ลักษณะส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
1997
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 141 แผ่น : ภาพประกอบ ; 31 ซม
ISBN
9742310505
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุกานดา ศุภคติสันติ์ (1997). ลักษณะส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/697.
Title
ลักษณะส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Personal characteristics and organizational environments that affect employees' commitment to their organizations : a case study of financial companies in Bangkok
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง ลักษณะส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะงาน ลักษณะองค์การ ประสบการณ์ขณะปฏิบัติงาน กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) ศึกษาว่าตัวแปรใดระหว่างลักษณะงาน ลักษณะองค์การ และประสบการณ์ขณะปฏิบัติงานกับองค์การที่สามารถทำนายความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานครได้ดีที่สุด / กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 382 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามเพศและระดับการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบวัดปลายเปิด แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล กับแบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (2) แบบวัดลักษณะงาน (3) แบบวัดลักษณะองค์การ (4) แบบวัดประสบการณ์ขณะปฏิบัติงานกับองค์การ และ (5) แบบวัดความผูกพันต่องค์การ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) โดยใช้สถิติในการคำนวณค่า คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์แปรปวน (anova) ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ค่าสถิติถดถอยพหุคูณแบบรวมกับแบบขั้นตอน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ / 1. ระดับการศึกษาและอายุ พบว่า พนักงานที่จบการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีมีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าพนักงานที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี และพนักงานที่มีอายุมากกว่า 35 ปีมีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าพนักงานที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี / 2. ลักษณะงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 โดยพบว่า ความหลากหลายในงาน ความอิสระในงาน ข้อมูลย้อนกลับของผลการปฏิบัติงาน ความท้าทายของงาน ความก้าวหน้าในงานและโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ / 3. ลักษณะองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่า การกระจายอำนาจในองค์การ ความชัดเจนของกฎ ข้อบังคับความชัดเจนของขั้นตอนการทำงาน การมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ และการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การมีนัยสำคัญทางสถิติ
4. ประสบการณ์ขณะปฏิบัติงานกับองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่า ทัศนคติของกลุ่มต่อองค์การความคาดหวังที่ได้รับการตอบสนองจากองค์การ ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่องค์การ ความพึ่งพาได้ขององค์การ และความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ มีความสัมพันธ์ทางบวก / 5. ประสบการณ์ขณะปฏิบัติงานกับองค์การเป็นตัวพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การได้ดีที่สุด และลักษณะงานเป็นตัวพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การรองลงมา โดยตัวแปรย่อยที่สามารถอธิบายความผูกพันต่อองค์การได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความพึงพาได้ขององค์การ รองลงมา คือ ความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ ความชัดเจนของขั้นตอนการทำงาน และความรู้สึกว่าตนที่ความสำคัญต่อองค์การ ตามลำดับจากมากไปน้อย / จากผลการวิจัยนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ คือ (1) องค์การควรมีการปรับปรุงการรับรู้ของพนักงานที่มีต่อการปฏิบัติงาน โดยพยายามสร้างภาพลักษณ์ในด้านความเป็นที่พึ่งพาได้แก่พนักงาน และให้ความยุติธรรมแก่พนักงานทุกคน ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกตนมีความสำคัญกับองค์การ และพยายามให้สิ่งจูงใจที่สนองความต้องการหรือคาดหวังของพนักงาน ซึ่งจะนำไปสู่การมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ.
องค์การควรมีการปรับปรุงลักษณะองค์การให้เอื้ออำนวยต่องานและบุคคล คือ ลักษณะองค์การแบบประชาธิปไตย (มีการกระจายอำนาจแก่พนักงาน มีกฎระเบียบและขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน มีการเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของและในการบริหารงาน) และควรมีการปรับปรุงลักษณะงานให้สามารถจูงใจพนักงานได้ คือ ลักษณะงานที่มีความสำคัญและท้าท้ายความสามารถ เปิดโอกาสให้พนักงานได้ติดต่อกับผู้อื่น มีอิสระในการทำงานของตน โดยอาศัยทักษะที่หลากหลายในการทำงาน นอกจากนั้นองค์การควรมีการจัดประเมินผลพนักงานเพื่อจะได้รับข้อมูลย้อนกลับ รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้พนักงานได้ก้าวหน้าในสายอาชีพของตนอีกด้วย.
This research is entitled Personal Characteristics and Organizational Environments that Affect Employees' Commitment to Their Organizations : A Case Study of Financial Companies in Bangkok. / The purposes of this research are to compare the differences between the impacts of personal characteristics (e,g, gender, marital status, achievement motive) and organizational environments (e.g. job characteristics, organizational characteristics) on employees's commitment to organizations. / Three hundred and eight financial companies' employess in Bangkok were selected by stratified random sampling method. The major findings of this research are : / 1. Employess who have educational level lower than bachelor degrees and those who are older than 35 years old express higher organizational commitment than employess with bachelor degrees; or higher, and those who are younger than 35 years old. / 2. Skill variety, task significance, autonomy, feedback, job challenge, advancement of career opportunities, and interaction with others are significant indicators of organizational commitment levels.
Organizational characteristics as well as work experiences affect employess' commitment to organizations (at the significant level of .01). / 4. The best indicator of organizational commitment in terms of organizational environment is work experiences, and the second best indicator is job characteristics, From 18 subvariables, the researcher finds that only 4 subvariables (organizational dependability, equity, job clarification, and feeling of importance to the organizaiton) are significant of organizational commitment respectively. / The findings above suggest that the organizations should improve their organization environment to enhance the organizational commitment of employess. Based on the findings, the improvement plan should include the following actions : (1) The organizations should strive to create positive work experiences, that is : to ensure the employees of organization dependability ; to equity to all employees; to make employees feel important; to satisfy employees' needs and expectations; and to foster postitive attitudes toward the organization. / (2) The organizations should implement their plans in which decentralization is encouraged. Rules, regulations as well as job descriptions should be made clear. Employess should be given an opportunity to own shares of the organization. They should also be given chances to vocie their views. Furthermore, the organizations should assign to each employee jobs that are important and challenging, provide each employee with a chance to interact with others, while having autonomy in their jobs; equip each employee with various skills for advancement in their career paths; and give practical feedback to each employee in their job performances.
