• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การให้บริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์จากมุมมองนโยบายสาธารณะและด้านทรัพยากร : กรณีศึกษาการให้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันอุดมศึกษา

by ลักษณา ศิริวรรณ

Title:

การให้บริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์จากมุมมองนโยบายสาธารณะและด้านทรัพยากร : กรณีศึกษาการให้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันอุดมศึกษา

Other title(s):

E-Public service from public policy and resource-based perspectives : case studies of e-library service of Higher Education Institutions

Author(s):

ลักษณา ศิริวรรณ

Advisor:

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

Doctoral

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2010

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2010.39

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ของ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 2) สร้างตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพ การบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 3) ทดสอบตัวแบบความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดสถาบัน อุดมศีกษาและ 4) วิเคราะห์เงื่อนไขที่สนับสนุนปัจจัยสำคัญมผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะ ทางอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา การศึกษาครั้งนี้บูรณาการทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติจากมุมมองนโยบายสาธารณะกับ มุมมองด้านทรัพยากรเพื่อสร้างตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริการ สาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ทรัพยากร (ทรัพยากรทาง การเงินและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน) สมรรถนะของหน่วยงานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ (โครงสร้างทางกายภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานและความรู้และทักษะ ด้านเทคโนโลยสารสนเทศและการจัดการเทคโนโลยสารสนเทศของหน่วยงาน) พันธะผูกพันของ หน่วยงานและการสอสารกับผู้ใช้บริการ ระเบียบวิธีในการศึกษา การศึกษาเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพซึ่งการศึกษา เชิงปริมาณเป็นการทดสอบตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริการ สาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ผู้บรหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษานักศึกษาผู้ใช้บริการและผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์ และการศึกษา เชิงคุณภาพเป็นการศึกษาบริบทหาเงื่อนไขที่ส่งผลให้ปัจจัยสำคัญมีผลตอคุณภาพการบริการ สาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาการให้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ของสถาบันอุดมศึกษางเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันอุดมศึกษาและผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากรณีศึกษา ผลการศึกษาเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบเชิงชั้นพบว่าทรัพยากรทาง การเงินเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานโครงสร้างทางกายภาพด้านเทคโนโลยสารสนเทศ ของหน่วยงานและการสื่อสารกับผู้ใช้บริการเป็นปัจจัยสำคญที่มีผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะ ทางอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทระดับความเชื่อมั่น 0.05 และผลการศึกษาเชิง คุณภาพสอดคล้องกับตัวแบบที่เสนอไว้กล่าวคือทรัพยากรทางการเงินเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานโครงสร้างทางกายภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานความรู้และทักษะด้าน เทคโนโลยสารสนเทศและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน พันธะผูกพันของ หน่วยงานและการสื่อสารกับผู้ใช้บริการเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะทาง อิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากรณีศึกษา ประโยชน์เชิงทฤษฎีของการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ 1) พัฒนามุมมองนโยบายสาธารณะให้ ความสำคัญกับการมีทรัพยากรที่จับต้องได้ที่เพียงพอและการสื่อสารภายในหรือระหว่างองค์การ เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติขึ้นอยู่กับการมีและใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรที่จับต้องได้ (ทรัพยากรทางการเงินและโครงสร้างทางกายภาพด้านเทคโนโลยสารสนเทศ ของหน่วยงาน) และทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ (เครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน) และการสื่อสาร กับผู้ใช้บริการ 2) พัฒนามุมมองด้านทรัพยากรซึ่งให้ความสำคญกับทรัพยากรหรือสมรรถนะภายใน องค์การมีผลตอผลการปฏิบัติงานขององค์การเนื่องจากผลการศึกษาพบว่าผลการปฏิบัติงานของหองสมุด สถาบันอุดมศึกษาเกิดจากการให้และการรับทรัพยากรระหว่างองค์การและ 3)พัฒนามิติการวัดคุณภาพ การบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้คลอบคลุมมิติการวัดความพึงพอใจของ ผู้ให้บริการ (ผลการปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน) คุณภาพของเว็บไซต์และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ อิเสนอแนะของการศึกษาครั้งนี้ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรให้ความสำคัญกับ ทรัพยากรที่จับต้องได้ (ทรัพยากรทางการเงินและโครงสร้างทางกายภาพด้านเทคโนโลยสารสนเทศ ของหน่วยงาน) และทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ (เครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน) และการจัด กิจกรรมการสื่อสารกับผู้ใช้บริการซึ่งจะทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกที่ดีต่อการใช้บริการห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์นําไปสู่ความพึงพอใจของผู้ใช้และคุณภาพการบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุด

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010

Subject(s):

บริการสาธารณะ -- ไทย
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย บริการสาธารณะ
นโยบายสาธารณะ -- ไทย

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

329 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/947
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b166372.pdf ( 2.62 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Dissertations [409]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×