ระบบราชการไทยกับทัศนคติและพฤติกรรมของข้าราชการด้านการพัฒนาชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข
Publisher
Issued Date
1992
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฐ, 188 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ประยงค์ เต็มชวาลา (1992). ระบบราชการไทยกับทัศนคติและพฤติกรรมของข้าราชการด้านการพัฒนาชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/929.
Title
ระบบราชการไทยกับทัศนคติและพฤติกรรมของข้าราชการด้านการพัฒนาชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข
Alternative Title(s)
Thai bureaucratic organization, government officials' behavior & attitudes toward rural development : a case study of the Ministry of Public Health
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยในกรณีนี้ เป็นความพยายามที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าองค์การระบบราชการ จะมีส่วนสัมพันธ์เชิงเหตุเชิงผลอย่างไรบ้างกับความสำเร็จหรือล้มเหลวของการพัฒนาชนบทไทย กรอบแนวความคิดสำหรับการวิจัยในที่นี้คือ ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำนโยบายการพัฒนาชนบทไปสู่การปฏิบัตินั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของข้าราชการในการบริหารการพัฒนาชนบท ทั้งนี้การศึกษาถึงศักยภาพขององค์การระบบราชการ รวมทั้งทิศทางและแนวโน้มพฤติกรรมของข้าราชการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะขึ้นอยู่กับทัศนคติของข้าราชการที่มีต่อการบริหารการพัฒนาชนบทด้วย.
ผลการวิจัยครั้งนี้ได้พิสูจน์ยืนยันอย่างชัดเจนว่า องค์การระบบราชการนับเป็นกลไกที่มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารการพัฒนาชนบทของประเทศ การนำนโยบายการพัฒนาชนบทไปสู่การปฏิบัติจะประสบกับความสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับองค์การระบบราชการเป็นสำคัญ ซึ่งจะครอบคลุมตัวแปรทั้งในด้านโครงสร้างองค์การ ระบบและกระบวนการบริหารจัดการและตัวบุคคลที่เป็นข้าราชการ งานวิจัยครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ความสำเร็จของการพัฒนาชนบทไทยได้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเกี่ยวกับภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของข้าราชการมากกว่า ด้านโครงสร้างองค์การหรือระบบและกระบวนการบริหารจัดการขององค์การ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ภายใต้โครงสร้างองค์การและกระบวนการบริหารจัดการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เอื้อต่อสัมฤทธิผลของการพัฒนาชนบทเท่าที่พึงจะเป็น
ข้อค้นพบที่สำคัญที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้คือ ภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของข้าราชการนั้นสามารถอธิบาย หรือบ่งบอกถึงคุณลักษณะสำคัญพื้นฐานของข้าราชการที่น่าจะก่อให้เกิดสัมฤทธิผลของการบริหารการพัฒนาชนบทไทย ปัจจัยภูมิหลังที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นผู้ที่ยังครองความเป็นโสด บิดา-มารดามีเชื้อชาติไทยและมีอาชีพรับราชการมาก่อน การเป็นผู้มีภูมิลำเนาถิ่นเกิดในชนบทหรือนอกเขตกรุงเทพมหานคร การมีอาวุโสทางอายุและอัตราเงินเดือนแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงเสมอไป ข้อค้นพบอื่น ๆ นำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ว่านอกเหนือจากการสรรหาและพัฒนาข้าราชการให้มีคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว การพัฒนาสมรรถภาพทางการบริหารและการปฏิรูปโครงสร้างองค์การระบบราชการไทย ยังเป็นสิ่งจำเป็นและพึงกระทำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะระบบการกระจายอำนาจ และการลดลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชา เน้นการแบ่งแยกงานกันทำอย่างเหมาะสม และเพิ่มความมีเหตุมีผลให้กับองค์การระบบราชการ ขณะเดียวกันการลดกฎเกณฑ์และระเบียบทางราชการ รวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เป็นสิ่งที่สมควรกระทำโดยเร่งด่วนต่อไป.
ผลการวิจัยครั้งนี้ได้พิสูจน์ยืนยันอย่างชัดเจนว่า องค์การระบบราชการนับเป็นกลไกที่มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารการพัฒนาชนบทของประเทศ การนำนโยบายการพัฒนาชนบทไปสู่การปฏิบัติจะประสบกับความสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับองค์การระบบราชการเป็นสำคัญ ซึ่งจะครอบคลุมตัวแปรทั้งในด้านโครงสร้างองค์การ ระบบและกระบวนการบริหารจัดการและตัวบุคคลที่เป็นข้าราชการ งานวิจัยครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ความสำเร็จของการพัฒนาชนบทไทยได้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเกี่ยวกับภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของข้าราชการมากกว่า ด้านโครงสร้างองค์การหรือระบบและกระบวนการบริหารจัดการขององค์การ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ภายใต้โครงสร้างองค์การและกระบวนการบริหารจัดการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เอื้อต่อสัมฤทธิผลของการพัฒนาชนบทเท่าที่พึงจะเป็น
ข้อค้นพบที่สำคัญที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้คือ ภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของข้าราชการนั้นสามารถอธิบาย หรือบ่งบอกถึงคุณลักษณะสำคัญพื้นฐานของข้าราชการที่น่าจะก่อให้เกิดสัมฤทธิผลของการบริหารการพัฒนาชนบทไทย ปัจจัยภูมิหลังที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นผู้ที่ยังครองความเป็นโสด บิดา-มารดามีเชื้อชาติไทยและมีอาชีพรับราชการมาก่อน การเป็นผู้มีภูมิลำเนาถิ่นเกิดในชนบทหรือนอกเขตกรุงเทพมหานคร การมีอาวุโสทางอายุและอัตราเงินเดือนแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงเสมอไป ข้อค้นพบอื่น ๆ นำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ว่านอกเหนือจากการสรรหาและพัฒนาข้าราชการให้มีคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว การพัฒนาสมรรถภาพทางการบริหารและการปฏิรูปโครงสร้างองค์การระบบราชการไทย ยังเป็นสิ่งจำเป็นและพึงกระทำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะระบบการกระจายอำนาจ และการลดลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชา เน้นการแบ่งแยกงานกันทำอย่างเหมาะสม และเพิ่มความมีเหตุมีผลให้กับองค์การระบบราชการ ขณะเดียวกันการลดกฎเกณฑ์และระเบียบทางราชการ รวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เป็นสิ่งที่สมควรกระทำโดยเร่งด่วนต่อไป.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ด.(การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2535.