• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม

by อรัสธรรม พรหมมะ

Title:

การใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม

Other title(s):

The application of public policy analytic techniques by economic and social public agencies and enterprises

Author(s):

อรัสธรรม พรหมมะ

Advisor:

วินิต ทรงประทุม, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาเอก

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนา

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1992

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์เรื่อง "การใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม" นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) ต้องการศึกษาว่าหน่วยงานด้านการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม นำเทคนิคการวิเคราะห์นโยบายไปใช้อย่างไรบ้าง (2) ต้องการเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างของการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม และ (3) ต้องการวิเคราะห์ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุของความแตกต่างในการนำเทคนิคการวิเคราะห์นโยบายไปใช้ในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม ตามแนวคิดทางทฤษฏี เทคนิคดังกล่าวมีมากมายหลากหลาย ซึ่งพอจะจัดได้เป็น 3 กลุ่ม คือ เทคนิคการหารายละเอียดของข้อมูลในการวิเคราะห์นโยบาย เทคนิคการจัดระเบียบข้อมูลในการวิเคราะห์นโยบาย และเทคนิคการหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในการวิเคราะห์นโยบาย เทคนิคเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้ในทุกขั้นตอนของการกำหนดนโยบาย อันประกอบด้วย ขั้นการกำหนดปัญหา ขั้นการสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา ขั้นการเลือกวิธีการแก้ปัญหา ขั้นการนำทางเลือกไปปฏิบัติ และขั้นการติดตามและประเมินผล เทคนิคดังกล่าวมีทั้งเทคนิคเชิงปริมาณและคุณภาพ เทคนิคเชิงปริมาณนิยมนำไปใช้วิเคราะห์นโยบายทางเศรษฐกิจ ส่วนเทคนิคเชิงคุณภาพนิยมนำไปใช้วิเคราะห์นโยบายทางสังคม นอกจากนี้ ตามแนวคิดทางทฤษฏียังระบุอีกว่า การนำเทคนิคการวิเคราะห์นโยบายไปใช้ในหน่วยงานจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้บริหารภายในหน่วยงานต่องานวิเคราะห์นโยบายระดับความรู้ของนักวิเคราะห์นโยบาย ปริมาณนักวิเคราะห์นโยบาย งบประมาณด้านการวิเคราะห์นโยบาย ลักษณะงานเชิงปริมาณ และความมุ่งกำไรของหน่วยงาน จากแนวคิดดังกล่าว ผู้วิจัยจึงตั้งสมมติฐานไว้ 6 ประการ ดังนี้
(1) หน่วยงานที่ผู้บริหารมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบาย ย่อมมีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายมากกว่าหน่วยงานที่ผู้บริหารมีทัศนคติไม่ดี
(2)หน่วยงานที่นักวิเคราะห์นโยบายมีความรู้ด้านการวิเคราะห์นโยบายมาก ย่อมมีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายมากกว่าหน่วยงานที่นักวิเคราะห์นโยบายมีความรู้ด้านการวิเคราะห์นโยบายน้อย.
(3) หน่วยงานที่มีปริมาณนักวิเคราะห์นโยบายมาก ย่อมมีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายมากกว่าหน่วยงานที่มีปริมาณนักวิเคราะห์นโยบายน้อย.
(4) หน่วยงานที่มีงบประมาณด้านการวิเคราะห์นโยบายมากย่อมมีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายมากกว่าหน่วยงานที่มีงบประมาณด้านการวิเคราะห์นโยบายน้อย.
(5) หน่วยงานที่มีลักษณะงานเชิงปริมาณมาก คือหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ ย่อมมีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายมากกว่าหน่วยงานที่มีลักษณะงานเชิงปริมาณน้อย คือหน่วยงานด้านสังคม
(6) หน่วยงานที่มุ่งกำไรมาก คือ รัฐวิสาหกิจ ย่อมมีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายมากกว่าหน่วยงานที่มุ่งกำไรน้อยหรือไม่มุ่งกำไร คือ ส่วนราชการ.
การพิสูจน์สมมติฐานกระทำโดยการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างประชากรที่เป็นหน่วยงานด้านการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการ 39 แห่ง และรัฐวิสาหกิจ 19 แห่ง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการกอง การใช้แบบสอบถามทั้งกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย การศึกษาจากเอกสารของหน่วยงานตลอดจนข่าวหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง และเนื่องจากการวิจัยเรื่องนี้จะต้องอาศัยความเข้าใจระบบการทำงานแบบราชการ ระบบการบริหาร และระบบธุรกิจการเมืองเป็นอย่างมาก ผู้วิจัยจึงเข้าไปทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งมีระบบทั้งสามรวมอยู่ด้วยกัน เพื่อให้มีประสบการณ์โดยตรงและเข้าใจระบบทั้งสามได้อย่างลึกซึ้ง อันเป็นประโยชน์ต่อการพิสูจน์สมมติฐานอีกด้วย ผู้วิจัยได้เริ่มศึกษาเรื่องนี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2530 ควบคู่ไปกับการทำงานในมหาวิทยาลัยเอกชน จนปัจจุบัน
