สื่อเพื่อการบริหารการพัฒนา : กรณีการจัดตั้งศูนย์วีดีโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ศาลาอีสานเขียว
Publisher
Issued Date
1990
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
107 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สมาน งามสนิท (1990). สื่อเพื่อการบริหารการพัฒนา : กรณีการจัดตั้งศูนย์วีดีโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ศาลาอีสานเขียว. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/931.
Title
สื่อเพื่อการบริหารการพัฒนา : กรณีการจัดตั้งศูนย์วีดีโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ศาลาอีสานเขียว
Alternative Title(s)
Media for development administration : a case for videotape center to improve the quality of life in Green E-san public ball
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์เรื่อง "สื่อเพื่อการบริหารการพัฒนา : กรณีการจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในที่ศาลาอีสานเขียว" นี้ เป็นการขยายการศึกษาต่อจากการที่โครงการอีสานเขียวได้สร้างศาลาอีสานเขียวไว้ในหมู่บ้านเป้าหมาย โครงการศาลาอีสานเขียวนั้นเมื่อได้สร้างศาลาอีสานเขียวเสร็จแล้วยังไม่มีกำหนดการใช้สอยประโยชน์ของศาลาอีสานเขียวให้ชัดเจนแต่อย่างไร การศึกษานี้จึงศึกษาเพื่อจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทปขึ้นที่ศาลาอีสานเขียว เพื่อเป็นศูนย์รวมความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ และ เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับนักบริหารการพัฒนาจะได้ใช้ในการบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมชนบท ทั้งนี้เพราะว่าศูนย์วีดิโอเทปที่จัดตั้งขึ้นไว้ที่ศาลาอีสานเขียวนี้จะเป็นศูนย์รวมความรู้ใหม่ ๆ เพื่อชาวบ้านจะได้ใช้เป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและอาชีพเสริมของตน ประเด็นสำคัญที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ความรู้และการเข้ามีส่วนร่วมโครงการอีสานเขียวและโครงการศาลาอีสานเขียว การใช้ประโยชน์ศาลาอีสานเขียว การเปิดรับสื่อมวลชนประเภทของรายการที่เปิดรับ สถานที่เปิดรับ การมีเครื่องรับสื่อมวลชน ความต้องการความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและอาชีพเสริม ความต้องการและความเชื่อมั่นศูนย์วีดิโอเทป ตลอดจนความเต็มใจที่จะบริจาคเงินส่วนตัวเพื่อร่วมจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทปที่ศาลาอีสานเขียวในกรณีที่ไม่มีความช่วยเหลือจากภายนอกชุมชนและความยินดีที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ศูนย์วีดิโอเทป และประเภทของเทปความรู้ที่ต้องการ และวิทยานิพนธ์นี้มุ่งหวังให้เป็นคู่มือการจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทปที่ผู้อ่านทุกระดับไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือชาวบ้านสามารถเข้าใจ และนำไปสู่การปฏิบัติได้
ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชาวบ้านและกรรมการหมู่บ้านจำนวน 495 คน จาก 15 หมู่บ้าน 15 อำเภอ 10 จังหวัดในภาคอีสานเหนือ อีสานกลางและอีสานใต้ การเก็บข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์รายบุคคลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาเตรียมขึ้น รวมรวมข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึง เดือนตุลาคม 2532.
