การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม
by อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์
Title: | การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม |
Other title(s): | Model of factors influencing innovative leader |
Author(s): | อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์ |
Advisor: | สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | Doctoral |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2010 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2010.6 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของผู้นําเชิง นวัตกรรม ขององค์การธุรกิจเอกชนภาคอุตสาหกรรม ที่มีลักษณะเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้นําเชิงนวัตกรรม 3) พัฒนาตัวแบบผู้นําเชิงนวัตกรรม โดยประยุกต์ใช้ ทฤษฎีภาวะผู้นําและแนวคิดการพัฒนานวัตกรรม เป็นฐานคติในการศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยที่เป็น องค์ประกอบคุณลักษณะของผู้นําที่มีผลต่อการพัฒนานวัตกรรมในองค์การ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้นําองค์การที่มีผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการ ซึ่งเป็นผลจากการสร้างสรรค์ที่มีลักษณะความเป็นนวัตกรรม ใช้วิธีการศึกษาแบบ Grounded Theory และวิธีการศึกษาเฉพาะกรณี โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง ในตําแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ บริหารหรือกรรมการผู้จัดการใหญ่ องค์การละ 1 ท่าน สัมภาษณ์ กลุ่มบุคลากรในองค์การและผู้เกี่ยวข้องอีก 62 คน ขั้นตอนการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน 1) ทบทวนวรรณกรรม ศึกษาข้อมูลขององค์การและผู้นําที่คัดเลือกเป็นกรณีศึกษา 2) วิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้นําองค์การที่เป็นกรณีศึกษาหลัก 3) สัมภาษณ์กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง เพื่อทดสอบความ เชื่อถือได้ของข้อมูล โดยใช้เทคนิคการตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูลโดยทําการตรวจสอบ ข้อมูลแบบสามเสาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ส่วนประกอบ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป และการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกรณีศึกษา กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยปัจจัยหลักคือ 1) บริบทภายนอกองค์การทที่ส่งผลต่อผู้นําเชิงนวัตกรรม 2) บริบทภายในองค์การที่ส่งผลต่อผู้นําเชิงนวัตกรรม 3) องค์ประกอบ คุณลักษณะของผู้นําเชิงนวัตกรรม 4) แนวทางการพัฒนาผู้นําเชิงนวัตกรรม 5) กระบวนการพัฒนา นวัตกรรมในองค์การ ผลการศึกษาพบว่า บริบทภายนอกองค์การที่มีความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อ การปรับทิศทางและกลยุทธ์ในการนําองค์การกดดันให้ผู้นํามุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน บริบทภายในองค์การด้าน วัฒนธรรมองค์การและบรรยากาศภายในองค์การมีผลกระทบต่อบทบาทของภาวะผู้นํา รูปแบบ องค์การแห่งการเรียนรู้และระบบการจัดการความรู้ที่มีกระบวนการชัดเจน และใช้เทคโนโลยีใน การสร้างคลังความรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนา นวัตกรรม โครงสร้างองค์การที่เหมาะสม คือโครงสร้างองค์การแบบทีมงานข้ามสายงาน ระบบ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีการบริหารคนเก่งและมีระบบพี่เลี้ยง มีการสอนงาน การมอบหมาย งานโครงการการมอบอํานาจเป็นระบบที่ส่งผลเชิงบวกต่อแนวทางการพัฒนาผู้นําเชิงนวัตกรรม ผลจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีศึกษาทั้งหมด ผู้วิจัยนําเสนอ ตัวแบบองค์ประกอบ คุณลักษณะของผู้นําเชิงนวัตกรรม และแนวทางการพัฒนาผู้นําเชิงนวัตกรรม อันประกอบด้วย บริบทภายนอกและภายในองค์การที่มีผลต่อผู้นําเชิงนวัตกรรม และองค์ประกอบคุณลักษณะของ ผู้นําเชิงนวัตกรรม มีองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ด้าน คือ 1) ด้านบุคลิกภาพ 2) ด้านสมรรถนะ 3) ด้าน บทบาทหน้าที่ 4) ด้านลักษณะทางสังคม เป็นองค์ประกอบคุณลักษณะหลักของผู้นําเชิงนวัตกรรม ข้อเสนอของการศึกษาครั้งนี้คือ แนวทางการพัฒนาผู้นําในองค์การให้มีองค์ประกอบ คุณลักษณะของผู้นําเชิงนวัตกรรม เพื่อพัฒนานวัตกรรมในองค์การและการศึกษาต่อไปในอนาคต เสนอให้มีการศึกษาปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อองค์การนวัตกรรม และกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นํา เชิงนวัตกรรม เพื่อความชัดเจนในการกําหนดนโยบายแนวทางในการพัฒนาผู้นําในองค์การทุก ระดับ ให้เกิดภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรม |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010 |
Subject(s): | ผู้นำ
ภาวะผู้นำ |
Keyword(s): | ผู้นำเชิงนวัตกรรม |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 262 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/943 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|