ผลการวิจัยปรากฎว่า โดยภาพรวม ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยยังใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายน้อย คือร้อยละ 58.62 ของหน่วยงานดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มที่มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายน้อย แต่ก็ใช้ทุกขั้นตอนของกระบวนการกำหนดนโยบาย โดยมากใช้เทคนิคง่าย ๆ ไม่นิยมใช้เทคนิคที่ต้องใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติ เทคนิคที่ส่วนราชการใช้มากกว่ารัฐวิสาหกิจก็มีมากกว่าเทคนิคที่รัฐวิสาหกิจใช้มากกว่าส่วนราชการ แต่เทคนิคที่รัฐวิสาหกิจใช้มากกว่าส่วนราชการนั้น เป็นเทคนิคที่ต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติหลายเทคนิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร คือ ทัศนคติของผู้บริหารต่อการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบาย ระดับความรู้ของนักวิเคราะห์นโยบาย ปริมาณนักวิเคราะห์นโยบาย งบประมาณด้านการวิเคราะห์นโยบาย ลักษณะงานเชิงปริมาณ และความมุ่งกำไรของหน่วยงานกับตัวแปรตาม 1 ตัวแปร คือ การใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบาย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Correlation) การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุ (Multiple Regression) และการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis) ผสมผสานกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ.
นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรู้ของนักวิเคราะห์นโยบายเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยก็คือ ความเกี่ยวข้องกับงานด้านการวิเคราะห์นโยบาย ระดับความรู้พื้นฐานด้านการวิเคราะห์นโยบาย อายุการทำงานด้านการวิเคราะห์นโยบาย การสำเร็จการศึกษาด้านนโยบายและการบริหาร การผ่านการอบรมด้านการวิเคราะห์นโยบาย และวุฒิการศึกษา.
ประเด็นสำคัญที่พบอีกประการหนึ่งก็คือ หน่วยงานด้านการวิเคราะห์นโยบายทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มักทำงานตามที่เคยทำกันมา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมากนัก หน่วยงานด้านการวิเคราะห์นโยบายกับหน่วยงานด้านการติดตามประเมินผลจะแยกจากกัน และไม่ประสานงานกัน ทั้ง ๆ ที่การติดตามประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย หน่วยงานวิเคราะห์นโยบายมักทำหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเสนอผู้บริหารเมื่อผู้บริหารต้องการเท่านั้น
จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้มีการจัดตั้งหน่วยงานด้านการวิเคราะห์นโยบายและวางแผนทุกกระทรวง ทบวง กรม และทุกรัฐวิสาหกิจโดยมีงานด้านการติดตามและประเมินผลรวมอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์นโยบายและวางแผนด้วย ให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณสำหรับงานด้านนี้โดยเฉพาะ ให้มีการกำหนดแผนพัฒนาระบบการบริหารงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน ให้หน่วยงานด้านการวิเคราะห์นโยบายและวางแผนรับบุคคลเข้าทำงานในตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถด้านการวิเคราะห์นโยบายเป็นสำคัญเพื่อมาทำงานด้านการวิเคราะห์นโยบายจริง ๆ หน่วยงานนี้ควรส่งเสริมให้นักวิเคราะห์นโยบายมีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการวิเคราะห์นโยบาย และเนื่องจากการวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยระดับมหภาคซึ่งให้ภาพรวมเกี่ยวกับการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในประเทศไทยไว้แล้ว การวิจัยที่น่าจะทำต่อไปจึงน่าจะเป็นการวิจัยระดับจุลภาคเกี่ยวกับการใช้เทคนิคแต่ละวิธีในการวิเคราะห์นโยบายแต่ละอย่างในแต่ละหน่วยงานในประเทศไทย.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2535.

Subject(s):

นโยบายสาธารณะ
การวิเคราะห์นโยบาย
ไทย -- นโยบายเศรษฐกิจ
ไทย -- นโยบายสังคม

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

ก-ณ, 334 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/901
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-diss-b2403ab.pdf ( 223.48 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-diss-b2403.pdf ( 5,060.93 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Dissertations [410]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×