อิทธิพลของภาวะผู้นำของคณบดีที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Publisher
Issued Date
1992
Issued Date (B.E.)
2535
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ธ, 271 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ชวลิต หมื่นนุช (1992). อิทธิพลของภาวะผู้นำของคณบดีที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/932.
Title
อิทธิพลของภาวะผู้นำของคณบดีที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Alternative Title(s)
The influence of leadership of deans affecting academic administration in private higher education institutions
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง อิทธิพลของภาวะผู้นำของคณบดีที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนี้ มุ่งที่จะหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของภาวะผู้นำของคณบดีและปัจจัยอื่น ๆ ที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ โดยใช้ทฤษฏีภาวะผู้นำของฟิดเลอร์
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้ทฤษฎีภาวะผู้นำของฟิดเลอร์ ทำนายประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการระดับคณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) เพื่อศึกษาหาปัจจัยภูมิหลังที่สำคัญของคณบดีที่สามารถอธิบายหรือมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีมากที่สุด 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในคณะวิชาที่มีความสามัคคีแตกต่างกัน 4) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในคณะวิชา ที่หัวหน้าภาควิชาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมผู้นำสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับคณบดี 5) เพื่อศึกษาหารูปแบบสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีที่ดีที่สุดจากตัวแปรอิสระ 5 ชุดคือ ภูมิหลังของคณบดี คุณลักษณะของคณะวิชา ภาวะผู้นำ และสถานการณ์กลุ่มเอื้อแต่ความสามัคคีของอาจารย์ในคณะวิชาแตกต่างกัน
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดแรกสำหรับคณบดีจำนวน 118 คน และชุดที่สองสำหรับหัวหน้าภาควิชาจำนวน 307 คน ตัวแปรอิสระที่ศึกษาได้แก่ 1) ภูมิหลังของคณบดี 2) คุณลักษณะของคณะวิชา 3) พฤติกรรมผู้นำและสถานการณ์ 4) ความสามัคคีในคณะวิชา 5) พฤติกรรมผู้นำของหัวหน้าภาควิชาส่วนตัวแปรตามได้แก่ ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ และ SPSSX (Statistics Package for the Social Sciences) โดยแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นสถิติเชิงพรรณนาใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่สองเป็นสถิติเชิงอนุมาน ใช้การทดสอบด้วยที ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ดานอนิคอล
ผลการศึกษาพบว่า.
1. ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง.
2. คณบดีส่วนใหญ่มีพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์ (วัดด้วยมาตรวัด LPC) หรือมีพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์และมุ่งมิตรสัมพันธ์ค่อนข้างสูง (วัดด้วยมาตรวัด LBDQ)
3. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารงานวิชาการของคณบดีมีประสิทธิผลสูงมี 5 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านสถานการณ์ที่เอื้อต่อการบริหารงานตามทฤษฎีของฟิดเลอร์ ซึ่งประกอบด้วยอำนาจในตำแหน่ง โครงสร้างของงานและความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับผู้ร่วมงาน 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์ (วัดด้วยมาตรวัด LPC) หรือพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์หรือมุ่งมิตรสัมพันธ์สูง (วัดด้วยมาตรวัด LBDQ) ในสถานการณ์เอื้อสูง 3) ปัจจัยด้านความสามัคคีของอาจารย์ในคณะวิชา 4) ปัจจัยด้านการฝึกอบรมด้านการบริหารและ 5) ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการบริหารงาน
4. ตัวแปรที่สามารถอธิบายหรือพยากรณ์ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีได้ดีที่สุดในชุดตัวแปรภูมิหลัง คือ การฝึกอบรมทางด้านการบริหารและรองลงมาได้แก่ ประสบการณ์ทางการบริหารในตำแหน่งคณบดีรวมกับประสบการณ์ในทางการบริหารในตำแหน่งอื่น ๆ ภายในสถาบันก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งคณบดี
5. ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีจะสูง ถ้าหัวหน้าภาควิชามีพฤติกรรมผู้นำสอดคล้องกับคณบดี
ข้อเสนอแนะ
การบริหารงานวิชาการของคณบดีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หากมุ่งหมายจะให้มีประสิทธิผลสูงควรดำเนินการดังนี้
1. สถานการณ์จะต้องเอื้อต่อการบริหารงานวิชาการ คือ
1.1 อำนาจในตำแหน่งของคณบดี มีอำนาจวินิจฉัยให้อาจารย์ในคณะปฏิบัติตาม ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา มีการกำหนดอำนาจดังกล่าวไว้ชัดเจน
1.2 โครงสร้างของงานในคณะวิชาจะต้องชัดเจน เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปของผู้ร่วมงาน และการตัดสินใจ มีการกำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานชัดเจนมีการแบ่งงานและความรับผิดชอบอย่างเป็นธรรม มีเกณฑ์การประเมินผลงานและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง มีการแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ
1.3 คณบดีมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน ได้รับความเคารพนับถือจากสมาชิกในกลุ่ม ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับในความสามารถและการปฏิบัติงานของคณบดี
2. คณบดีจะต้องมีพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์ (วัดด้วยมาตรวัด LPC) หรือมีพฤติกรรมผู้นำที่มุ่งกิจสัมพันธ์และมุ่งมิตรสัมพันธ์สูง (วัดด้วยมาตรวัด LBDQ) ในสถานการณ์ของคณะวิชาที่เอื้อ
3. ผู้ร่วมงานในคณะวิชาจะต้องมีความสามัคคีกันสูง มีความกระตือรือร้นในการทำงานร่วมกัน ยอมรับนับถือในความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
4. คณบดีควรได้รับการฝึกอบรมทางด้านการบริหาร กล่าวคือจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และมีความเข้าใจในเรื่องการบริหารและการจัดการ.
