แนวทางการปฏิรูปกฎหมายทางการประกอบธุรกิจด้านการค้าบริการของคนต่างด้าว
by อัจฉราพร สีหวัฒนะ
Title: | แนวทางการปฏิรูปกฎหมายทางการประกอบธุรกิจด้านการค้าบริการของคนต่างด้าว |
Author(s): | อัจฉราพร สีหวัฒนะ |
Advisor: | นเรศร์ เกษะประกร |
Degree name: | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | Doctoral |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2018.171 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงหลักการ แนวคิด ทฤษฎีธุรกิจการค้าบริการตาม หลักเกณฑ์สากลและกฎหมายของต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า จีนและวิเคราะห์ เปรียบเทียบเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการประกอบธุรกิจ บริการให้ชัดเจนและเหมาะสม โดยมีวิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาและวิเคราะห์จากหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายต่างประเทศ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ 1. นักวิชาการด้านกฎหมายธุรกิจ 2. ที่ปรึกษา กฎหมายและทนายความที่เกี่ยวข้องกับการเข้ามาประกอบธุรกิจของต่างชาติ 3. เจ้าหน้าที่ภาครัฐของ กระทรวงพาณิชย์ที่ปฏิบัติงานด้านการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพื่อนามาประกอบการวิเคราะห์ สังเคราะห์ปรับปรุงกฎหมายให้มีความชัดเจนโปร่งใสและเป็นแนวทางเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ของผู้ประกอบธุรกิจบริการในประเทศให้ดีขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันธุรกิจบริการมีความสาคัญต่อเศรษฐกิจเท่าเทียมกับภาคการผลิต ประเภทธุรกิจบริการมีความหลายหลายมากกว่าเดิมเนื่องจากมีการนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นส่วน สำคัญในการดำเนินธุรกิจ จึงต้องพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติการ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดรายการห้ามคนต่างชาติประกอบ ธุรกิจบริการไว้ แต่อย่างไรก็ตาม มีคนต่างชาติบางประเภทมีสิทธิเข้ามาประกอบธุรกิจบริการที่ห้ามได้ หรือต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจโดยผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนหรือกฎหมายอื่น หรือต่างชาติที่ เข้ามาประกอบธุรกิจบริการที่ห้ามแต่อาศัยการใช้ตัวแทนทาการแทนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึง พบว่าแม้มีการห้ามคนต่างชาติประกอบธุรกิจบริการแต่คงมีปัญหาการเข้ามาประกอบธุรกิจบริการโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายของต่างชาติเกิดขึ้นเสมอ หรือแม้จะกำหนดธุรกิจบริการที่ห้ามต่างชาติเนื่องจาก คนไทยไม่พร้อมในการแข่งขันแต่ก็มีการอนุญาตให้ต่างชาติประกอบธุรกิจได้ ประกอบกับในขณะนี้ประเทศไทยมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็น Thailand 4.0 ให้ความสำคัญในการอำนวย ความสะดวกด้านการประกอบธุรกิจของต่างชาติมากขึ้นซึ่งสอดคล้องกับนโยบายขององค์การการค้า โลกที่ต้องการให้ประเทศสมาชิกเปิดเสรีธุรกิจการค้าบริการระหว่างประเทศมากขึ้น ประเทศไทยมี การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจหลายฉบับ แต่กฎหมาย สำหรับการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติยังไม่มีการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ฉะนั้น เพื่อพัฒนา กฎหมายการประกอบธุรกิจบริการของคนต่างด้าวให้มีความชัดเจนตามหลักสากลและเพื่อส่งเสริม ศักยภาพผู้ประกอบธุรกิจบริการไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งภายในและนอกประเทศ จึงเห็นว่าควรเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการประกอบธุรกิจบริการของต่างด้าวเพิ่มเติมดังนี้ 1) จัดกลุ่มธุรกิจในบัญชี 3 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 การจัดกลุ่มธุรกิจทาให้มีความชัดเจนในรายการธุรกิจบริการและผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติทำความ เข้าใจได้ง่ายว่าธุรกิจใดขออนุญาตได้หรือไม่ได้ โดยการแบ่งกลุ่มเป็น (1) กลุ่มอาชีพเดิมเกี่ยวข้องกับ การเกษตรและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต้องสงวนสำหรับคนชาติ ไม่อนุญาตให้ต่างชาติประกอบธุรกิจ (2) กลุ่มธุรกิจบริการที่จาเป็นกับอุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมใหม่ เป็นธุรกิจที่อนุญาตให้ ต่างชาติประกอบธุรกิจได้อย่างมีเงื่อนไข (3) กลุ่มธุรกิจบริการอื่นที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือเงิน ลงทุนสูงหรือผู้เชี่ยวชาญต่างชาติจัดเป็นกลุ่มที่คนไทยมีความพร้อมในการแข่งขัน อนุญาตให้ต่างชาติ ประกอบธุรกิจได้ภายใต้กฎกระทรวงและกฎหมายเฉพาะ 2) นำธุรกิจบริการบางรายการออกจากบัญชีสาม ธุรกิจบริการที่คนไทยมีความพร้อมในการ แข่งขันควรนำออกจากบัญชีสามโดยออกเป็นกฎกระทรวงทั้งนี้เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของ ผู้ประกอบธุรกิจไทย 3) คำว่า “ธุรกิจบริการอื่น” ในบัญชีสาม ข้อ 21 มีความหมายครอบคลุมทุกรายการธุรกิจ อีกทั้งการอนุญาตหรือไม่เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจึง คาดการณ์ไม่ได้ว่าจะได้รับอนุญาตหรือไม่ การใช้คำที่ครอบคลุมธุรกิจบริการทุกประเภทจึงทำให้มี ความไม่ชัดเจนและเป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาดการลงทุนในธุรกิจบริการ ฉะนั้น คำว่า “การทำ ธุรกิจบริการอื่นยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง” ควรแก้ไขเป็น “ธุรกิจบริการอื่นสามารถ ทำได้เว้นแต่จะกาหนดในกฎกระทรวง หรือธุรกิจบริการอื่นที่กำหนดห้ามไว้โดยกฎกระทรวง” ซึ่งจะ ทำให้ข้อ 21 ในบัญชีสามเป็นไปในทิศทางเชิงบวก (Positive List) มากขึ้นย่อมเกิดผลดีต่อการแข่งขัน และการลงทุนในธุรกิจบริการ 4) กำหนดรายการธุรกิจบริการในข้อ 21 ให้ชัดเจน คำว่าการทำธุรกิจบริการอื่นในข้อ 21 สามารถกำหนดเป็นรายการธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาตเพื่อให้มีความชัดเจนได้ จึงเห็นว่าควร ปรับปรุงแก้ไขโดยออกเป็นกฎกระทรวงเพื่อกำหนดเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องของอนุญาต ซึ่งมีธุรกิจบริการที่ ควรกำหนดยกเว้นไม่อยู่ในข้อ 21 ได้แก่ (ก) บริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม (ข) บริการเป็นสำนักผู้แทนหรือสำนักงานภูมิภาค (ค) บริการด้านคอมพิวเตอร์ (ง) บริการซ่อมแซมบารุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ (จ) บริการรับจ้างผลิต (ฉ) บริการเป็นที่ปรึกษาโครงการให้กับภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ 5) กำหนดให้มีการจัดการอบรมให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการ ต่างชาติตระหนักในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและวัฒนธรรมไทยเช่น การอบรมจริยธรรมและ ความมีจรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจบริการโฆษณา โดยให้มีผลถึงการออกใบอนุญาตในการทำ ธุรกิจโดยไม่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ด้วยการออก กฎกระทรวงให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการต้องผ่านการอบรมเพื่อเน้นความเข้าใจคุณธรรมและมีความ รับผิดชอบต่อจารีตประเพณีศีลธรรมอันดีของประชาชน จะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการต้อง ตรวจสอบเนื้อหาในบริการของตนเองอย่างรอบครอบก่อนเพื่อให้มีผลต่อการออกใบรับรองให้กับธุรกิจ บริการที่ดาเนินการได้ถูกต้องตามที่กำหนด จึงจะสามารถนาใบรับรองที่ได้รับนาไปใช้กับหน่วยงาน ต่าง ๆ ได้ต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | คนต่างด้าว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ธุรกิจของคนต่างด้าว ธุรกิจของคนต่างด้าว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 408 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6489 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|