จากการศึกษาครั้งนี้ได้พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 92.2 รู้จักโครงการอีสานเขียว ร้อยละ 72.9 เข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 59.2 เข้าร่วมโครงการก่อสร้างศาลาอีสานเขียวเป็นชาวบ้าน ร้อยละ 55.5 เป็นกรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 77.8 ที่เข้าร่วมก่อสร้างศาลาอีสานเขียว เหตุผลที่เข้าร่วมโครงการก่อสร้างศาลาอีสานเขียวนั้น ร้อยละ 77.9 อยากเห็นหมู่บ้านเจริญเช่นที่เห็นตัวอย่างทางโทรทัศน์ ร้อยละ 22.1 เข้าร่วมเพราะเป็นกรรมการหมู่บ้าน
ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ศาลาอีสานเขียวหลังจากสร้างขึ้นมาแล้ว การศึกษาได้พบว่าส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70.5 ใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นที่ประชุมปรึกษาหารือของชุมชน นอกจากนั้นประชาชนก็ใช้ศาลาอีสานเขียวจัดงานประเพณีและใช้เป็นที่ต้อนรับผู้มาเยือน
ในส่วนที่คาดว่าจะใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์การฝึกอาชีพต่าง ๆ นั้นพบว่า ร้อยละ 39.4 ต้องการที่จะใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกอาชีพต่าง ๆ เช่น ฝึกอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 13.4 ต้องการใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกอาชีพทางการช่างฝีมือ ร้อยละ 21.4 ต้องการใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกทางโภชนาการสาธารณสุข ใช้เป็นห้องสมุดและเป็นศูนย์ฝึกอุตสาหกรรมในครัวเรือน
เกี่ยวกับการใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกอาชีพต่าง ๆ โดยมีวีดิโอเทปความรู้ด้านต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ช่วยฝึกด้วย ประชากรตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดและต้องการศูนย์ฝึกอาชีพดังกล่าวในอัตราสูงมาก คือร้อยละ 90.3.
ในส่วนการเปิดรับสื่อมวลชนของตัวอย่างนั้น ได้พบว่า ร้อยละ 71.6 ฟังวิทยุ ร้อยละ 92.7 ดูโทรทัศน์ และร้อยละ 64 เคยดูวีดิโอเทป ส่วนใหญ่ฟังวิทยุและดูโทรทัศน์รายการข่าวและบันเทิง สถานที่ฟังวิทยุและดูโทรทัศน์เป็นที่บ้านของตนเอง คือร้อยละ 76.6 ฟังวิทยุที่บ้าน ร้อยละ 62.6 ดูโทรทัศน์ที่บ้าน
ในส่วนการมีเครื่องรับสื่อสารมวลชนนั้น จากการศึกษาได้พบว่าประชากรตัวอย่างโดยส่วนรวม ร้อยละ 81.0 มีเครื่องรับวิทยุ ร้อยละ 81.8 มีเครื่องรับโทรทัศน์ และร้อยละ 8.1 มีเครื่องเล่นวีดิโอเทป.
ในส่วนเกี่ยวกับความต้องการความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและอาชีพเสริมนั้น การศึกษาได้พบว่าตัวอย่างโดยส่วนรวม ร้อยละ 98.0 ต้องการความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาอาชีพเดิม เป็นชาวบ้าน ร้อยละ 97.8 เป็นกรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 98.8 ตัวอย่างร้อยละ 97.4 ต้องการความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาอาชีพเสริม เป็นชาวบ้านร้อยละ 97.3 เป็นกรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 76.6.
ในส่วนความต้องการและความเชื่อมั่นในศูนย์วีดิโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้น ได้พบว่าตัวอย่างร้อยละ 99.2 ต้องการศูนย์วีดิโอเทป ตัวอย่างร้อยละ 92.3 ยินดีบริจาคเงินส่วนตัวเพื่อร่วมจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทป และร้อยละ 96.6 ยินดีเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ศูนย์วีดิโอเทป จำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการใช้ศูนย์วีดิโอเทปได้แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ร้อยละ 1-5 บาท 6-10 บาท และ 11-15 บาท ผลการศึกษาได้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.6ยินดีจ่ายครั้งละ 1-5 บาท ร้อยละ 34.5 ยินดีจ่าย ครั้งละ 6-11 บาท และร้อยละ 5.9 ยินดีจ่ายครั้งละ 11-15 บาท.
ส่วนวีดิโอเทปความรู้ที่ตัวอย่างต้องการให้จัดให้มีไว้ในศูนย์วีดิโอนั้นมีหลายอย่างด้วยกันได้แก่ร้อยละ 98.2 ต้องการความรู้ด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 95.8 ต้องการความรู้ด้านกฎหมายชาวบ้าน ร้อยละ 98.0 ต้องการความรู้ด้านสุขภาพพลานามัย ร้อยละ 96.4 ต้องการความรู้ด้านวิธีการทำการค้าขาย ร้อยละ 95.2 ต้องการความรู้อุตสาหกรรมในครัวเรือน ร้อยละ 95.8 ต้องการความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม ร้อยละ 95.8 ต้องการความรู้เรื่องประชาธิปไตย ร้อยละ 95.6 ต้องการวีดิโอเทปด้านบันเทิง.
