เครือข่ายผู้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อชุมชนในฐานะกลไกเสริมสร้างพลังกระบวนการประชาสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีเว็บไซต์จังหวัด
by อำไพ พงศ์วัฒนธรรม, 2506-
Title: | เครือข่ายผู้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อชุมชนในฐานะกลไกเสริมสร้างพลังกระบวนการประชาสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีเว็บไซต์จังหวัด |
Other title(s): | Civic networking as a tool for civil society empowerment : a case study of province websites |
Author(s): | อำไพ พงศ์วัฒนธรรม, 2506- |
Advisor: | ชาติชาย ณ เชียงใหม่, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
Degree department: | โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2000 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 5 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมา วัตถุประสงค์รูปแบบการบริหารองค์กรของเว็บไซต์จังหวัดต่างๆ ของไทยในด้านการจัดองค์การบุคลากร การเงินและเทคโนโลยี (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและชุมชนของเว็บไซต์จังหวัดต่างๆ (3) เพื่อศึกษารูปแบบการให้บริการและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดทำโดยเว็บไซต์จังหวัด (4) เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ใช้บริการเว็บไซต์จังหวัด (5) เพื่อศึกษาผลการจัดทำเว็บไซต์จังหวัดต่อการเสริมสร้างพลังกระบวนการประชาสังคม โดยเน้นถึงผลที่ต่อการเสริมสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการเว็บไซต์จังหวัดต่อกิจกรรมของชุมชนในระดับออฟไลน์ / ทั้งนี้ได้สำรวจข้อมูลเฉพาะเว็บไซต์จังหวัดโดยเลือกตัวอย่างจากเว็บไซต์ในแต่ละภาคๆ ละ 2 แห่งรวมจำนวน 10 เว็บไซต์ด้วยการใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์กลุ่มเว็บมาสเตอร์ของแต่ละเว็บไซต์ และใช้แบบสอบถามผู้ใช้บริการในเว็บไซต์ดังกล่าวแห่งละ 10 คนรวมจำนวน 100 คน และเลือกศึกษา 3 เว็บไซต์ ได้แก่ นครดอทคอม สงขลาดอทเน็ตและเชียงรายทูเดย์ดอทคอม เป็นกรณีศึกษาโดยใช้วิธีสัมภาษณ์เว็บมาสเตอร์และวิเคราะห์กระทู้ในเว็บบอร์ด / สำหรับผลการพิสูจน์ข้อสมมติฐาน 2 ประการ พบว่า 1) การดำเนินงานของเว็บไซต์จังหวัดส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อการเพิ่มการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนของผู้ใช้บริการในระดับออฟไลน์ (ข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้บริการ) 2) ระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ออฟไลน์ (ข้อมูลจากกลุ่มเว็บมาสเตอร์) จึงสรุปได้ว่า / การดำเนินงานของเว็บไซต์จังหวัดยังไม่มีผลในฐานะกลไกเสริมสร้างพลังกระบวนการประชาสังคมในระดับออฟไลน์ / ทั้งนี้จากการศึกษาเพิ่มเติมในกรณีศึกษา 3 แห่ง พบว่า เว็บไซต์เชียงรายทูเดย์ดอทคอม มีรูปแบบการดำเนินการและกิจกรรมที่เสริมสร้างพลังกระบวนการประชาสังคมในระดับออฟไลน์ คือ เกิดการรวมตัวระหว่างผู้ใช้บริการเป็นชมรมอินเตอร์เน็ตเชียงรายและมีการรวมตัวประกอบกิจกรรมในเชิงประชาสังคมกับโครงการเน็ตเดย์ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ และปัญหาที่ทุกเว็บไซต์พบในปัจจุบันคือ การขาดการบริหารองค์การที่เป็นระบบในด้านการจัดองค์การ บุคลากร และการขาดงบประมาณหรือรายได้ในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ยั่งยืนต่อไป / สำหรับข้อเสนอในการพัฒนาเว็บไซต์จังหวัดให้กลายเป็นกลไกเสริมสร้างพลังกระบวนการประชา ในการวิจัยครั้งนี้ มี 2 ประการคือ 1) รัฐควรมีการจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติในนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติระดับจังหวัดและภูมิภาคโดยใช้เว็บไซต์ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2000. |
Subject(s): | คอมพิวเตอร์กับการวิจัย
คอมพิวเตอร์ -- ไทย เว็บไซต์ -- ไทย |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | ก-ฌ, 148 แผ่น ; 30 ซม |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/676 |
Files in this item (EXCERPT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|