• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มไปปฏิบัติ : การศึกษาวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์ในธุรกิจโรงแรม

by กิตติ บุนนาค

Title:

การนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มไปปฏิบัติ : การศึกษาวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์ในธุรกิจโรงแรม

Other title(s):

The implementation of value added tax policy : a phenomenal analysis of the hotel business

Author(s):

กิตติ บุนนาค

Advisor:

วรเดช จันทรศร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาเอก

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนา

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

นโยบายภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นนโยบายภาษีใหม่ที่กรมสรรพากรนำมาใช้แทนระบบภาษีการค้าเดิม และเริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 35 ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือ ต้องการที่จะพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษี ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีความยุติธรรมในการจัดเก็บ ลดความซ้ำซ้อนทางภาษี อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมด้วย เนื่องจากนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว เป็นนโยบายภาษีใหม่ของกรมสรรพากร และของประเทศไทยจึงเป็นมูลเหตุจูงใจทำให้ผู้วิจัย อยากที่จะทำการศึกษาว่า ผลของการนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่ม ไปปฏิบัตินั้นเป็นอย่างไรบ้าง ระบบการจัดเก็บมีประสิทธิภาพหรือไม่ ปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข.
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบบุกเบิกในเชิงคุณภาพโดยทำการศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจโรงแรม ภายใต้การสังเกตการณ์แบบอำพรางตัว และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญสามกลุ่ม ก็คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่สรรพากร กลุ่มผู้ประกอบการ และกลุ่มประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งระดับความร่วมมือของบุคคลทั้งสามกลุ่มนี้ จะมีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของการนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มไปปฏิบัติ
จากการศึกษาและวิจัยครั้งนี้ พบว่ารูปแบบพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติในระดับล่าง (front-line implementors) ยังไม่ได้ให้ความร่วมมือต่อนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มเท่าที่ควร และการที่ระดับความร่วมมือของผู้ปฏิบัติระดับล่างมีค่อนข้างน้อย ก็เพราะว่า ผู้ปฏิบัติระดับล่างทุกกลุ่ม ต่างมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นภายในกระบวนการของการนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มไปปฏิบัติโดยทางด้านเจ้าหน้าที่สรรพากรก็พบปัญหาความไม่ชัดเจนของเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ความไม่เหมาะสมของการกำหนดภารกิจ และการมอบหมาย ความไม่เหมาะสมของมาตรการควบคุม ประเมินผล และการกระตุ้นส่งเสริมอีกทั้งสมรรถนะของหน่วยปฏิบัติก็ยังขาดแคลนทรัพยกรทางด้านต่าง ๆ อีกด้วย ส่วนทางด้านผู้ประกอบการและประชาชนก็พบปัญหาการประชาสัมพันธ์ที่ล้มเหลวของกรมสรรพากร และขาดแรงจูงใจที่ดี สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหา และอุปสรรคอันสำคัญที่กรมสรรพากรจะต้องรับไปพิจารณา ปรับปรุงแก้ไขต่อไป.
แม้ว่าที่ผ่านมา กรมสรรพากรจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแนวปฏิบัติต่าง ๆ บ้างก็ตาม แต่การปรับปรุงแก้ไขเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุทั้งสิ้น หรือแก้ไขเป็นบางจุดเท่านั้น ที่ไม่ได้ตรงกับความต้องการของผู้ปฏิบัติระดับล่าง และจากการวิจัยในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กรมสรรพากรเน้นการปรับปรุงแก้ไขเฉพาะแต่จุดย่อย ๆ เท่านั้น โดยยังไม่ได้เข้าไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการของการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างแท้จริง.
จากการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ผู้วิจัยสามารถเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับปัจจัยด้านต่าง ๆ เพื่อยกระดับผลของการนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มไปปฏิบัติให้สูงขึ้น โดยแยกเป็น 20 แผนงาน 37 โครงการ และ 103 แนวปฏิบัติ (ดังรายละเอียดที่นำเสนอไว้ในบทสุดท้าย) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ ซึ่งข้อเสนอแนะดังกล่าวมุ่งที่จะพัฒนาเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ยกระดับสมรรถนะของหน่วยปฏิบัติให้ดีขึ้นกว่าเดิม มีการกำหนดภารกิจและการมอบหมายงานให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ ปรับปรุงมาตรการควบคุม ประเมินผล และการกระตุ้นส่งเสริม เพื่อยกระดับคุณภาพของการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น พัฒนาการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดกระบวนการสื่อสารข้อความที่ชัดเจน ตลอดจนการพัฒนาการสร้างแรงจูงใจให้แก่ ผู้ประกอบการ และประชาชน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
อนึ่ง แม้ว่าจะนำข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้น ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาแล้ว ก็อาจจะไม่ได้หมายความว่า ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะหมดไป ทั้งนี้เพราะยังมีปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งยากแก่การที่กรมสรรพากรจะเข้าไปควบคุมและจัดการได้ ซึ่งได้แก่ สภาพทางสังคมเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ลำพังกรมสรรพากรเอง ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงการคลังเท่านั้น ก็คงที่จะแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ยาก ดังนั้น กลไกที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และสังคม โดยส่วนรวมทั้งหมด ตลอดจนประชาชนผู้เสียภาษีอากร ควรเข้ามามีบทบาทให้ความช่วยเหลือ กรมสรรพากรให้มากขึ้น เพื่อทำให้การนำนโยบายทางด้านนี้ไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

การนำนโยบายไปปฏิบัติ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม -- นโยบายของรัฐ -- ไทย

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

ก-ณ, 482 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/905
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-diss-b7275ab.pdf ( 161.59 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-diss-b7275.pdf ( 8,761.72 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Dissertations [410]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×