การบริหารการพัฒนาเมืองพัทยา : รูปแบบที่ควรจะเป็น
Publisher
Issued Date
1993
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ด, 350 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุเทพ เชาวลิต (1993). การบริหารการพัฒนาเมืองพัทยา : รูปแบบที่ควรจะเป็น. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/907.
Title
การบริหารการพัฒนาเมืองพัทยา : รูปแบบที่ควรจะเป็น
Alternative Title(s)
Pataya City development administration : the effective and preferred form
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีการบริหารของเมืองพัทยาที่ได้เลียนแบบแนวความคิดการบริหารรูปแบบผู้จัดการจากประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2521 นับเป็นแห่งแรก และแห่งเดียวของประเทศไทย จนถึงปัจจุบันนี้ได้ประสบกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ส่งผลถึงการบริหารไม่บรรลุเป้าหมาย และสามารถรองรับภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะหาคำตอบว่า รูปแบบการบริหารที่นำมาใช้นั้นได้ใช้อย่างไร มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคอะไร และรูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารเมืองพัทยาที่แท้จริงนั้นควรจะเป็นอย่างไร.
วิธีการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์เนื้อหาเป็นหลัก โดยการออกเก็บข้อมูล และสังเกตการณ์ด้วยตนเองทั้งหมด จากกลุ่มตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงทั้งในระดับกำหนดนโยบายบริหาร และปฏิบัติการจากกระทรวงมหาดไทย จังหวัดชลบุรี เมืองพัทยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอดีตผู้บริหารเมืองพัทยา ผู้เกี่ยวข้องในการจัดตั้งการปกครองรูปแบบพิเศษที่พัทยา นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และนักท่องเที่ยว.
ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบการบริหารที่นำมาใช้กับเมืองพัทยานั้นได้นำมาใช้ในลักษณะที่แตกต่างไปจากแนวความคิดเดิมภายใต้ระเบียบการบริหารราชการของไทย ที่มีการรวมศูนย์อำนาจไว้ส่วนกลางในด้านกฎระเบียบวิธีการปฏิบัติ การบริหารบุคคล การบริหารการคลังนั้นได้ใช้กฎเกณฑ์เช่นเดียวกับที่ใช้กับเทศบาลทั่ว ๆ ไปของไทยโดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของเมืองพัทยา เป็นปัญหาด้านตัวแปรระบบย่อยขององค์การ เช่น โครงสร้าง กิจกรรม การบริหารบุคคล การบริหารการคลังและเทคโนโลยีทางการบริหาร การบริหารที่ขาดความเป็นอิสระ และความคล่องตัวในอำนาจการตัดสินใจ ประกอบกับอิทธิพลด้านผลประโยชน์ทางธุรกิจที่มีมากมายในเมืองพัทยาที่เข้ามาเป็นอุปสรรคต่อการบริหาร.
อีกทั้งตัวแปรด้านสภาพแวดล้อมภายนอกของเมืองพัทยา เช่น ด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพที่มั่นคงรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีโครงสร้างที่ไม่เอื้ออำนวยและมีนโยบายแน่ชัดในการประสานงานกับเมืองพัทยา.
จากผลการศึกษา จึงนำไปสู่แนวความคิดในการแสวงหารูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารการพัฒนาเมืองพัทยาโดยอยู่บนฐานคติ ที่ว่าเมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์พิเศษไม่เหมือนท้องถิ่นทั่วไป ดังนั้นรูปแบบการบริหารจึงต้องมีโครงสร้างที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงจากการวิเคราะห์ภายใต้เงื่อนไขของสภาพสังคมปัจจุบัน รูปแบบที่ควรจะเป็นในการบริหารการพัฒนาเมืองพัทยาก็คือ รูปแบบตามแนวความคิดรูปแบบผู้จัดการ โดยมีข้อเสนอในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. รูปแบบการบริหารใช้ตามแนวความคิดรูปแบบผู้จัดการ โดยให้การบริหารการเงินเป็นไปในเชิงธุรกิจ
2. ชื่อตำแหน่ง "นายกเมืองพัทยา" เดิม เปลี่ยนเป็น "ประธานสภาเมืองพัทยา" ชื่อตำแน่ง "ปลัดเมืองพัทยา" เดิม เปลี่ยนเป็น "นายกเมืองพัทยา"
3. ผู้บริหาร (นายกเมืองพัทยา) ให้มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาและเสนอสภาเมืองพัทยาเห็นชอบ และลงนามว่าจ้างโดยประธานสภาเมืองพัทยามีอำนาจการตัดสินใจในการวางนโยบาย การวางแผนพัฒนา การป้องกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายใต้การควบคุมของสภาเมือง.
