สิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีการทำเกลือสินเธาว์ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร
by สโรชินี ศิริวัฒนา
Title: | สิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีการทำเกลือสินเธาว์ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร |
Other title(s): | The right of the people to participate in natural resource and environmental management under the Thai constitution : a study of the rock salt production in Sakon Nakhon Province |
Author(s): | สโรชินี ศิริวัฒนา |
Advisor: | บรรเจิด สิงคะเนติ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2013.1 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
โดยที่การสูบน้ำเกลือใต้ตินขึ้นทำเกลือสินเธาว์ในพื้นที่จังหวัดสกลนครนั้น ไต้ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อการจัตการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ไม่ว่จะเป็นการแพร่กระจาย ความเคีม การยุบตัวของพื้นดินอย่างกว้างขวาง การปนเปื้อนของแหล่งน้ำบนผิวติน รวมถึงระบบ นิเวศชาดสมดุล เป็นตัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้เกลือ สินเธาว์ในอุตสาหกรรมและความต้องการของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางราย ลักลอบผสิตเกลือสินเราวันอกระยะเวลาที่อนุญาตให้ทำการสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาทำเกลือสินเธาว์ รวมถึงการลักลอบผลิตนอกพื้นที่ที่มีการอนุญาตอีกตัวย ขณะเดียวกันในต้านการมีส่วนร่วมของ ประชาชนนั้น แม้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) จะได้วาง หลักการสำคัญเพื่อรับรองสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชวติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โตยมีจุดมุ่งหมายที่ให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่จากสภาพ ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า การทำเกลือสินเธาว์ในปัจจุบันไม่มีขั้นตอนการสำรวจความคิดเห็นของ ประชาชนในพื้นที่ก่อนที่จะพิจารณาอนุญาตให้ทำเกลือสินเธาว์หรือไม่ รวมถึงภายหลังการอนุญาต แล้วก็ไม่มีกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เยียวยา หรือฟื้นฟูสภาพแวดส้อมที่ เหมาะสม จึงส่งผลให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้รับผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร นอกจากนี้ ปัญหาการบังคันใช้กฎหมายถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่มีการทำเกลือสินเธาว์ไม่เกิดผลเช่นกัน จากการศึกษาโดยภาพรวม ทำให้เห็นว่าการจัตการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาการทำเกลือสินเธาว์ในจังหวัดสกลนครนั้น ถือเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่งที่เป็น ปัญหาจากการนำน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาทำเกลือสินเธาว์โดยขาตมาตรการในการควบคุมที่เหมาะสมไม่ ว่าจะเป็นมาตรการควบคุมทางกฎหมาย การขาคจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวตล้อมที่ยั่งยืน ตลอดจนการชาดรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ในฐานะที่เป็น เจ้าของทรัพยากรธรรมชาติน้ำเกลือใต้ดินนั้น ในการอนุรักษ์ การไช้ การฟื้นฟู และการจัดการ ทรัพยากรธรรมซาติทำให้มีการนำน้ำกลือใต้ตินมาใช้อย่างสิ้นเปลือง จึงส่งผลระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในต้านต่าง ๆ ซึ่งแนวคิดในการบริหารจัดการโดยการที่รัฐใช้อำนาจเข้าไปควบคุมดูแลอาจ ยังไม่เพียงพอ ตังนั้น จึงต้องมีมาตรการและกลไกทางกฎหมายเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาให้ สอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยให้ประชาชนซึ่งได้รับการรับรองสิทธิได้มีส่วนร่วมในการ จัดการหรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) ใต้บัญญัติรับรองไว้อย่างแท้จริง ผลการศึกษา ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในด้านนโยบายในการพัฒนาการประกอบเกลือสินเธาว์ ตังนี้ ประการที่หนึ่ง การกำหนดนโยบายการประกอบเกลือสินเธาว์ให้เป็นไปเพื่อการรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ พื้นที่ในการจัตการทรัพยากรธรรมชาติเป็นสำคัญมากกว่าประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ประการที่สอง ควร มีมาตรการควบคุมผู้ประกอบการทำเกลือสินเธาว์ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัต ไม่ ว่าจะเป็นการกำหนดพื้นที่ให้มีการสูบน้ำเกลือ การกำหนตระยะเวลาสูบน้ำเกลือ ระบบการป้องกัน การรั่วซึมของน้ำเกลือใต้ดินสู่พื้นที่ข้างเคียงเพื่อมีให้ดำเนินการให้เกิดความเดือตร้อนต่อประชาชนที่ อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เป็นตัน ประการที่สาม ควบคุมไม่ให้มีผู้ประกอบการทำเกลือสินเธาว์ รายใหม่ ประการที่สี่ ควบคุมไมให้มีการขยายพื้นที่การประกอบุเกลือสินเธาว์เพิ่มเติมจากพื้นที่ที่ได้ ตำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ประการที่ห้า สนับสนุนให้ผู้ประกอบการทำนาเกลือทุกรายนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาช่วยดำเนินงานแทนผลิตแบบเดิมเพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดปัญหาผลกระทบต้านสิ่งแวตล้อม ประการที่หก กำหนดให้การทำเกลือสินเธาว์เป็นกิจการที่มีผลกระทบสิ่งแวตล้อมซึ่งก่อนดำเนินการ ห้องมีการจัตทำรายงานผลกระทบสิ่งแวตล้อมก่อน และประการสุดท้าย ให้มีมาตรการในการฟื้นฟู และพัฒนาพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ต่อไป ส่วนปัญหาเกี่ยวกับความชัดเจนของกฎหมายหรือปัญหาหน่วยงานนั้น ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ สามประการ ดังนี้ ประการที่หนึ่ง ปัญหาความชัตเจนของหน่วยงาน ควรกำหนดว่หน่วยงานใดมี ความรับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการประกอบกิจการทำเกลือสินเธาว์ ซึ่งต้องกำหนด ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานที่ชัดเจนด้วย ประการที่สอง ควรกำหนดให้มีระเบียบ ข้อบังคับและบทลงโทษที่ชัดเจนและเหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ในการอนุญาต การเพิ่มบทลงโทษในส่วนค่าปรับสำหรับผู้ที่ผ่าฝืน รวมถึงกรณีเกิดความเสียหายขึ้น โดยเฉพาะอาจนำหลักการกำหนดคำเสียหายในเชิงลงโทษหรือคำเสียหายเชิงเศรษฐกิจมาพิจารณา ประกอบด้วย ประการที่สาม ควรกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการกำกับ ควบคุมดูแลเพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) ประการที่สี ควรเพิ่มจำนวนอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปัจจุบันมีไม่เพียงพอ ทำให้การ บังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพ ประการสุดท้าย วรมีกระบวนการให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามี ส่วนร่วม เช่น การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการกำหนดขอบเขต รูปแบบ ระยะเวลา การควบคุมการทำเกสือสินเธาว์ ตลอดจนการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยสามารถกระทำได้ใน รูปแบ่บการทำประชาคมร่วมกันชุมชนนั้นซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหากันเองโดยชุมชนอันแสดงถึงรูปแบบ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่เห็นเด่นชัดและเป็นรูปธรรมในที่สุด |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013 |
Subject(s): | สิทธิของประชาชน
เกลือสินเธาว์ -- ไทย สกลนคร การมีส่วนร่วมของประชาชน -- ไทย -- สกลนคร -- แง่สิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทย -- สกลนคร นโยบายสิ่งแวดล้อม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย นโยบายสิ่งแวดล้อม -- ไทย -- การมีส่วนร่วมของประชาชน สิ่งแวดล้อม -- ไทย -- สกลนคร -- การมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2007 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- ไทย -- สกลนคร -- การมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดการสิ่งแวดล้อม -- ไทย -- สกลนคร -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Keyword(s): | สิทธิตามรัฐธรรมนูญ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 10, 181 , [20] แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/732 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|