคนไม่มีประสบการณ์ด้านการเกษตร มาก่อน การพัฒนาภาวะผู้นําของผู้นําทีมผู้ต้องขังควรพัฒนาให้ตัวผู้นําทีมมีองค์ความรู้เรื่อง การเกษตร บทบาทหน้าที่ของผู้นํา ได้แก่ การสื่อสาร การรักษาความสัมพันธ์ การวางแผนและ มอบหมายงาน การสร้างแรงจูงใจในการทํางาน การสร้างบรรยากาศในทีม และการส่งเสริมการ ทํางานของผู้นําที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์และความสําคัญของการทํางาน โดยมีปัจจัยสนับสนุนได้แก่ เรือนจําต้นสังกัด ผู้คุม ภาครัฐและภาคเอกชน และชุมชนที่จะสนับสนุนการพัฒนาภาวะผู้นําทีม ผู้ต้องขังให้สามารถพัฒนาไปได้เป็นอย่างดีและผลการปฏิบัติงานในทีมผู้ต้องขังนั้นมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับ 3 สิ่งที่ส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานของทีมอยู่ในระดับสูง ปานกลาง และต่ํา ได้แก่ รูปแบบภาวะผู้นํา การทํางานเป็นทีม และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าผลการปฏิบัติงานของทีม ผู้ต้องขังนั้นจะมีผลการปฏิบัติงานของทีมอยู่ในระดับใด ข้อเสนอแนะต่อเรือนจําชั่วคราวเขาพลอง สังกัดเรือนจําจังหวัดชัยนาทคือ ควรส่งเสริมให้ ผู้ต้องขังมีการเปลี่ยนหน้าที่การทํางาน เพื่อเพิ่มการเรียนรู้และประสบการณ์ในการทํางานจาก โครงการเกี่ยวกับการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ หรือเรื่องอื่นๆ ให้ผู้ต้องขังได้เปลี่ยนหน้าที่หมุนเวียน งานทุกคนในทีม เพื่อที่จะนําไปต่อยอดในการประกอบอาชีพได้ภายหลังพ้นโทษและทางเรือนจํา หรือผู้คุมที่ดูแลทีมผู้ต้องขังควรให้คําแนะนําใส่ใจเป็นพิเศษในขั้นตอนการเลือกผู้ต้องขังที่จะขึ้นมา เป็นผู้นําทีมเพื่อให้ในทีมมีการทํางานอย่างจริงจัง

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012

Subject(s):

ภาวะผู้นำ
การทำงานเป็นทีม

Keyword(s):

โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

15, 201 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/640
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b175786.pdf ( 4.11 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSHRD: Theses [144]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×