ภาวะผู้นำแบบพัฒนา การจัดการความสุขแบบเป็น-อยู่-คือ และความสุขในการทำงาน กรณีศึกษา : องค์การสร้างสุข
Publisher
Issued Date
2013
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
10, 152 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อัญมณี วัฒนรัตน์ (2013). ภาวะผู้นำแบบพัฒนา การจัดการความสุขแบบเป็น-อยู่-คือ และความสุขในการทำงาน กรณีศึกษา : องค์การสร้างสุข. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/641.
Title
ภาวะผู้นำแบบพัฒนา การจัดการความสุขแบบเป็น-อยู่-คือ และความสุขในการทำงาน กรณีศึกษา : องค์การสร้างสุข
Alternative Title(s)
Transformational leadership, happy management and happiness at work
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นําแบบพัฒนาการจัดการความสุข แบบเป็น-อยู่-คือ ที่ส่งผลต่อความสุขในการทํางาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในองค์การที่เข้า ร่วมโครงการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) กลุ่มองค์กรนำรองรุ่นที่ 1 โดยสุ่มตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Volunteer Sampling) จํานวน 3 องค์การจาก 7 องค์การรวมทั้งสิ้น 415 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบ แบบสอบถามการรับรู้ของพนักงานเกี่ยวกับภาวะผู้นําแบบพัฒนาของหัวหน้า แบบสอบถามการจัดการความสุขแบบเป็น-อยู่-คือ และ แบบสอบถามความสุขในการทํางานส่วนบุคคล ผลการศึกษาพบว่า พนักงานรายงานว่าผู้นําที่มีภาวะผู้นําแบบพัฒนาแตกต่างกันมีการจัดการความสุขแบบเป็น-อยู่-คือ แตกต่างกันอย่างเชื่อถือได้ทางสถิติและมีความสุขในการ ทํางานแตกต่างกันอย่างชัดเจนด้วยคือ พนักงานที่รับรู้ว่าผู้นําของตนมีภาวะผู้นําแบบพัฒนาระดับมากมีความสุขในการทํางานมากกว่า และมีการจัดการความสุขแบบเป็น-อยู่ คือ มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานที่รับรู้ว่าผู้นําที่มีภาวะผู้นําแบบพัฒนาระดับน้อย ผลการศึกษาบ่งชี้ด้วยว่า พนักงานที่มีการจัดการความสุขแบบเป็น-อยู่ คือ ในระดับมากมีความสุขในการทำงานมากกว่าพนักงานที่มีการจัดการความสุขแบบเป็น-อยู่ คือ ในระดับน้อยอย่างชัดเจน นอกจากนี้ พบว่า ตัวแปรภาวะผู้นําแบบพัฒนาและ การจัดการความสุขแบบเป็น-อยู่ คือ สามารถทำนายความสุขในการทำงานได้ถึง 32.2% ผลที่พบผนการศึกษาครั้งนี้ทําให้เสนอแนะ ได้ว่า ผู้นําที่มีภาวะผู้นําแบบพัฒนาช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีการจัดการความสุขและมีความสุข ในการทำงานได้มาก องค์การควรส่งเสริมและพัฒนาผู้นําให้มีภาวะผู้นำแบบพัฒนามาก รวมทั้ง พัฒนาพนักงานให้มีการจัดการความสุขแบบเป็น-อยู่- คือ เพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ ต่อไป คือ ควรทําการศึกษาวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมในการพัฒนาภาวะผู้นําและการจัดการ ความสุข ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานที่ทํางานในองค์การมีความสุขมากขึ้นและยั่งยืน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013