ส่วนการบริหารศูนย์วีดิโอเทปหลังจากจัดตั้งขึ้นแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 62.8 เห็นว่าควรตั้งกรรมการหมู่บ้านขึ้นมาบริหาร ร้อยละ 37.0 เห็นว่าให้ทุกคนร่วมกันบริหาร ร้อยละ .2 ไม่มีความเห็น
จากผลการศึกษาที่ได้พบนี้จึงมั่นใจว่า ศูนย์วีดิโอเทปที่จัดตั้งขึ้นที่ศาลาอีสานเขียวเป็นความต้องการของประชาชนและประชาชนให้ความร่วมมือในทุก ๆ ด้าน และจะเป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และศูนย์วีดิโอเทปนี้จะเป็นศูนย์วีดิโอเทคโนโลยีต้นแบบศูนย์แรกของชนบทไทย เมื่อพัฒนาศูนย์วีดิโอเทปนี้เต็มรูปแบบแล้วจะกลายเป็นศูนย์วีดิโอที่พร้อมด้วยเครือข่ายและระบบอัตโนมัติที่ทันสมัยให้บริการสมาชิกได้อย่างเต็มที่
ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชาวบ้านและกรรมการหมู่บ้านจำนวน 495 คน จาก 15 หมู่บ้าน 15 อำเภอ 10 จังหวัดในภาคอีสานเหนือ อีสานกลางและอีสานใต้ การเก็บข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์รายบุคคลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาเตรียมขึ้น รวมรวมข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึง เดือนตุลาคม 2532.
จากการศึกษาครั้งนี้ได้พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 92.2 รู้จักโครงการอีสานเขียว ร้อยละ 72.9 เข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 59.2 เข้าร่วมโครงการก่อสร้างศาลาอีสานเขียวเป็นชาวบ้าน ร้อยละ 55.5 เป็นกรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 77.8 ที่เข้าร่วมก่อสร้างศาลาอีสานเขียว เหตุผลที่เข้าร่วมโครงการก่อสร้างศาลาอีสานเขียวนั้น ร้อยละ 77.9 อยากเห็นหมู่บ้านเจริญเช่นที่เห็นตัวอย่างทางโทรทัศน์ ร้อยละ 22.1 เข้าร่วมเพราะเป็นกรรมการหมู่บ้าน
ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ศาลาอีสานเขียวหลังจากสร้างขึ้นมาแล้ว การศึกษาได้พบว่าส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70.5 ใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นที่ประชุมปรึกษาหารือของชุมชน นอกจากนั้นประชาชนก็ใช้ศาลาอีสานเขียวจัดงานประเพณีและใช้เป็นที่ต้อนรับผู้มาเยือน
ในส่วนที่คาดว่าจะใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์การฝึกอาชีพต่าง ๆ นั้นพบว่า ร้อยละ 39.4 ต้องการที่จะใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกอาชีพต่าง ๆ เช่น ฝึกอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 13.4 ต้องการใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกอาชีพทางการช่างฝีมือ ร้อยละ 21.4 ต้องการใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกทางโภชนาการสาธารณสุข ใช้เป็นห้องสมุดและเป็นศูนย์ฝึกอุตสาหกรรมในครัวเรือน
เกี่ยวกับการใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกอาชีพต่าง ๆ โดยมีวีดิโอเทปความรู้ด้านต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ช่วยฝึกด้วย ประชากรตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดและต้องการศูนย์ฝึกอาชีพดังกล่าวในอัตราสูงมาก คือร้อยละ 90.3.
