การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย
Publisher
Issued Date
1996
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ธ, 344 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุรพร เสี้ยนสลาย (1996). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/910.
Title
การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย
Alternative Title(s)
The analysis of factors affecting public policy implementation : a case study of the agricultural land reform policy in Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ประเทศไทยได้เริ่มนำนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2518 เพื่อสนองตอบต่อสภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในขณะนั้น มีการจัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ขึ้นมาทำหน้าที่ในการจัดซื้อและเวนคืนที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อนำมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรเป้าหมายต่อไป ดังนั้นผลการจัดซื้อและเวนคืนที่ดินและผลการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร จึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จของการนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติ / วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการพยายามศึกษากระบวนการนำนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปปฏิบัติ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการนำโยบายไปปฏิบัติในบริบทของระบบราชการและสังคมไทย รูปแบบการวิจัยที่นำมาใช้ คือ วิธีการศึกษาเฉพาะกรณีในภาพรวมหลายพื้นที่ โดยได้ทำการศึกษากระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติในช่วงเวลา 17 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2535 ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่ดำเนินการปฏิบัติที่ดินใน 5 จังหวัดที่เป็นจังหวัดที่มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินในที่ดินเอกชนเป็นหลัก มาเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการศึกษา คือ จังหวัดปทุมธานี นครนายก ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดนครปฐม ผู้จัยได้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบกับการสังเกตเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บและรวบรวมข้อมูลในการวิจัย.
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การนำนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปปฏิบัติ โดยเฉพาะในส่วนของงานจัดซื้อที่ดินเอกชนเพื่อนำมาจัดให้แก่เกษตรกรไม่ประสบความสำเร็จ โดยพิจารณาจากพื้นที่ที่สามารถดำเนินการจัดซื้อได้และจัดสรรให้แก่เกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรอิสระจำนวน 6 ตัวแปร (การสนับสนุนทางการเมืองต่อนโยบาย บทบาทของตัวการสำคัญ ความผูกพันต่อนโยบายของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติความชัดเจนของนโยบาย ความเหมาะสมของวิธีการทำงานที่นำมาใช้ ความเหมาะสมของราคาประเมินที่ดิน) และตัวแปรแทรกซ้อนอีก 2 ตัวแปรคือ (ความพึงพอใจขายที่ดินของเจ้าของที่ดิน การขยายตัวของงานปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความไม่สำเร็จของนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปฏิบัติ / การศึกษาวิจัยนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในครั้งนี้ เป็นเพียงความพยายามส่วนหนึ่งที่จะทำการศึกษากระบวนการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในสังคมไทย ในเชิงวิชาการกล่าวได้ว่าผลงานวิจัยนี้ ทำให้มีผลงานการศึกษาการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบเพิ่มขึ้นอีกชิ้นหนึ่ง ในเชิงปฏิบัติการ การวิจัยในครั้งนี้ ได้ให้ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับระบบการปฏิบัติงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายประการ นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะหัวข้อการวิจัยที่น่าสนใจในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมไว้อีกจำนวนหนึ่งด้วย.
The Agricultural Land Reform policy has been launched in Thailand since 1975 in response to the contemporary socio-politico-economic situations. To implement the policy, the government's Agricultural Land Reform Office (ALRO) is responsible for the land purchasing or the expropriation and then distributing them to the qualified farmers. Consequently, the extent to which the ALRO have been acquired and distributed the reformed land certainly serves as the main indicator of the successful implementation of the policy. / The dissertation is an attempt to study the implementation of the land reform policy. The main objective is to examine and assess a number of factors accounted for the performance of the implementation. The "multiple case (holistic) design" is the case-study method employed as a research strategy in the study. The land reform implementation process under study covers seventeen-year period after the inception of the program (1975-1992). The land reform sites in 5 provinces where the reform activites has been actively undertaken are selected as the area of concentration. These 5 provinces include Patum-Thani, Phra Nakorn Sri Ayutthaya, Na Korn Nayok, Cha-Cheng Sao and Nakorn Patom. Also, extensive documentary reseach and serveral in-depth interviews have also been conducted in addition to the observation. As the result of the research indicates, the implementation of the land reform policy, with particular regards to the purchased-land section, can be considered as unsuccessful in terms of the volume and magnitude of the land undergone the actual reform process. Six independent variables (the political support to the policy, the role of the policy's key actors; the commitment of the implementors; the clarity; the characteristics of the operating procedures; and limitation of the offcial pricing system of the land to purchase.) and 2 intervening variables (the land owners' inclination to sell their land; and the rapid expansion of reform scheme on the public land.) are found to apparently affect the policy implementation under study. / In conclusion this analytical study of the land reform is just an aspect of a much broader context of public policy implementation in Thailand. In terms of academic contribution, it certainly adds to the existing body of local literature of systematic implementation studies. Moreover, the study also contains some application values as it enhances the more comprehensive and intensive insights into the practical system of local land reform policy. Also it does suggest certain prospective research topics regarding some specific variables to the explored in greater details in the future.
