• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การทดสอบทฤษฎีภาวะผู้นำในองค์การระบบเปิด : กรณีภาควิชามหาวิทยาลัยของรัฐ / โดย อวยชัย ชะบา

by อวยชัย ชะบา

Title:

การทดสอบทฤษฎีภาวะผู้นำในองค์การระบบเปิด : กรณีภาควิชามหาวิทยาลัยของรัฐ / โดย อวยชัย ชะบา

Author(s):

อวยชัย ชะบา

Advisor:

อรุณ รักธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาเอก

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนา

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1989

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาในครั้งนี้ คือการทดสอบทฤษฎีภาวะผู้นำจากต่างประเทศ ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ของไทยได้รวบรวมข้อมูลจากภาควิชาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งเป็นประชากรในการศึกษาโดยการส่งแบบสอบถามไปให้ประเมินตนเอง โดยผู้ประเมินเป็นประชากรเป้าหมายได้แก่หัวหน้าภาควิชา จำนวน 182 ท่าน คณาจารย์ จำนวน 138 ท่าน และเจ้าหน้าที่ประจำภาควิชาจำนวน 160 ท่าน และติดตามสัมภาษณ์เจาะลึกอดีตหัวหน้าภาควิชาบางท่านเพื่อประกอบข้อค้นพบจากแบบสอบถาม
มาตรวัดในการศึกษาครั้งนี้มี 8 มาตรวัด คือ มาตรวัดคุณสมบัติผู้นำ มาตรวัดภาวะผู้นำแบบมุ่งตน มาตรวัดภาวะผู้นำแบบมุ่งงาน มาตรวัดผู้นำแบบมุ่งคน และมาตรวัดผู้นำแบบมุ่งทีมงาน มาตรวัดความภาคภูมิใจในภาควิชา มาตรวัดการสื่อข้อความ และ มาตรวัดสภาพแวดล้อม ได้นำมาตรวัดไปทดสอบ และหาความเชื่อถือได้จากกลุ่มประชากรที่มิได้ตกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ก่อนนำไปใช้ทอดในกลุ่มตัวอย่าง.
การรวบรวมข้อมูลเริ่มดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2531 ถึงมิถุนายน 2532 หลังจากนั้นได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ ความถี่ ความเชื่อถือได้ การวิเคราะห์การผันแปร การวิเคราะห์การจำแนกพหุ และการวิเคราะห์สมการถดถอย แบบขั้นตอน
ระดับความเชื่อถือได้ของมาตรวัดกำหนดขึ้น โดยใช้ค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าประกอบในการเลือกข้อความในแบบสอบถาม การวิเคราะห์การผันแปร และการวิเคราะห์การจำแนกพหุ นำมาใช้เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และมีนัยสำคัญ และลำดับสำคัญในการอธิบายของตัวแปรอิสระต่อตัวแปรตาม การวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอนนำมาช่วยในการตัดสินใจว่าตัวแปรอิสระใดมีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญมากน้อยเพียงใด
ผลของการวิเคราะห์มีดังนี้ คือ
ในภาควิชามหาวิทยาลัยของรัฐที่ศึกษา หัวหน้าภาควิชาจะใช้แบบภาวะผู้นำแบบต่าง ๆ กัน ได้แก่ ภาวะผู้นำแบบมุ่งตน ภาวะผู้นำแบบมุ่งงาน ภาวะผู้นำแบบมุ่งคน และภาวะผู้นำแบบมุ่งทีมงาน
ภาวะผู้นำที่ทุกกลุ่มไม่เห็นพ้องต้องกันว่า หัวหน้าภาควิชาของตนใช้อยู่อย่างคงเส้นคงวา คือ ภาวะผู้นำแบบมุ่งตน มุ่งคนและ มุ่งทีมงาน (P .05)
ภาวะผู้นำที่ทุกกลุ่มเห็นพ้องต้องกันว่าหัวหน้าภาควิชาของตนใช้อยู่อย่างคงเส้นคงวา คือ ภาวะผู้นำแบบมุ่งงาน (P .05)
เพื่อทำการศึกษาดูว่าแบบภาวะผู้นำแบบใดมีความสัมพันธ์และสามารถอธิบายความภาคภูมิใจของภาควิชาได้สูงสุดและรองลงไป และมีนัยสำคัญทางสถติระดับ P .05 จึงได้นำตัวแปรอิสระ และตัวแปรควบคุมเพื่อป้องกันความสัมพันธ์ลวง มาวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์พบว่า มีเพียงภาวะผู้นำแบบมุ่งคนเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับความภาคภูมิใจในภาควิชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาพร้อมกันทั้ง 3 กลุ่ม
เมื่อทำการควบคุมเฉพาะหัวหน้ากลุ่มภาควิชา ปรากฏว่าภาวะผู้นำแบบมุ่งทีมงาน ทำให้หัวหน้าภาควิชามีความภาคภูมิใจในภาควิชา.
เมื่อทำการควบคุมเฉพาะกลุ่มอาจารย์แบบภาวะผู้นำไม่มีความสัมพันธ์กับความภาคภูมิใจในภาควิชา แต่กลายเป็นตัวแปรอิสระตัวอื่น คือ คุณสมบัติของผู้นำ มีความสัมพันธ์กับความภาคภูมิใจของภาควิชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ P .05.
เมื่อทำการควบคุมโดยทำให้กลุ่มเจ้าหน้าที่ประจำภาควิชาคงที่ปรากฏว่า คุณสมบัติของผู้นำ และสภาพแวดล้อมของภาควิชามีความสัมพันธ์กับความภาคภูมิใจของภาควิชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ P .05 มิใช่ภาวะผู้นำแบบใด ๆ.
เมื่อทำการควบคุมเฉพาะกลุ่มหัวหน้าภาควิชาสายสังคมศาสตร์ พบว่า ภาวะผู้นำแบบมุ่งทีมงานเท่านั้น มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลขององค์การ หรือความภาคภูมิใจในภาควิชา.
เมื่อทำการควบคุมเฉพาะกลุ่มหัวหน้าภาควิชาสายวิทยาศาสตร์พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ เกิดขึ้นระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามที่ศึกษา กรณีนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม
เมื่อทำการควบคุมเฉพาะกลุ่มอาจารย์สายสังคมศาสตร์ พบว่าไม่มีภาวะผู้นำแบบใดสัมพันธ์กับความภาคภูมิใจของภาควิชา แต่กลับเป็นตัวแปรการสื่อข้อความที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ P .05.
เมื่อทำการควบคุมเฉพาะกลุ่มอาจารย์สายวิทยาศาสตร์ปรากฏว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ P .05 ซึ่งกรณีนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยการเพิ่มจำนวนตัวอย่างให้มากขึ้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2532.

Subject(s):

ผู้นำ
อาจารย์มหาวิทยาลัย -- ไทย

Keyword(s):

หัวหน้าภาควิชา
องค์การ
การบริหาร
สถาบันอุดมศึกษา

Resource type:

Dissertation

Extent:

223 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/902
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
nida-diss-b7132.pdf ( 3,910.80 KB )

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
nida-diss-b7132ab.pdf ( 144.67 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Dissertations [312]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×