4. ให้มีคณะกรรมการสรรหานายกเมืองพัทยา ขึ้นมาชุดหนึ่งมีจำนวน 10 คน
5. สมาชิกเมืองพัทยามีจำนวน 24 คน ประกอบด้วยประเภทเลือกตั้ง 16 คนและประเภทแต่งตั้ง 8 คน โดยให้กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกประเภทแต่งตั้งให้ชัดเจนสอดคล้องกับภารกิจของเมืองพัทยา มีอำนาจในการกำหนดนโยบายแผนพัฒนาเมือง การพิจารณาให้สัมปทานแก่เอกชน เข้ามาร่วมในการพัฒนาโดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งการมีอำนาจในการกำหนดเทศบัญญัติ ข้อกำหนด กฎระเบียบการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น และการควบคุมการบริหารงานของนายกเมือง.
6. ให้มีคณะที่ปรึกษาทางวิชาการแก่ผู้บริหาร (นายกเมือง) จำนวน 6 คน
7. ปรับปรุงค่าตอบแทนทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพ และภารกิจที่เป็นจริง.
8. ให้มีตำแหน่ง "ปลัดเมืองพัทยา" ทำหน้าที่หัวหน้าข้าราชการประจำ.
9. การบริหารราชการส่วนกลางต้องกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ให้เมืองพัทยามีอิสระในอำนาจการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายการวางแผนพัฒนาการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการกำหนดกฎระเบียบวิธีปฏิบัติ การบริหารบุคคล การบริหารการคลัง การจัดเก็บภาษีท้องถิ่น ให้มีความคล่องตัวในทางการบริหาร.
10. รัฐบาลต้องมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนการท่องเที่ยวและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ชัดเจน ตลอดทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประสานงานร่วมกัน
11. การบริหารการพัฒนาเมืองพัทยา ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนท้องถิ่นเทศบาลทั่วไป จึงไม่เห็นด้วยในการใช้รูปแบบที่ใช้กับเทศบาลทั่วไป คือ รูปแบบคณะเทศมนตรีและสภามาบริหาร.
ข้อเสนอเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วทันกับสถานการณ์ของปัญหาโดยวิธีการทางรัฐสภา เพื่อเห็นชอบในการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการเมืองพัทยา และต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักการเมืองทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา การแก้ไขจึงจะประสบผลสำเร็จ ถ้าการเสนอได้รับการสนองตอบเช่นนี้แล้ว การบริหารการพัฒนาเมืองพัทยาให้รองรับภารกิจท่องเที่ยวก็จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะหาคำตอบว่า รูปแบบการบริหารที่นำมาใช้นั้นได้ใช้อย่างไร มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคอะไร และรูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารเมืองพัทยาที่แท้จริงนั้นควรจะเป็นอย่างไร.
วิธีการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์เนื้อหาเป็นหลัก โดยการออกเก็บข้อมูล และสังเกตการณ์ด้วยตนเองทั้งหมด จากกลุ่มตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงทั้งในระดับกำหนดนโยบายบริหาร และปฏิบัติการจากกระทรวงมหาดไทย จังหวัดชลบุรี เมืองพัทยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอดีตผู้บริหารเมืองพัทยา ผู้เกี่ยวข้องในการจัดตั้งการปกครองรูปแบบพิเศษที่พัทยา นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และนักท่องเที่ยว.
ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบการบริหารที่นำมาใช้กับเมืองพัทยานั้นได้นำมาใช้ในลักษณะที่แตกต่างไปจากแนวความคิดเดิมภายใต้ระเบียบการบริหารราชการของไทย ที่มีการรวมศูนย์อำนาจไว้ส่วนกลางในด้านกฎระเบียบวิธีการปฏิบัติ การบริหารบุคคล การบริหารการคลังนั้นได้ใช้กฎเกณฑ์เช่นเดียวกับที่ใช้กับเทศบาลทั่ว ๆ ไปของไทยโดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของเมืองพัทยา เป็นปัญหาด้านตัวแปรระบบย่อยขององค์การ เช่น โครงสร้าง กิจกรรม การบริหารบุคคล การบริหารการคลังและเทคโนโลยีทางการบริหาร การบริหารที่ขาดความเป็นอิสระ และความคล่องตัวในอำนาจการตัดสินใจ ประกอบกับอิทธิพลด้านผลประโยชน์ทางธุรกิจที่มีมากมายในเมืองพัทยาที่เข้ามาเป็นอุปสรรคต่อการบริหาร.
