การผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
Publisher
Issued Date
2012
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
11, 182 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ดวงพร คงพิกุล (2012). การผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/646.
Title
การผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
Alternative Title(s)
The cultural capital reproduction : a case study of Praharuthai Convent School
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถประสงค์เพื่อศึกษาการสั่งสมสืบทอดวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน พระหฤทยคอนแวนต์โดยใช้แนวคิดทนทางวัฒนธรรมของ Pierre Bourdieu ศึกษาการส่งสมทุนทางวัฒนธรรม 3 ระดับ คือ ทุนที่อยู่ในตัวตนทุนที่อยู่ในวัตถุและทุนที่อยู่ในรูปสถาบัน จากนั้น วิเคราะห์กระบวนการผลิตและผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมตามแนวคิดของ Raymond Williams กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรในโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์จํานวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิดและไม่ชี้นํา และแบบบันทึกการสังเกตวิธีที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์และการสนทนากลุ่ม การศึกษาเอกสารของโรงเรียน และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม หลังจากนั้น ผู้วิจัยดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และ เขียนผลการศึกษาผลการศึกษาพบว่า ในการผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรมผู้บริหารมีบทบาทสําคัญในการผลิตทุนทางวัฒนธรรมของโรงเรียนพระหฤทยคอนแวนต์เพื่อนําไปใช้เป็นแนวคิด ความเชื่อและคานิยม สําหรับเป็นแนวทางปฏิบัติของบุคลากรในโรงเรียน ผู้บริหารเผยแพร่ทุนทางวัฒนธรรมให้บุคลากร รับรู้ผ่านทางวิธีการอบรมพัฒนาการจัดกิจกรรมในโรงเรียน การประชุมและสัมมนาการตกแต่ง สภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียน การผลิตวัตถุสิ่งของ การนําโรงเรียนเข้ารับการประเมิน คุณภาพ ประกวดและแข่งขันชิงรางวัล อีกทั้งการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง ในขณะที่บุคลากรโรงเรียนพระหฤทยคอนแวนต์มีความเข้าใจและให้ความสําคัญต่อทุนทางวัฒนธรรมของโรงเรียน ค่อนข้างแตกต่างจากแนวคิดที่ผู้บริหารกําหนด นอกจากนี้ในโรงเรียนมีการผลิตซ้ำทุนทาง วัฒนธรรมอย่างเป็นทางการโดยการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและการผลิตซ้ำผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์เช่น เว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ วิทยกระจายเสียง การผลิตอัลบั้มเพลงบันทึกในเทปคาสเซ็ทท์หรือซีดีและการเผยแพร่ข่าวของโรงเรียนทางโทรทัศน์ส่วนวิธีการบอกเล่ามักใช้ในการผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรมอย่างไม่เป็นทางการ ผลการศึกษาการผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรมพบจุดเด่นของทุนทางวัฒนธรรมของโรงเรียน พระหฤทัยคอนแวนต์ใน 3 ระดับ ดังนี้ 1) ทุนที่มีอยู่ในตัวตน บุคลากรในโรงเรียนสามารถจดจํา ปรัชญาและคําขวัญของโรงเรียนได้รวมไปถึงนําไปใช้เป็นค่านิยมหลักสำหรับปฏิบัติเมื่ออยู่ร่วมกัน ในโรงเรียน การแสดงออกของทุนที่อยู่ในตัวตนที่เด่นชัดของบุคลากรโรงเรียน คือ บุคลากรส่วน ใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง โรงเรียนให้ ความสําคัญกับการให้ความรู้ด้านวิชาการร่วมกับการปลูกฝังคณธรรมจริยธรรมด้วยการนําความ เชื่อทางศาสนามาใช้เป็นแนวทางการอบรมบุคลากรในโรงเรียน 2) ทุนที่อยู่ในวัตถุอาคาร สถานที่ภายในโรงเรียนมีความสวยงาม สะอาด ร่มรื่น สมกับเป็นสถานศึกษา เน้นการแสดงตัวว่า เป็นโรงเรียนคาทอลิกและสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้มีการนําเสนอเนื้อหาสาระความรู้ด้าน วิชาการและคุณธรรมจริยธรรมแทบทุกจุดในโรงรียน 3) ทุนที่อยู่ในรูปสถาบัน บุคลากรส่วนใหญ่ ภาคภูมิใจที่โรงเรียนได้รับรางวลพระราชทานจากสถาบันพระมหากษัตริย์โรงเรียนสนับสนุนให้ บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ส่งเสริมการประเมิน คุณภาพสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และส่งบุคลากรเข้าประกวดและแข่งขันทักษะความรู้ ความสามารถเสมอ ในการผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรมของโรงเรียนพระหฤทยคอนแวนต์พบปัญหาอุปสรรค คือ 1) บุคลากรเข้าใจความหมายทุนทางวฒนธรรมของโรงเรียนแตกต่างกัน 2) บุคลากรบางส่วนมี ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนน้อย 3) โรงเรียนยังไม่มี การประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อโรงเรียนด้านการทํางาน ด้านค่าตอบแทนและ สวัสดิการ อีกทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน ผลการศึกษาได้นําไปสัการะนำเสนอแนวทางพัฒนาการผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเป็ น ประโยชน์ให้กับโรงเรียนและนําเสนอแนวทางสําหรับพัฒนาการวิจัยครั้งต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012