• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะองค์การกับประสิทธิผลขององค์การภาครัฐบาลในการบริหารราชการไทย

by กิ่งพร ทองใบ

Title:

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะองค์การกับประสิทธิผลขององค์การภาครัฐบาลในการบริหารราชการไทย

Other title(s):

The relations between organization characteristics and organizational effectiveness of public sector in Thai bureaucracy

Author(s):

กิ่งพร ทองใบ

Advisor:

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาเอก

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนา

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1990

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ประสิทธิผลขององค์การ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากทั้งในวงวิชาการด้านการบริหารและวงวิชาชีพ โดยเฉพาะกับการพัฒนาประเทศเท่าที่ปรากฏมา การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะองค์การกับประสิทธิผลขององค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบบริหารราชการของไทยเป็นเรื่องที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อนอย่างจริงจัง วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาโดยการวัดและประเมินประสิทธิผลขององค์การภาครัฐบาลในระดับการบริการราชการส่วนกลาง และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะองค์การ เพื่อศึกษาดูว่า ปัจจัยลักษณะองค์การปัจจัยใดมีอิทธิพลส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การ และในจำนวนปัจจัยดังกล่าวปัจจัยใดส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลขององค์การมากที่สุด และมีน้ำหนักในการอธิบายประสิทธิผลขององค์การเท่าใด ประเด็นเหล่านี้เป็นจุดสนใจและเป็นที่มาของการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะองค์การและประสิทธิผลขององค์การในการบริหารราชการไทย ผลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นองค์ความรู้ทางการบริหารการพัฒนาในประเทศไทย และเป็นประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป.
เนื่องจากลักษณะองค์การของระบบราชการมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ดังนั้นการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ จะได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะองค์การกับประสิทธิผลขององค์การ โดยมีสมมติฐานว่า ปัจจัยลักษณะองค์การมีอำนาจในการอธิบายประสิทธิผลขององค์การ องค์การหรือหน่วยศึกษาได้แก่ หน่วยงานราชการระดับกรมจำนวน 68 กรม ใน 11 กระทรวง ปัจจัยลักษณะองค์การที่ทำการศึกษาแบ่งเป็น 3 มิติคือ โครงสร้างองค์การ การจัดรูปแบบองค์การ และกลยุทธ์ทางการบริหาร ตัวแปรโครงสร้างองค์การแบ่งได้เป็น 3 มิติย่อย คือ ความซับซ้อน ความเป็นทางการ และการรวมอำนาจ ตัวแปรการจัดรูปแบบองค์การแบ่งตามแนวคิดของมินซ์เบอร์ก ส่วนตัวแปรกลยุทธ์ทางการบริหารแบ่งเป็น 6 มิติย่อยคือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการตัดสินใจ การลดความไม่แน่นอน การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารความขัดแย้ง ระดับวัฒนธรรมองค์การ และการเจริญเติบโตขององค์การ สำหรับประสิทธิผลขององค์การ แบ่งเป็น 2 มิติย่อย คือ ประสิทธิผลการใช้งบประมาณ และประสิทธิผลภายในองค์การ.
การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัดที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคสัมประสิทธิ์อัลฟา ซึ่งปรากฏว่า มาตรวัดที่มีขนาดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาตั้งแต่ 0.850 ขึ้นไป ได้แก่ มาตรวัดการรวมอำนาจ มาตรวัดที่มีขนาดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาเท่ากับ 0.750-0849 มาตรวัดรูปแบบการจัดองค์การ มาตรวัดวัฒนธรรมองค์การ มาตรวัดระดับความเป็นทางการ มาตรวัดที่มีขนาดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาตั้งแต่ 0.500 ถึง 0.629 ได้แก่ มาตรวัดระดับความซับซ้อน มาตรวัดการบริหารความขัดแย้ง มาตรวัดการบริหารการเปลี่ยนแปลง มาตรวัดประสิทธิผลการใช้งบประมาณ และมาตรวัดประสิทธิผลภายใน 0.630-0.749 ได้แก่ มาตรวัดระดับเทคโนโลยีการตัดสินใจ มาตรวัดวัฒนธรรมองค์การ มาตรวัดระดับความเป็นทางการ มาตรวัดระดับเทคโนโลยีการตัดสินใจ มาตรวัดการบริหารความไม่แน่นอน สำหรับมาตรวัดที่มีขนาดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ มาตรวัดการเจริญเติบโตขององค์การ ซึ่งมีขนาดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาเพียง 0.366 ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจากมาตรวัดนี้จึงกระทำเป็นรายข้อ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรความซับซ้อนของโครงสร้างองค์การสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงในประสิทธิผลการใช้งบประมาณ และประสิทธิผลรวมขององค์การได้ร้อยละ 42 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับอัลฟาเท่ากับ 0.05 ตัวแปรลักษณะองค์การทุกมิติย่อยรวมกัน (9 ตัวแปร) สามารถอธิบายประสิทธิผลการใช้งบประมาณ ประสิทธิผลภายใน และประสิทธิผลรวมขององค์การได้ร้อยละ 45, 23 และ 50 ตามลำดับ ทั้งนี้โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับอัลฟาเท่ากับ 0.05 สำหรับตัวแปรการจัดรูปแบบองค์การได้ทำการวิเคราะห์โดยการแบ่งชุดข้อมูล นำผลการวิเคราะห์มาทดสอบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง ซึ่งพบว่าตัวแปรการจัดรูปแบบองค์การไม่มีอิทธิพลในการอธิบายประสิทธิผลขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อค้นพบทั่วไปและข้อค้นพบทางสมมติฐานจากวิทยานิพนธ์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการบริหารงานของระบบราชการให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานราชการควรเน้นที่การลดระดับความซับซ้อนทางโครงสร้างองค์การ โดยการกำหนดจำนวนมาตรฐานของตำแหน่งในสายงานหลัก การกำหนดมาตรฐานการแบ่งส่วนราชการภายใน จำนวนรองอธิบดีและการกำหนดความสัมพันธ์ของหน่วยราชการสังกัดกรมที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค สำหรับด้านกลยุทธ์ทางการบริหารควรเน้นที่การชลอการขยายตัวของหน่วยราชการ และการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์การซึ่งยึดหลักความสามารถเป็นสำคัญ

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2533.

Subject(s):

องค์การ
การพัฒนาองค์การ -- ไทย

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

ก-ฐ, 247 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/917
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-diss-b7394ab.pdf ( 169.88 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-diss-b7394.pdf ( 3,997.12 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Dissertations [410]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×