อีกทั้งตัวแปรด้านสภาพแวดล้อมภายนอกของเมืองพัทยา เช่น ด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพที่มั่นคงรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีโครงสร้างที่ไม่เอื้ออำนวยและมีนโยบายแน่ชัดในการประสานงานกับเมืองพัทยา.
จากผลการศึกษา จึงนำไปสู่แนวความคิดในการแสวงหารูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารการพัฒนาเมืองพัทยาโดยอยู่บนฐานคติ ที่ว่าเมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์พิเศษไม่เหมือนท้องถิ่นทั่วไป ดังนั้นรูปแบบการบริหารจึงต้องมีโครงสร้างที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงจากการวิเคราะห์ภายใต้เงื่อนไขของสภาพสังคมปัจจุบัน รูปแบบที่ควรจะเป็นในการบริหารการพัฒนาเมืองพัทยาก็คือ รูปแบบตามแนวความคิดรูปแบบผู้จัดการ โดยมีข้อเสนอในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. รูปแบบการบริหารใช้ตามแนวความคิดรูปแบบผู้จัดการ โดยให้การบริหารการเงินเป็นไปในเชิงธุรกิจ
2. ชื่อตำแหน่ง "นายกเมืองพัทยา" เดิม เปลี่ยนเป็น "ประธานสภาเมืองพัทยา" ชื่อตำแน่ง "ปลัดเมืองพัทยา" เดิม เปลี่ยนเป็น "นายกเมืองพัทยา"
3. ผู้บริหาร (นายกเมืองพัทยา) ให้มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาและเสนอสภาเมืองพัทยาเห็นชอบ และลงนามว่าจ้างโดยประธานสภาเมืองพัทยามีอำนาจการตัดสินใจในการวางนโยบาย การวางแผนพัฒนา การป้องกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายใต้การควบคุมของสภาเมือง.
4. ให้มีคณะกรรมการสรรหานายกเมืองพัทยา ขึ้นมาชุดหนึ่งมีจำนวน 10 คน
5. สมาชิกเมืองพัทยามีจำนวน 24 คน ประกอบด้วยประเภทเลือกตั้ง 16 คนและประเภทแต่งตั้ง 8 คน โดยให้กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกประเภทแต่งตั้งให้ชัดเจนสอดคล้องกับภารกิจของเมืองพัทยา มีอำนาจในการกำหนดนโยบายแผนพัฒนาเมือง การพิจารณาให้สัมปทานแก่เอกชน เข้ามาร่วมในการพัฒนาโดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งการมีอำนาจในการกำหนดเทศบัญญัติ ข้อกำหนด กฎระเบียบการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น และการควบคุมการบริหารงานของนายกเมือง.
6. ให้มีคณะที่ปรึกษาทางวิชาการแก่ผู้บริหาร (นายกเมือง) จำนวน 6 คน
7. ปรับปรุงค่าตอบแทนทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพ และภารกิจที่เป็นจริง.
8. ให้มีตำแหน่ง "ปลัดเมืองพัทยา" ทำหน้าที่หัวหน้าข้าราชการประจำ.
9. การบริหารราชการส่วนกลางต้องกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ให้เมืองพัทยามีอิสระในอำนาจการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายการวางแผนพัฒนาการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการกำหนดกฎระเบียบวิธีปฏิบัติ การบริหารบุคคล การบริหารการคลัง การจัดเก็บภาษีท้องถิ่น ให้มีความคล่องตัวในทางการบริหาร.
10. รัฐบาลต้องมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนการท่องเที่ยวและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ชัดเจน ตลอดทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประสานงานร่วมกัน
11. การบริหารการพัฒนาเมืองพัทยา ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนท้องถิ่นเทศบาลทั่วไป จึงไม่เห็นด้วยในการใช้รูปแบบที่ใช้กับเทศบาลทั่วไป คือ รูปแบบคณะเทศมนตรีและสภามาบริหาร.
ข้อเสนอเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วทันกับสถานการณ์ของปัญหาโดยวิธีการทางรัฐสภา เพื่อเห็นชอบในการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการเมืองพัทยา และต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักการเมืองทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา การแก้ไขจึงจะประสบผลสำเร็จ ถ้าการเสนอได้รับการสนองตอบเช่นนี้แล้ว การบริหารการพัฒนาเมืองพัทยาให้รองรับภารกิจท่องเที่ยวก็จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.