รูปแบบและประสิทธิผลการสื่อสารของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตามหลักโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส
Publisher
Issued Date
2011
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
14, 123 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อรุณี เมืองศิลปศาสตร์ (2011). รูปแบบและประสิทธิผลการสื่อสารของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตามหลักโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/649.
Title
รูปแบบและประสิทธิผลการสื่อสารของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตามหลักโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส
Alternative Title(s)
Interpersonal communication pattern and effectiveness among leaders and subordinates using neuro-linguistic programming
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและประสิทธิผลการสื่อสารระหว่างบุคคลของ พยาบาลวิชาชีพในระดับหัวหน้าแผนกและผู้ใต้บังคับบัญชาโรงพยาบาลภัทรธนบุรี จํานวน 122 คน โดยจําแนกรูปแบบการสื่อสารตามระบบประสาทสัมผัส ตามแนวคิดของหลักโปรแกรมภาษา ประสาทสัมผัส (Neuro Linguistic Programming: NLP) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบได้แก่ การมอง (Visual) การฟัง (Auditory) การสัมผัส (Kinesthetic) และการใช้เหตุผล (Rational) โดยใช้ แบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาค่าเฉลีย ค่าร้อยละ ส่วนเบียงเบนมาตรฐานของข้อมูล และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพเกินครึ่งหนึ่งทั้งในระดับหัวหน้าแผนกและ ผู้ใต้บังคับบัญชามีรูปแบบการสื่อสารแบบการใช้เหตุผล อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ แบบการสัมผัส และแบบการมอง อยู่ในระดับปานกลางเท่ากันตามลําดับ และแบบการฟัง อยู่ในระดับน้อย สําหรับการศึกษาประสิทธิผลการใช้ภาษาในการสื่อสารพบว่าพยาบาลวิชาชีพในระดับหัวหน้าและ ผู้ใต้บังคับบัญชาส่วนใหญ่มีประสิทธิผลทีไม่แตกต่างกันทั้งด้านการใช้ภาษาถ้อยคําและภาษาที่ไม่ใช่ ถ้อยคํา คือ ระดับประสิทธิผลในการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาถ้อยคํา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความหมาย ด้านความใกล้ชิด ด้านความซับซ้อน ด้านความเข้มข้น และด้านคําศัพท์ มีผลเฉลี่ยโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก และประสิทธิผลการใช้ภาษาทีไม่ใช่ถ้อยคํา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านท่าทาง ด้านการสบตา ด้านการให้เวลา ด้านระยะห่าง และด้านการสัมผัส มีผลเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านผลการศึกษาการเลือกใช้ช่องทางการรับส่งสารของพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่พบว่า หัวหน้าแผนกและ ผู้ใต้บังคับบัญชานิยมติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ด้วยการสื่อสารแบบพบหน้าอยู่ในระดับมากถึงมาก ทีสุด โดยช่องทางที่พบว่าเป็นปัญหาในการสื่อสาร คือ ช่องทางการสื่อสารผ่านระบบสารสนเทศ เช่น อีเมล และโทรศัพท์เคลื่อนที เป็นต้น เนื่องจากสัญญาณการให้บริการไม่ครอบคลุมพื้นทีใน โรงพยาบาลเมื่อวิเคราะห์ช่องว่างของรูปแบบความสามารถในการสื่อสารตามการรับรู้ของคู่สื่อสารพบว่าพยาบาลวิชาชีพเกินครึ่งหนึ่งทั้งในระดับหัวหน้าแผนกและผู้ใต้บังคับบัญชามีรูปแบบการ สื่อสารแบบการสัมผัสซึ่งรวมถึงการใช้อารมณ์ความรู้สึกในการสื่อสารกับผู้อื่น อยู่ในระดับทีมากเกิน ความคาดหวังของคู่สื่อสาร ในขณะที่รูปแบบการสื่อสารแบบการฟัง การมอง และการใช้เหตุผล อยู่ ในระดับทีต่ำกว่าความคาดหวังของคู่สื่อสารตามลําดับ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะของพยาบาลวิชาชีพในระดับหัวหน้าแผนกทีมีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาใน 5 ประเด็นแรก ได้แก่ 1) การยอมรับฟังความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล 2) เพิ่มการประสานงานกับผู้อื่นให้มากขึ้น โดยไม่สร้างความ ขัดแย้งในการทํางาน 3) การควบคุมอารมณ์ความรู้สึกในการสื่อสารกับผู้อื่น 4) ปรับปรุงพฤติกรรมและไหว พริบในการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทีดีกับเพื่อนร่วมงานและ 5) กล้าแสดงออกอย่างสมเหตุสมผล สําหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพยาบาลวิชาชีพในระดับผู้ใต้บังคับบัญชาทีมีต่อหัวหน้าแผนก 5 ประเด็นแรก ได้แก่ 1) ควรมีความยุติธรรมโดยไม่เลือกทีรักมักทีชัง 2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ 3) ควรมีการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างมีระเบียบแบบแผน 4) การยอมรับ ฟังความคิดเห็นและ 5) ควรสังการอย่างเป็นทางการเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบโดยทั่วกัน ดังนั้นข้อเสนอแนะจากการศึกษาจึงประกอบด้วย 1) โรงพยาบาลควรสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพ มีความตระหนักถึงความสําคัญของการสื่อสารในองค์การ โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะการสื่อสารของ บุคลากรให้แต่ละบุคคลมีความสามารถในการใช้ทักษะการสื่อสารในรูปแบบต่างๆอย่างสมดุล 2) พยาบาล วิชาชีพของโรงพยาบาลควรมุ่งปรับปรุงรูปแบบการสื่อสารด้านการฟังเป็นลําดับแรก โดยการฝึกฝนทักษะ การฟังอย่างสม่ำเสมอ เช่น การพยายามตั้งใจฟังคู่สื่อสารและจับประเด็นสําคัญด้วยการสรุปหรือทบทวนสิ่ง ที่คู่สื่อสารต้องการจะสื่อ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ตรงกัน 3) พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ควรพิจารณาหรือตัดสิน เรื่องราวต่างๆอย่างเป็นเหตุเป็นผลแทนการใช้อารมณ์และความรู้สึกในการพิจารณาหรือตัดสิน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อร่วมงานของตนเอง 4) ผู้ใต้บังคับบัญชาควรสบสายตาในเวลา สนทนากับหัวหน้าแผนกของตนเองให้มากขึ้นและ 5) โรงพยาบาลควรปรับปรุงเครือข่ายการสื่อสารด้าน ระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการสื่อสารระหว่าง บุคคลของโรงพยาบาล
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011