การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การสาธารณประโยชน์ด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับเด็กและสตรี
by กรภัทร์ จารุกำเนิดกนก
Title: | การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การสาธารณประโยชน์ด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับเด็กและสตรี |
Other title(s): | Human resource management in Philanthropic Organizations for Children and Women Social Welfare |
Author(s): | กรภัทร์ จารุกำเนิดกนก |
Advisor: | จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาเอก |
Degree discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2011 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2011.31 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ สาธารณประโยชน์ด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับเด็กและสตรีในประเทศไทย ด้วยระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาเฉพาะกรณีในองค์การสาธารณประโยชน์ด้านสังคมสงเคราะห์ เกี่ยวกับเด็กและสตรีในประเทศไทย ที่ดําเนินการต่อเนื่องเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป และมี เจ้าหน้าที่ 50 คนขึ้นไป จํานวน 3 กรณีศึกษา ผลการศึกษา พบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในกรณีศึกษาปฏิบัติการผ่านระบบการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ 5 ระบบย่อยที่สัมพันธ์กันและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในและ ภายนอกองค์การซึ่งระบบย่อย ได้แก่ (1) ด้านการจัดคนเข้าทํางาน (2) ด้านการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ (3) ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (4) ด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย และ(5) ด้าน พนักงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาพรวมวิธีปฏิบัติของกรณีศึกษาไม่ต่างจากภาครัฐและเอกชน มี จุดเด่นของสภาพแวดล้อมภายในองค์การที่แตกต่างในด้านวัฒนธรรมการอยู่แบบครอบครัว กล่าวคือ มีการช่วยเหลือกันทั้งในปัญหาเรื่องงานและเอื้อมถึงเรื่องส่วนตัวและเรื่องครอบครัวด้วย ด้านการจัดคนเข้าทํางาน พบว่า เจ้าหน้าที่มีบทบาทแบบกว้างและหลากหลาย มุ่ง ผลลัพธ์เพื่อช่วยเหลือผู้รับบริการเป็นหลัก มีอิสระในการทํางาน การออกแบบงานมีลักษณะ สามารถทําแทนกันได้เมื่อมีคนขาดหรือลา การสรรหาเจ้าหน้าที่วิชาชีพนักสังคมสงเคราะห์พบว่า การฝึกงานของนักศึกษาและการประกาศผ่านมหาวิทยาลัยได้ผลดีที่สุด สําหรับการคัดเลือก เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการโดยตรง พบว่า มีการทดสอบการทํางานในสภาพจริง 1-14 วัน ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พบว่า มีการใช้ระบบพี่ลี้ยงเพื่อสอนงานให้กับเจ้าหน้าที่ใหม่ โดยเลือกรุ่นพี่ที่เป็นต้นแบบที่ดีในการสอนงาน มีการหล่อหลอมพัฒนาตนเองโดยการซึมซับอาสาจากผู้นําและรุ่นพี่สู่การเติบโตทางความคิดเป็นคนที่สมบรณ์ทั้งกายใจการประเมนผล การปฏิบัติงานมการสะท้อนงานโดยการพูดคุยผลการประเมินกับเจ้าหน้าที่เพื่อการปรับปรุงพัฒนา ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการพบว่าค่าจ้างหรือเงินเดือนมีอัตราน้อยกว่าภาครฐและ ภาคเอกชนองค์การได้พัฒนาระบบสวัสดิการเพิ่มเติมที่แตกต่างจากภาครัฐและภาคเอกชนการ ทํางานได้รับคาตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงินได้แก่ผลตอบแทนภายในซึ่งคือความภาคภูมิใจเมื่อได้ ทํางานช่วยเหลือผู้อื่นและความมั่นคงทางจิตใจที่เห็นว่าตนเองได้ทําประโยชน์ให้ผู้อื่น ด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยพบว่าญหาความเห็นอยู่ลาในงานจากจำนวนผู้ เดือดร้อนที่รับบริการมีจํานวนมากและต้องให้บริการผู้ที่มีปัญหาวกฤตชีวิตที่ซับซ้อนใช้ระบบพี่เลี้ยงในการดูแลด้านจิตใจของเจ้าหน้าที่ ด้านพนักงานและแรงงานสัมพันธ์พบว่าระบบสื่อสารสองทางอย่างใกล้ชิดระหว่าง เจ้าหน้าที่กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มีส่วนรวมในการตัดสินใจรวมกับผู้บริหาร สภาพแวดล้อมภายนอกพบว่าการสรรหาและการคัดเลือกทำได้ยากในทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะบุคลากรสายวิชาชีพซึ่งมีทางเลือกในการสมัครงานเอกชนมากขึ้น (เนื่องจากเงินเดือน สูงกว่า) และมีผลจากค่านิยมรับราชการ (เนื่องจากมความมั่นคงในงานมากกว่า) หารายได้ น้อยเมื่อเทียบกับภาครัฐและธุรกิจเอกชนส่งผลกระทบต่อการคงอยู่ของเจ้าหน้าที่และปัญหาการ ขาดงบประมาณที่ได้จากการบริจาคส่งผลกระทบต่อการคงอยู่ขององค์การ แนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมทั้ง 3 กรณีศึกษาเป็นแนวทาง Soft HRM (Soft HRM Approach) และแนวทางทางการรวมกลุ่มวิธีปฏิบัติ (Bundling Approach) โดยทั้ง 3 กรณีศึกษามการผสมผสานกลุ่มวิธีปฏิบัติ 3 กลุ่มภายใต้แนวทางทางการรวมกลุ่มวิธี ปฏิบัติเข้าด้วยกันได้แกวิธีปฏิบัติที่สร้างผลงาน (High-Performance Practices) วิธีปฏิบัติที่ สร้างความผูกพันสูง (High-Commitment Practices) และวิธีปฏิบัติที่มีส่วนรวมสูง (HighInvolvement Practices) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (1) ควรใช้กลยุทธการสรรหาและคัดเลือกเชิงรุกด้วยการสร้าง สัมพนธ์ต่อนักศึกษาและมหาวิทยาลัยที่มีคณะที่ต้องการ (2) ควรมีการสอนงานและหล่อหลอม พัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยระบบพี่เลี้ยงที่มีต้นแบบที่ดี (3) ควรริเริ่มระบบนวัตกรรมด้านสวัสดิการที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตโดยระดมความเห็นจากเจ้าหน้าที่ (4) ควรมีระบบการลดความเหนื่อยล้าและ ลดความเครียดในงานโดยระบบพี่เลี้ยงและเพื่อนช่วยเพื่อนและ(5) ควรจดให้มีกิจกรรมเพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ทุกระดับผู้บริหารมการรับฟังความคิดเห็นสื่อสารสองทางและ ตอบสนองความต้องการของเจ้าหน้าที่ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011 |
Subject(s): | สังคมสงเคราะห์กลุ่มชน -- การบริหารงานบุคคล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารงานบุคคล |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 13, 273 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/941 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|