การศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถาบันอุดมศึกษาไทย
Publisher
Issued Date
2010
Issued Date (B.E.)
2553
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
342 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศาศวัต เพ่งแพ (2010). การศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถาบันอุดมศึกษาไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/945.
Title
การศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถาบันอุดมศึกษาไทย
Alternative Title(s)
Studies on development model of higher education delivery for disabled students in Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาพัฒนาการนโยบาย กฎหมาย และระเบียบ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาสําหรับ คนพิการที่เหมาะสมและสามารถนําไปปฏิบัติได้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย วิธีการวิจัยในส่วนแรก เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) ที่ครอบคลุมสาระของกฎหมายหลักได้แก่ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติการจัด การศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ลําดับถัดมาเป็นการวิจัยในภาคสนามโดยใช้เทคนิคการเก็บ ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)ในกรณีศึกษาที่เป็นสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการศึกษา สําหรับคนพิการ 3 แห่งได้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดลและ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง สังกัดสํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาพิเศษที่มีลักษณะเป็นรูปแบบการเรียนร่วม ซึ่งเป็น กระแสหลัก (Mainstreaming) ของแนวคิดการจัดการศึกษาพิเศษในปัจจุบัน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการ สังเกตสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของผู้ที่ เกี่ยวข้องร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In- Depth Interview: IDI) บุคคลที่เป็นกุญแจสําคัญ (Key Informants) 3 กลุ่มหลักได้แก่ 1) ผู้กําหนดนโยบาย ได้แก่ผู้บริหารสํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา 4 คนและกรรมาธิการด้านการศึกษา 2 คน 2) ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติได้แก่ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษา 6 คนและเจ้าหน้าที่ ระดับ ปฏิบัติการ 3 คน และ 3) ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่นักศึกษาพิการ 6 คนและผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน โดยเก็บข้อมูลครอบคลุมประเด็นหลักคือคุณภาพชีวิตนักศึกษาพิการใน มิติเศรษฐกิจและมิติสังคม การเสริมอํานาจ (Empowerment) ทั้งภายในและภายนอก ลักษณะ นโยบายการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการและการนํานโยบายการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการไป ปฏิบัติ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ที่เน้นการตีความด้วยหลักสามเส้า (Triangulation) และการจําแนกข้อมูล (Categories) และลงสรุปข้อมูลด้วยวิธีเชิงอนุมาน (Inductive Method) ตามกรอบประเด็นที่ศึกษาผลการศึกษา พบว่า 1. กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้แก่คนพิการในสังคมไทย นับเป็นผลพวงจากการมีกฎหมาย พระราชบัญญัติกฎกระทรวงและนโยบาย ทําให้สถาบันอุดมศึกษา ที่จัดการศึกษาสําหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา มีการนํานโยบายไปปฏิบัติส่งผลให้คนพิการทุก ประเภทได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในรูปแบบที่ หลากหลายตามความต้องการจําเป็นของแต่ละ บุคคลมากขึ้น โดยมีการจัดทําโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualize Education Program: IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individualize Implementation Program: IIP) มีการพัฒนา ระบบฐานข้อมูลทําให้คนพิการได้รับการศึกษาหรือสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการและความ ช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและถูกต้องเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการจัดสรรงบประมาณใน การสนับสนุนการจัดการศึกษาแก่คนพิการมากขึ้น รวมทั้งโอกาสคนพิการจะแสดงความสามารถ ให้สังคมประจักษ์สื่อมวลชนจึงให้ความสําคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านความสามารถและ ผลงานของคนพิการมากขึ้นจนทําให้สังคมยอมรับความสามารถคนพิการ 2. ในการนํานโยบายการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการสูงการปฏิบัติของสถาบันการศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พบปัญหาและอุปสรรคที่นําไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาได้แก่ยังมีคนพิการในวัยเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการการศึกษาอีก จํานวนมากการขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ การขาดอาคารสถานที่ความไม่เพียงพอ และความไม่สามารถเข้าถึงสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ขาดการบูรณาการและเจ้าภาพหลักในการเชื่อมโยง ประสานงาน นโยบายการจัดการศึกษาสําหรับคน พิการในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการจึงไม่ต่อเนื่อง 3. แนวทางการจัดการศึกษา หรือกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการนํานโยบายการจัดการศึกษา สําหรับคนพิการสู่การปฏิบัติของสถาบันการศึกษาที่ผู้วิจัยได้สร้างกรอบ SASA Framework ขึ้นมา พิจารณากําหนดเป็น 4 กลยุทธ์หลักในการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการในสถาบันอุดมศึกษาไทยคือ 1) กลยุทธ์ด้านการบริการ ที่มุ่งเน้นการอํานวยความสะดวกแก่นักศึกษาพิการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตลอดจนบริการทางการแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 2) กลยุทธ์ด้านวิชาการ ที่มุ่งเน้นการวิจัย พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน เพื่อการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของนักศึกษาพิการ ตลอดจน การพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรทางการศึกษาพิเศษ 3) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน ที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคมในกิจกรรม/โครงการที่ เกี่ยวกับคนพิการ เพื่อสร้าง เจตคติเชิงบวกให้แก่สาธารณชน และ 4) กลยุทธ์ด้านการบริหาร ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและจัดระบบการ บริหารทางการศึกษาสําหรับคนพิการอย่างมีคุณภาพ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010