• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะภาษาและการสื่อสาร
  • GSLC: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะภาษาและการสื่อสาร
  • GSLC: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

by วิภาวิน โมสูงเนิน

Title:

การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

Other title(s):

An investigation of the Public Health Communication in response to the 2009 influenza outbreak by the Public Health Ministry of Thailand

Author(s):

วิภาวิน โมสูงเนิน

Advisor:

รุจิระ โรจนประภายนต์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การสื่อสารประยุกต์

Degree department:

คณะภาษาและการสื่อสาร

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2010

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2010.98

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่อง การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขกรณีการระบาดของโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 มีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อการสื่อสาร สุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข และเพื่อศึกษารูปแบบการสื่ อสารสุขภาพการกําหนดประเด็น เนื้อหา วิธีการ ช่องทางการสื่อสาร และกลุ่มเป้าหมาย ของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการ ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม 2009 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลผูดําเนินการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจํานวน 10 คน และการศึกษาเอกสาร (Documentary Analysis) เกี่ยวกับการสื่อสารด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จํานวน 16 เรื่อง สรุปผลโดยอาศัย วัตถุประสงค์หลักในการ ศึกษาและกรอบแนวคิด ทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีการสื่อสารในภาวะ วิกฤต ทฤษฎีการสื่สารสุขภาพและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมติทางวัฒธรรม และนํามาประมวลผล สร้างข้อสรุปแบบอุปนั ยในประเด็นสำคัญลำดับตามวัตถประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการข้อมูลข่าวสารเดพื่อการสื่สารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข มีการตั้ง คณะทํางานศูนย์ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาด ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 (War room) โดยให้มีหน้าที่ในการกําหนดประเด็นเนื้อหา องค์ความรู้ที่จะสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งมีแหล่งข้อมูลที่สําคัญคือ องค์การอนามัยโลก (WHO) หน่วยงาน CDC ของสหรัฐอเมริกา และองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ ด้านโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยมีคณะทํางานสื่อสารประชาสัมพันธ์ดําเนินการจัดการเรียบเรียงเนื้อสารที่ผ่านการอนุมัติจากคณะทำงาน War room ให้เป็นขอความหรือเนื้อสาร ที่เข้าใจง่ายก่อนจะกำหนดสื่อและช่องทางเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ต่อไป 2. รูปแบบการสื่อสารสุขภาพการกำหนดประเด็นเนื้อหาวิธีการ ช่องทางการสื่อสารและ กลุ่มเป้าหมายกระทรวงสาธารณสุขบูรณาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางโดยกาหนด ประเด็นเนื้อหาการสื่อสารเป็นสองส่วนคือ (1) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สถานการณการระบาด ของโรคและ (2) การสื่อสารความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยส่วนบุคคลเพื่อการป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่สายพนธุ์ใหม่ 2009 สําหรับตนเองครอบครัวและสังคมโดยมกลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนทั่วไปและความรู้เรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สําหรับบถคลากรทางการแพทย์ ประเด็นปัญหาสวนใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากการขาดแคลนองค์ความรู้เรื่องโรคที่ เพียงพอสำหรับการสื่อสารในระยะเริ่มต้นของการระบาดทั้งนี้เนื่องจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นโรคอุบัติใหม่แต่หลังจากการระบาดเข้าสู่ระยะที่สองกระทรวงสาธารณสุขเริ่มมีทิศทาง ในการจัดการกับภาวะวิกฤตดังกล่าวมากขึ้นโดยมความพยายามในการปรับแผนการดำเนินงาน ด้านการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสื่อสารประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010

Subject(s):

การสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพ -- ไทย

Keyword(s):

การสื่อสารสุขภาพ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

198 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/726
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b178842.pdf ( 3.93 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSLC: Theses [32]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×