5. การเลือกคณบดี ควรเลือกผู้มีประสบการณ์ในการบริหารงานภายในสถาบันการศึกษามาก่อน
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้ทฤษฎีภาวะผู้นำของฟิดเลอร์ ทำนายประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการระดับคณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) เพื่อศึกษาหาปัจจัยภูมิหลังที่สำคัญของคณบดีที่สามารถอธิบายหรือมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีมากที่สุด 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในคณะวิชาที่มีความสามัคคีแตกต่างกัน 4) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในคณะวิชา ที่หัวหน้าภาควิชาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมผู้นำสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับคณบดี 5) เพื่อศึกษาหารูปแบบสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีที่ดีที่สุดจากตัวแปรอิสระ 5 ชุดคือ ภูมิหลังของคณบดี คุณลักษณะของคณะวิชา ภาวะผู้นำ และสถานการณ์กลุ่มเอื้อแต่ความสามัคคีของอาจารย์ในคณะวิชาแตกต่างกัน
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดแรกสำหรับคณบดีจำนวน 118 คน และชุดที่สองสำหรับหัวหน้าภาควิชาจำนวน 307 คน ตัวแปรอิสระที่ศึกษาได้แก่ 1) ภูมิหลังของคณบดี 2) คุณลักษณะของคณะวิชา 3) พฤติกรรมผู้นำและสถานการณ์ 4) ความสามัคคีในคณะวิชา 5) พฤติกรรมผู้นำของหัวหน้าภาควิชาส่วนตัวแปรตามได้แก่ ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ และ SPSSX (Statistics Package for the Social Sciences) โดยแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นสถิติเชิงพรรณนาใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่สองเป็นสถิติเชิงอนุมาน ใช้การทดสอบด้วยที ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ดานอนิคอล
ผลการศึกษาพบว่า.
1. ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง.
2. คณบดีส่วนใหญ่มีพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์ (วัดด้วยมาตรวัด LPC) หรือมีพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์และมุ่งมิตรสัมพันธ์ค่อนข้างสูง (วัดด้วยมาตรวัด LBDQ)
3. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารงานวิชาการของคณบดีมีประสิทธิผลสูงมี 5 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านสถานการณ์ที่เอื้อต่อการบริหารงานตามทฤษฎีของฟิดเลอร์ ซึ่งประกอบด้วยอำนาจในตำแหน่ง โครงสร้างของงานและความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับผู้ร่วมงาน 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์ (วัดด้วยมาตรวัด LPC) หรือพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์หรือมุ่งมิตรสัมพันธ์สูง (วัดด้วยมาตรวัด LBDQ) ในสถานการณ์เอื้อสูง 3) ปัจจัยด้านความสามัคคีของอาจารย์ในคณะวิชา 4) ปัจจัยด้านการฝึกอบรมด้านการบริหารและ 5) ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการบริหารงาน
4. ตัวแปรที่สามารถอธิบายหรือพยากรณ์ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีได้ดีที่สุดในชุดตัวแปรภูมิหลัง คือ การฝึกอบรมทางด้านการบริหารและรองลงมาได้แก่ ประสบการณ์ทางการบริหารในตำแหน่งคณบดีรวมกับประสบการณ์ในทางการบริหารในตำแหน่งอื่น ๆ ภายในสถาบันก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งคณบดี
5. ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของคณบดีจะสูง ถ้าหัวหน้าภาควิชามีพฤติกรรมผู้นำสอดคล้องกับคณบดี
ข้อเสนอแนะ
การบริหารงานวิชาการของคณบดีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หากมุ่งหมายจะให้มีประสิทธิผลสูงควรดำเนินการดังนี้
1. สถานการณ์จะต้องเอื้อต่อการบริหารงานวิชาการ คือ
1.1 อำนาจในตำแหน่งของคณบดี มีอำนาจวินิจฉัยให้อาจารย์ในคณะปฏิบัติตาม ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา มีการกำหนดอำนาจดังกล่าวไว้ชัดเจน
1.2 โครงสร้างของงานในคณะวิชาจะต้องชัดเจน เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปของผู้ร่วมงาน และการตัดสินใจ มีการกำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานชัดเจนมีการแบ่งงานและความรับผิดชอบอย่างเป็นธรรม มีเกณฑ์การประเมินผลงานและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง มีการแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ
1.3 คณบดีมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน ได้รับความเคารพนับถือจากสมาชิกในกลุ่ม ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับในความสามารถและการปฏิบัติงานของคณบดี
2. คณบดีจะต้องมีพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์ (วัดด้วยมาตรวัด LPC) หรือมีพฤติกรรมผู้นำที่มุ่งกิจสัมพันธ์และมุ่งมิตรสัมพันธ์สูง (วัดด้วยมาตรวัด LBDQ) ในสถานการณ์ของคณะวิชาที่เอื้อ
3. ผู้ร่วมงานในคณะวิชาจะต้องมีความสามัคคีกันสูง มีความกระตือรือร้นในการทำงานร่วมกัน ยอมรับนับถือในความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
4. คณบดีควรได้รับการฝึกอบรมทางด้านการบริหาร กล่าวคือจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และมีความเข้าใจในเรื่องการบริหารและการจัดการ.
5. การเลือกคณบดี ควรเลือกผู้มีประสบการณ์ในการบริหารงานภายในสถาบันการศึกษามาก่อน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ด.(การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2535.