การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะเชิงประจักษ์ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายการประถมศึกษาของไทย (พ.ศ. 2523-2527)
Publisher
Issued Date
1988
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[ก]-ถ, [298] แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (1988). การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะเชิงประจักษ์ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายการประถมศึกษาของไทย (พ.ศ. 2523-2527). Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/909.
Title
การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะเชิงประจักษ์ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายการประถมศึกษาของไทย (พ.ศ. 2523-2527)
Alternative Title(s)
An empirical model of public policy analysis : a case study of determinant factors affecting Thai education policy at the primary level (1980-1984)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาปัจจัยกำหนดที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายและผลของนโยบายการประถมศึกษาของไทย เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์โดยใช้แนวคิดเชิงระบบเป็นกรอบใหญ่ในการวิเคราะห์ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดนโยบายการประถมศึกษาของไทยกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดนโยบายการประถมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและการสนับสนุนของประชาชนในท้องถิ่น ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชน ความเป็นเมือง และความเป็นอุตสาหกรรม เป็นดัชนีในการวัดปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม และกำหนดให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนเป็นดัชนีวัดปัจจัยทางการเมือง ส่วนนโยบายการประถมศึกษาทำการวัดด้วยปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพการเรียนการสอน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อนักเรียน เงินเดือนเฉลี่ยของครู วุฒิครู และอัตราส่วนนักเรียนต่อครู สำหรับผลของนโยบายการประถมศึกษาทำการวัดด้วยอัตราส่วนนักเรียนเหลือรอด อัตราส่วนนักเรียนเรียนต่อชั้น ม.1 และอัตราส่วนนักเรียนในบัญชีโรงเรียน ทั้งนี้โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิระดับจังหวัดเป็นฐานในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ดังกล่าววิเคราะห์ด้วยเทคนิคสหสัมพันธ์ ทั้งสหสัมพันธ์แบบง่ายและสหสัมพันธ์บางส่วน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พร้อมด้วยการวิเคราะห์แคนนอนิคอล เพื่อตรวจสอบความแกร่งของความสัมพันธ์ดังกล่าว.
อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาครั้งนี้แม้ว่าจุดมุ่งหมายหลักจะเป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ก็ตาม แต่เพื่อให้การศึกษามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นพื้นฐานของการศึกษาเชิงประจักษ์ไว้ด้วย โดยทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารการประถมศึกษาระดับต่าง ๆ ทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับกลุ่มโรงเรียน แนวทางการสัมภาษณ์เกี่ยวข้องกับกระบวนการกำหนดนโยบายและการจัดสรรงบประมาณ เพื่อตรวจสอบว่าการกำหนดนโยบายและการจัดสรรงบประมาณมีความสัมพันธ์อย่างไรบ้างกับปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความต้องการและการสนับสนุนของประชาชนในท้องถิ่น ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ นอกจากระดับชาติซึ่งเลือกสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นประชากรตัวอย่างแล้ว ในระดับอื่น ๆ ได้ทำการคัดเลือกจากจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพิจารณาจากความแตกต่างทางฐานะเศรษฐกิจระหว่างระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูงเป็นเกณฑ์ พร้อมทั้งพิจารณาที่ตั้งของจังหวัดที่เลือกเป็นประชากรตัวอย่างให้มีลักษณะกระจายครอบคลุมพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือก คือ จังหวัดนครราชสีมา สกลนคร และศรีสะเกษ ซี่งเป็นตัวแทนจังหวัดที่มีฐานะทางเศรษฐกิจระดับสูง กลาง และต่ำ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพแสดงให้เห็นว่า การกำหนดนโยบายการประถมศึกษาของไทยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างน่าสนใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ต่อไป ผลการวิเคราะห์เชิงประจักษ์พบว่า.
1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม มีบทบาทสำคัญในการอธิบายผลของนโยบายการประถมศึกษา โดยเฉพาะรายได้มีอิทธิพลโดยอิสระต่ออัตราส่วนนักเรียนเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
2. ปัจจัยทางการเมือง ได้แก่ การมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่สามารถอธิบายหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลของนโยบายการประถมศึกษาไม่ว่าในมิติใดทั้งสิ้น
3. นโยบายการประถมศึกษามีบทบาทสำคัญในการอธิบายผลของนโยบายการประถมศึกษา โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อนักเรียนและอัตราส่วนนักเรียนต่อครู มีอิทธิพลโดยอิสระต่ออัตราส่วนนักเรียนในบัญชีโรงเรียน และเงินเดือนเฉลี่ยของครูและวุฒิครูมีอิทธิพลโดยอิสระต่ออัตราส่วนนักเรียนเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
4. ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมมีบทบาทสำคัญในการอธิบายนโยบายการประถมศึกษา โดยตัวแปรทุกตัวในปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมมีน้ำหนักในการอธิบายตัวแปรทุกตัวในชุดนโยบายการประถมศึกษาได้โดยอิสระ ยกเว้นตัวแปรรายได้กับตัวแปรอัตราส่วนนักเรียนต่อครู
5. ปัจจัยทางการเมือง ได้แก่ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สามารถอธิบายนโยายการประถมศึกษาในมิติเงินเดือนเฉลี่ยของครู และวุฒิครู ได้โดยอิสระ
6. ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม มีความสัมพันธ์ต่ำกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
7. นโยบายการประถมศึกษาทั้งชุดสามารถอธิบายผลของนโยบายการประถมศึกษาได้สูงกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าทฤษฎีระบบที่ใช้เป็นกรอบในการศึกษาสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดนโยบายการประถมศึกษากับสภาพแวดล้อมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ได้อย่างชัดเจน และผู้วิจัยได้เสนอตัวแบบสำหรับวิเคราะห์นโยบายการประถมศึกษาของไทยที่เป็นผลจากการค้นพบในครั้งนี้ไว้ในวิทยานิพนธ์นี้ด้วย.
อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาครั้งนี้แม้ว่าจุดมุ่งหมายหลักจะเป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ก็ตาม แต่เพื่อให้การศึกษามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นพื้นฐานของการศึกษาเชิงประจักษ์ไว้ด้วย โดยทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารการประถมศึกษาระดับต่าง ๆ ทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับกลุ่มโรงเรียน แนวทางการสัมภาษณ์เกี่ยวข้องกับกระบวนการกำหนดนโยบายและการจัดสรรงบประมาณ เพื่อตรวจสอบว่าการกำหนดนโยบายและการจัดสรรงบประมาณมีความสัมพันธ์อย่างไรบ้างกับปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความต้องการและการสนับสนุนของประชาชนในท้องถิ่น ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ นอกจากระดับชาติซึ่งเลือกสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นประชากรตัวอย่างแล้ว ในระดับอื่น ๆ ได้ทำการคัดเลือกจากจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพิจารณาจากความแตกต่างทางฐานะเศรษฐกิจระหว่างระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูงเป็นเกณฑ์ พร้อมทั้งพิจารณาที่ตั้งของจังหวัดที่เลือกเป็นประชากรตัวอย่างให้มีลักษณะกระจายครอบคลุมพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือก คือ จังหวัดนครราชสีมา สกลนคร และศรีสะเกษ ซี่งเป็นตัวแทนจังหวัดที่มีฐานะทางเศรษฐกิจระดับสูง กลาง และต่ำ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพแสดงให้เห็นว่า การกำหนดนโยบายการประถมศึกษาของไทยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างน่าสนใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ต่อไป ผลการวิเคราะห์เชิงประจักษ์พบว่า.
1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม มีบทบาทสำคัญในการอธิบายผลของนโยบายการประถมศึกษา โดยเฉพาะรายได้มีอิทธิพลโดยอิสระต่ออัตราส่วนนักเรียนเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
2. ปัจจัยทางการเมือง ได้แก่ การมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่สามารถอธิบายหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลของนโยบายการประถมศึกษาไม่ว่าในมิติใดทั้งสิ้น
3. นโยบายการประถมศึกษามีบทบาทสำคัญในการอธิบายผลของนโยบายการประถมศึกษา โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อนักเรียนและอัตราส่วนนักเรียนต่อครู มีอิทธิพลโดยอิสระต่ออัตราส่วนนักเรียนในบัญชีโรงเรียน และเงินเดือนเฉลี่ยของครูและวุฒิครูมีอิทธิพลโดยอิสระต่ออัตราส่วนนักเรียนเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
4. ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมมีบทบาทสำคัญในการอธิบายนโยบายการประถมศึกษา โดยตัวแปรทุกตัวในปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมมีน้ำหนักในการอธิบายตัวแปรทุกตัวในชุดนโยบายการประถมศึกษาได้โดยอิสระ ยกเว้นตัวแปรรายได้กับตัวแปรอัตราส่วนนักเรียนต่อครู
5. ปัจจัยทางการเมือง ได้แก่ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สามารถอธิบายนโยายการประถมศึกษาในมิติเงินเดือนเฉลี่ยของครู และวุฒิครู ได้โดยอิสระ
6. ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม มีความสัมพันธ์ต่ำกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
7. นโยบายการประถมศึกษาทั้งชุดสามารถอธิบายผลของนโยบายการประถมศึกษาได้สูงกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าทฤษฎีระบบที่ใช้เป็นกรอบในการศึกษาสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดนโยบายการประถมศึกษากับสภาพแวดล้อมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ได้อย่างชัดเจน และผู้วิจัยได้เสนอตัวแบบสำหรับวิเคราะห์นโยบายการประถมศึกษาของไทยที่เป็นผลจากการค้นพบในครั้งนี้ไว้ในวิทยานิพนธ์นี้ด้วย.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2531.