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การนำนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปปฏิบัติ โดยเฉพาะในส่วนของงานจัดซื้อที่ดินเอกชนเพื่อนำมาจัดให้แก่เกษตรกรไม่ประสบความสำเร็จ โดยพิจารณาจากพื้นที่ที่สามารถดำเนินการจัดซื้อได้และจัดสรรให้แก่เกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรอิสระจำนวน 6 ตัวแปร (การสนับสนุนทางการเมืองต่อนโยบาย บทบาทของตัวการสำคัญ ความผูกพันต่อนโยบายของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติความชัดเจนของนโยบาย ความเหมาะสมของวิธีการทำงานที่นำมาใช้ ความเหมาะสมของราคาประเมินที่ดิน) และตัวแปรแทรกซ้อนอีก 2 ตัวแปรคือ (ความพึงพอใจขายที่ดินของเจ้าของที่ดิน การขยายตัวของงานปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความไม่สำเร็จของนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปฏิบัติ / การศึกษาวิจัยนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในครั้งนี้ เป็นเพียงความพยายามส่วนหนึ่งที่จะทำการศึกษากระบวนการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในสังคมไทย ในเชิงวิชาการกล่าวได้ว่าผลงานวิจัยนี้ ทำให้มีผลงานการศึกษาการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบเพิ่มขึ้นอีกชิ้นหนึ่ง ในเชิงปฏิบัติการ การวิจัยในครั้งนี้ ได้ให้ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับระบบการปฏิบัติงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายประการ นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะหัวข้อการวิจัยที่น่าสนใจในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมไว้อีกจำนวนหนึ่งด้วย.
The Agricultural Land Reform policy has been launched in Thailand since 1975 in response to the contemporary socio-politico-economic situations. To implement the policy, the government's Agricultural Land Reform Office (ALRO) is responsible for the land purchasing or the expropriation and then distributing them to the qualified farmers. Consequently, the extent to which the ALRO have been acquired and distributed the reformed land certainly serves as the main indicator of the successful implementation of the policy. / The dissertation is an attempt to study the implementation of the land reform policy. The main objective is to examine and assess a number of factors accounted for the performance of the implementation. The "multiple case (holistic) design" is the case-study method employed as a research strategy in the study. The land reform implementation process under study covers seventeen-year period after the inception of the program (1975-1992). The land reform sites in 5 provinces where the reform activites has been actively undertaken are selected as the area of concentration. These 5 provinces include Patum-Thani, Phra Nakorn Sri Ayutthaya, Na Korn Nayok, Cha-Cheng Sao and Nakorn Patom. Also, extensive documentary reseach and serveral in-depth interviews have also been conducted in addition to the observation. As the result of the research indicates, the implementation of the land reform policy, with particular regards to the purchased-land section, can be considered as unsuccessful in terms of the volume and magnitude of the land undergone the actual reform process. Six independent variables (the political support to the policy, the role of the policy's key actors; the commitment of the implementors; the clarity; the characteristics of the operating procedures; and limitation of the offcial pricing system of the land to purchase.) and 2 intervening variables (the land owners' inclination to sell their land; and the rapid expansion of reform scheme on the public land.) are found to apparently affect the policy implementation under study. / In conclusion this analytical study of the land reform is just an aspect of a much broader context of public policy implementation in Thailand. In terms of academic contribution, it certainly adds to the existing body of local literature of systematic implementation studies. Moreover, the study also contains some application values as it enhances the more comprehensive and intensive insights into the practical system of local land reform policy. Also it does suggest certain prospective research topics regarding some specific variables to the explored in greater details in the future.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2539.