ในส่วนการเปิดรับสื่อมวลชนของตัวอย่างนั้น ได้พบว่า ร้อยละ 71.6 ฟังวิทยุ ร้อยละ 92.7 ดูโทรทัศน์ และร้อยละ 64 เคยดูวีดิโอเทป ส่วนใหญ่ฟังวิทยุและดูโทรทัศน์รายการข่าวและบันเทิง สถานที่ฟังวิทยุและดูโทรทัศน์เป็นที่บ้านของตนเอง คือร้อยละ 76.6 ฟังวิทยุที่บ้าน ร้อยละ 62.6 ดูโทรทัศน์ที่บ้าน
ในส่วนการมีเครื่องรับสื่อสารมวลชนนั้น จากการศึกษาได้พบว่าประชากรตัวอย่างโดยส่วนรวม ร้อยละ 81.0 มีเครื่องรับวิทยุ ร้อยละ 81.8 มีเครื่องรับโทรทัศน์ และร้อยละ 8.1 มีเครื่องเล่นวีดิโอเทป.
ในส่วนเกี่ยวกับความต้องการความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและอาชีพเสริมนั้น การศึกษาได้พบว่าตัวอย่างโดยส่วนรวม ร้อยละ 98.0 ต้องการความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาอาชีพเดิม เป็นชาวบ้าน ร้อยละ 97.8 เป็นกรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 98.8 ตัวอย่างร้อยละ 97.4 ต้องการความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาอาชีพเสริม เป็นชาวบ้านร้อยละ 97.3 เป็นกรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 76.6.
ในส่วนความต้องการและความเชื่อมั่นในศูนย์วีดิโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้น ได้พบว่าตัวอย่างร้อยละ 99.2 ต้องการศูนย์วีดิโอเทป ตัวอย่างร้อยละ 92.3 ยินดีบริจาคเงินส่วนตัวเพื่อร่วมจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทป และร้อยละ 96.6 ยินดีเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ศูนย์วีดิโอเทป จำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการใช้ศูนย์วีดิโอเทปได้แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ร้อยละ 1-5 บาท 6-10 บาท และ 11-15 บาท ผลการศึกษาได้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.6ยินดีจ่ายครั้งละ 1-5 บาท ร้อยละ 34.5 ยินดีจ่าย ครั้งละ 6-11 บาท และร้อยละ 5.9 ยินดีจ่ายครั้งละ 11-15 บาท.
ส่วนวีดิโอเทปความรู้ที่ตัวอย่างต้องการให้จัดให้มีไว้ในศูนย์วีดิโอนั้นมีหลายอย่างด้วยกันได้แก่ร้อยละ 98.2 ต้องการความรู้ด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 95.8 ต้องการความรู้ด้านกฎหมายชาวบ้าน ร้อยละ 98.0 ต้องการความรู้ด้านสุขภาพพลานามัย ร้อยละ 96.4 ต้องการความรู้ด้านวิธีการทำการค้าขาย ร้อยละ 95.2 ต้องการความรู้อุตสาหกรรมในครัวเรือน ร้อยละ 95.8 ต้องการความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม ร้อยละ 95.8 ต้องการความรู้เรื่องประชาธิปไตย ร้อยละ 95.6 ต้องการวีดิโอเทปด้านบันเทิง.
ส่วนการบริหารศูนย์วีดิโอเทปหลังจากจัดตั้งขึ้นแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 62.8 เห็นว่าควรตั้งกรรมการหมู่บ้านขึ้นมาบริหาร ร้อยละ 37.0 เห็นว่าให้ทุกคนร่วมกันบริหาร ร้อยละ .2 ไม่มีความเห็น
จากผลการศึกษาที่ได้พบนี้จึงมั่นใจว่า ศูนย์วีดิโอเทปที่จัดตั้งขึ้นที่ศาลาอีสานเขียวเป็นความต้องการของประชาชนและประชาชนให้ความร่วมมือในทุก ๆ ด้าน และจะเป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และศูนย์วีดิโอเทปนี้จะเป็นศูนย์วีดิโอเทคโนโลยีต้นแบบศูนย์แรกของชนบทไทย เมื่อพัฒนาศูนย์วีดิโอเทปนี้เต็มรูปแบบแล้วจะกลายเป็นศูนย์วีดิโอที่พร้อมด้วยเครือข่ายและระบบอัตโนมัติที่ทันสมัยให้บริการสมาชิกได้อย่างเต็มที่
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2533.