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ / 1. ระดับการศึกษาและอายุ พบว่า พนักงานที่จบการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีมีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าพนักงานที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี และพนักงานที่มีอายุมากกว่า 35 ปีมีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าพนักงานที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี / 2. ลักษณะงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 โดยพบว่า ความหลากหลายในงาน ความอิสระในงาน ข้อมูลย้อนกลับของผลการปฏิบัติงาน ความท้าทายของงาน ความก้าวหน้าในงานและโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ / 3. ลักษณะองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่า การกระจายอำนาจในองค์การ ความชัดเจนของกฎ ข้อบังคับความชัดเจนของขั้นตอนการทำงาน การมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ และการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การมีนัยสำคัญทางสถิติ
4. ประสบการณ์ขณะปฏิบัติงานกับองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่า ทัศนคติของกลุ่มต่อองค์การความคาดหวังที่ได้รับการตอบสนองจากองค์การ ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่องค์การ ความพึ่งพาได้ขององค์การ และความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ มีความสัมพันธ์ทางบวก / 5. ประสบการณ์ขณะปฏิบัติงานกับองค์การเป็นตัวพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การได้ดีที่สุด และลักษณะงานเป็นตัวพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การรองลงมา โดยตัวแปรย่อยที่สามารถอธิบายความผูกพันต่อองค์การได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความพึงพาได้ขององค์การ รองลงมา คือ ความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ ความชัดเจนของขั้นตอนการทำงาน และความรู้สึกว่าตนที่ความสำคัญต่อองค์การ ตามลำดับจากมากไปน้อย / จากผลการวิจัยนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ คือ (1) องค์การควรมีการปรับปรุงการรับรู้ของพนักงานที่มีต่อการปฏิบัติงาน โดยพยายามสร้างภาพลักษณ์ในด้านความเป็นที่พึ่งพาได้แก่พนักงาน และให้ความยุติธรรมแก่พนักงานทุกคน ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกตนมีความสำคัญกับองค์การ และพยายามให้สิ่งจูงใจที่สนองความต้องการหรือคาดหวังของพนักงาน ซึ่งจะนำไปสู่การมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ.
องค์การควรมีการปรับปรุงลักษณะองค์การให้เอื้ออำนวยต่องานและบุคคล คือ ลักษณะองค์การแบบประชาธิปไตย (มีการกระจายอำนาจแก่พนักงาน มีกฎระเบียบและขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน มีการเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของและในการบริหารงาน) และควรมีการปรับปรุงลักษณะงานให้สามารถจูงใจพนักงานได้ คือ ลักษณะงานที่มีความสำคัญและท้าท้ายความสามารถ เปิดโอกาสให้พนักงานได้ติดต่อกับผู้อื่น มีอิสระในการทำงานของตน โดยอาศัยทักษะที่หลากหลายในการทำงาน นอกจากนั้นองค์การควรมีการจัดประเมินผลพนักงานเพื่อจะได้รับข้อมูลย้อนกลับ รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้พนักงานได้ก้าวหน้าในสายอาชีพของตนอีกด้วย.
This research is entitled Personal Characteristics and Organizational Environments that Affect Employees' Commitment to Their Organizations : A Case Study of Financial Companies in Bangkok. / The purposes of this research are to compare the differences between the impacts of personal characteristics (e,g, gender, marital status, achievement motive) and organizational environments (e.g. job characteristics, organizational characteristics) on employees's commitment to organizations. / Three hundred and eight financial companies' employess in Bangkok were selected by stratified random sampling method. The major findings of this research are : / 1. Employess who have educational level lower than bachelor degrees and those who are older than 35 years old express higher organizational commitment than employess with bachelor degrees; or higher, and those who are younger than 35 years old. / 2. Skill variety, task significance, autonomy, feedback, job challenge, advancement of career opportunities, and interaction with others are significant indicators of organizational commitment levels.
Organizational characteristics as well as work experiences affect employess' commitment to organizations (at the significant level of .01). / 4. The best indicator of organizational commitment in terms of organizational environment is work experiences, and the second best indicator is job characteristics, From 18 subvariables, the researcher finds that only 4 subvariables (organizational dependability, equity, job clarification, and feeling of importance to the organizaiton) are significant of organizational commitment respectively. / The findings above suggest that the organizations should improve their organization environment to enhance the organizational commitment of employess. Based on the findings, the improvement plan should include the following actions : (1) The organizations should strive to create positive work experiences, that is : to ensure the employees of organization dependability ; to equity to all employees; to make employees feel important; to satisfy employees' needs and expectations; and to foster postitive attitudes toward the organization. / (2) The organizations should implement their plans in which decentralization is encouraged. Rules, regulations as well as job descriptions should be made clear. Employess should be given an opportunity to own shares of the organization. They should also be given chances to vocie their views. Furthermore, the organizations should assign to each employee jobs that are important and challenging, provide each employee with a chance to interact with others, while having autonomy in their jobs; equip each employee with various skills for advancement in their career paths; and give practical feedback to each employee in their job performances.
Table of contents
Description
Methodology: T test, ANOVA, Correlation, Multiple regression
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาทรัพยากรมนุษย์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาทรัพยากรมนุษย์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.