มาตรการตรวจสอบเชิงป้องกัน (Preventive Audit) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 1999
Publisher
Issued Date
2013
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
125 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b180773
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ยุทธพงศ์ ภูวเศรษฐาวร (2013). มาตรการตรวจสอบเชิงป้องกัน (Preventive Audit) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 1999. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/731.
Title
มาตรการตรวจสอบเชิงป้องกัน (Preventive Audit) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 1999
Alternative Title(s)
Measures of preventive audit of organic act on state audit, BE 1999 (1999) / ยุทธพงศ์ ภูวเศรษฐาวร
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประส่งค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทและโครงสร้างของสำนักงานการ
ตรวจเงินแผ่นดินเกี่ยวกับการตรวจสอบก่อนการจ่ายเงิน หรือการตรวจสอบเชิงป้องกัน (Preventive
Audit) ว่าควรมีสถานะ อำนาจ และหน้าที่อย่างไรจึงจะสามารถป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิง
นโยบายและควบคุมการใช้อำนาจทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 2) เพื่อหาแนวทางในการ
พัฒนาการตรวจสอบเชิงป้องกันที่เหมาะสมและมาตรการบังคับภายหลังการตรวจสอบของสำนักงาน
การตรวจเงินแผ่นดิน
วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาระบบการตรวจสอบและการควบคุม
เงินแผ่นดินของประเทศไทย และหลักการพื้นฐานหรือที่มาที่จะต้องมีการตรวจสอบและควบคุม
ดังกล่าว ส่วนที่สอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระบบการตรวจสอบเชิงป้องกันขององค์กรตรวจสอบ
ภายนอกในประเทศต่างๆ ที่ผู้วิจัยเห็นว่ามีความสำคัญ เพื่อแสดงให้เห็นว่าในระบบของต่างประเทศ
นั้นมีการตรวจสอบเชิงป้องกันหรือไม่ และมีการตรวจสอบอย่างไร้ พบว่า 1) หลักการการตรวจสอบ
เชิงป้องกัน หรือการตรวจสอบก่อนการใช้จ่ายเงิน ในกฎหมายของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ขาดความชัดเจน โดยกฎหมายได้ให้อำนาจไว้เพียงสองกรณี คือ กรณีแรก อำนาจคณะกรรมการ
ตรวจเงินแผ่นดินออกมาตรการป้องกันหรือควบคุมความเสียหายแก่หน่วยรับตรวจปฏิบัติ ในกรณีที่
เห็นว่าอาจเกิดความเสียหายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินโดยหน่วยรับตรวจ ตามมาตรา 15(3)ข) แห่ง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นมาตรการวาง
แนวปฏิบัติให้หน่วยรับตรวจต้องปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายแก่เงินหรือ
ทรัพย์สินของแผ่นดินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันเป็นการวางกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งก็ไม่ได้เป็นการ
รับประกันว่าหากหน่วยรับตรวจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้วจะป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด และกรณีที่สอง อำนาจของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในการศึกษาและเสนอความเห็น
เกี่ยวกับแผนงาน งาน โครงการ ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณ ตามมาตรา 39 (2) (ง)
ของกฎหมายฉบับดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นอำนาจที่ระบุไว้เพียงกว้างๆ ไว้เพียงให้ศึกษาและเสนอ
ความเห็นต่อรัฐสภาเท่านั้น แต่จะควบคุมให้ฝ่ายบริหารจะต้องปฏิบัติตามนั้น กฎหมายไมใด้ให้อำนาจ
ไว้อย่างแจ้งชัด 2) ขอบเขตอำนาจในการตรวจสอบก่อนการใช้จ่ายเงินขององค์กรตรวจเงินแผ่นดินยัง
มีข้อจำกัดตามวงจรงบประมาณ เนื่องจากการตรวจสอบก่อนการใช้จ่ายเงิน ได้ดำเนินการในทุกๆ
ขั้นตอนของวงจรงบประมาณ การที่องศ์กรตรวจเงินแผ่นดินอย่างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจะ
เข้าไปตรวจสอบหรือศึกษาในแต่ละวงจรของงบประมาณก็ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง
เพราะแต่ขั้นตอนก็มีหน่วยงานต่างๆทำหน้าที่รับผิดชอบแล้ว 3) การขาดอำนาจบังคับ (Sanction)
และการรายงาน (Report)ของการตรวจสอบเชิงป้องกันไม่มีความชัดเจน โดยการแจ้งผลการ
ตรวจสอบตามกฎหมาย ไม่มีข้อกำหนดในเชิงการแจ้งผลเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
และไม่มีมาตรการบังคับหน่วยรับตรวจให้ยับยั้งหรือทบทวนการดำเนิ่นไว้ก่อนเมื่อได้รับแจ้งผลการ
ตรวจสอบหรือผลการศึกษาจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
แนวทางการดำเนินการใช้มาตรการการตรวจสอบเชิงป้องกันให้มีและการบังคับผลการ
ตรวจสอบหรือศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือ 1) ควรระบุในกฎหมายให้ชัดแจ้งว่าสามารถ
ตรวจสอบข้อสมมติทางงบประมาณในการวางแผนทางด้านการคลังได้เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ
และนอกจากนั้นควรกำหนดว่าการตรวจสอบก่อนการจ่ายเงินนั้นสามารถกระทำได้ในรูปแบบใดได้
บ้างให้ชัดเจน หรือสามารถเข้าไปตรวจสอบในขั้นตอนใดในวงจรงบประมาณ 2) เมื่อมีการตรวจสอบ
ก่อนการจ่ายเงินในทุกๆช่วงของวงจรงบประมาณแล้ว ก็ควรมีการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการป้องกัน
ในจุดที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อจำกัดด้านอำนาจการตรวจสอบโดยเฉพาะในต้านความ
เป็นอิสระของเจ้าหน้าที่ด้านการเงินการคลังของหน่วยรับตรวจ โดยควรออกกฎหมายกำหนดให้แยก
หน่วยงานทางการเงินบัญชีเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้นๆ 3) เพื่อให้ผลการตรวจสอบเชิง
ป้องกันมีประสิทธิภาพหรือมีสภาพบังคับมากยิ่งขึ้น ควรเพิ่มบทบัญญัติในกฎหมายของสำนักงานการ
ตรวจเงินแผ่นดินให้มีอำนาจแจ้งผลการตรวจสอบหรือผลการศึกษาในเรื่องการตรวจสอบก่อนการใช้
จ่ายเงินแก่หน่วยรับตรวจ และเมื่อหน่วยรับตรวจได้รับผลการศึกษาแล้ว ต้องนำไปพิจารณา
ดำเนินการทบทวน ยับยั้ง หรือดำเนินการแก้ไขก่อน และมีการเพิ่มศักยภาพด้านการตรวจสอบก่อน
การใช้จ่ายเงินให้แก่ผู้ตรวจสอบ และสร้างเทคนโลยีในการตรวจสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้
เชื่อมโยงกับระบบ GFMIS ของภาครัฐ หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐวิสาหกิจ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556