ปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมและผลต่อการกระจายรายได้ของไทย
Publisher
Issued Date
2010
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
271 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วรพงศ์ ตระการศิรินนท์ (2010). ปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมและผลต่อการกระจายรายได้ของไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/957.
Title
ปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมและผลต่อการกระจายรายได้ของไทย
Alternative Title(s)
Factors affecting social expenditure and impact on income distribution
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เมื่อพิจารณาผลพวงของการพัฒนาและการดําเนินนโยบายสังคมของรัฐบาลในช่วงสาม ทศวรรษที่ผ่านมา จะพบความไม่เสมอภาคทางสังคม (Equity) ปรากฏให้เห็นทั้งในด้านการศึกษา การสาธารณสุขและการสังคมสงเคราะห์โดยผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่สูงจะสามารถเข้าถึงบริการ ทางสังคมที่ดีกว่าผู้มีฐานะเศรษฐกิจที่ต่ําทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของบริการ ซึ่งจากความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นนี้ได้ดจุดประกายความสนใจให้ผู้ศึกษาค้นหาถึงสาเหตุและผลกระทบของ ปรากฏการณ์ดังกล่าวผ่านการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายสาธารณะด้านสังคม โดยศึกษาปัจจัยที่มีผล ต่อรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมและผลต่อการกระจายรายรายได้ของไทย ซึ่งเป็นการศึกษาที่อาศัย การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติภูมิ (Secondary Data) ในช่วงระยะเวลา 31 ปีตั้งแต่พ.ศ. 2520-2550 โดย กําหนดกรอบการศึกษาเป็น 2 ส่วนคือ 1) กรอบการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายสาธารณะด้าน สังคมและ 2) กรอบการศึกษาผลของรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมที่มีผลต่อการกระจายรายได้โดย กรอบการศึกษาในส่วนแรกเป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายสาธารณะด้านสังคม ซึ่งใน การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาจะทําการศึกษารายจ่ายสาธารณะด้านสังคม และองค์ประกอบของรายจ่าย สาธารณะด้านสังคมใน 3 ด้านคือรายจ่ายด้านการศึกษา รายจ่ายด้านการสาธารณสุขและรายจ่าย ด้านการสังคมสงเคราะห์โดยมีตัวแปรอิสระต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยด้านการตัดสินใจ ปัจจัยเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการเมืองและปัจจัยด้านโลกาภิวัตน์สําหรับกรอบการศึกษาในส่วนหลังเป็นการศึกษาถึงผลของรายจ่ายสาธารณะต่อการ กระจายรายได้โดยการศึกษาในส่วนนี้ตัวแปรตาม คือ 1) การกระจายรายได้ซึ่งวัดจากสัดส่วน ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคนอกการเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคการเกษตรและ 2) ค่าสัมประสิทธิ์ GINI ในขณะที่ตัวแปรอิสระได้แก่รายจ่ายสาธารณะด้านสังคม รายจ่ายด้าน การศึกษา รายจ่ายด้านการสาธารณสุข และรายจ่ายด้านการสังคมสงเคราะห์ซึ่งผู้ศึกษาให้ความหมายว่าเป็น “ปัจจัยเชิงนโยบาย” ในขณะที่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้าน การเมืองและปัจจัยด้านโลกาภิวัตน์ผู้ศึกษาได้นํามาศึกษาอีกครั้งในกรอบการศึกษาส่วนนี้และให้ ความหมายว่าเป็น “ปัจจัยภายนอกอื่นๆ” และนํามาศึกษาในฐานะตัวแปรอิสระ เพื่อวิเคราะห์หา ความสัมพันธ์เปรียบเทียบกับ “ปัจจัยเชิงนโยบาย” เพื่อหาคําตอบว่า รายจ่ายสาธารณะด้านสังคม รายจ่ายด้านการศึกษา รายจ่ายด้านการสาธารณสุขและรายจ่ายด้านการสังคมสงเคราะห์ในฐานะที่ เป็น “ปัจจัยเชิงนโยบาย” เมื่อเปรียบเทียบกับตัวแปรอื่นๆ ในบริบทอย่างเดียวกันแล้วจะมีผลต่อการ กระจายรายได้หรือไม่อย่างไร จากการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมได้แก่ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านการตัดสินใจ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายด้านการศึกษาได้แก่ปัจจัยด้านการตัดสินใจ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านการเมือง 3) ปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายด้านการ สาธารณสุขได้แก่ปัจจัยด้านสังคมและปัจจัยด้านการตัดสินใจ 4) ปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายด้านการ สังคมสงเคราะห์ได้แก่ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านการตัดสินใจ และปัจจัยด้านการเมือง 5) รายจ่าย สาธารณะด้านสังคมทําให้การกระจายรายได้ดีขึ้นเมื่อวัดจากค่าสัมประสิทธิ์ GINI แต่ทําให้การ กระจายรายได้แย่ลงเมื่อวัดจากสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคนอกการเกษตรต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวม (GDP) ภาคการเกษตร 6) รายจ่ายด้านการศึกษาทําให้การกระจายรายได้ดีขึ้นเมื่อวัดจากค่า สัมประสิทธิ์ GINI และไม่มีผลต่อการกระจายรายได้เมื่อวัดจากสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคนอกการเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคการเกษตร 7) รายจ่ายด้านการสาธารณสุขทํา ให้การกระจายรายได้ดีขึ้นเมื่อวัดจากค่าสัมประสิทธิ์ GINI แต่ทําให้การกระจายรายได้แย่ลงเมื่อวัด จากสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคนอกการเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาค การเกษตร 8) รายจ่ายด้านการสังคมสงเคราะห์ทําให้การกระจายรายได้ดีขึ้นเมื่อวัดจากค่าสัมประสิทธิ์ GINI และไม่มีผลต่อการกระจายรายได้เมื่อวัดจากสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคนอก การเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคการเกษตร ดังนั้นเพื่อให้การดําเนินนโยบายสังคมและการใช้รายจ่ายสาธารณะด้านสังคมสามารถ นําไปสู่เป้าหมายของการสร้างความเสมอภาค (Equity) ในสังคมอย่างแท้จริงรัฐบาลจึงควรให้ ความสําคัญกับการจัดสรรรายจ่ายที่เน้นเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มผู้ยากจนมากกว่าการจัดสรรอย่างเท่า เทียมกันในทุกกลุ่มดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังควรมีนโยบายและมาตรการอื่นๆ ที่ สนับสนุน เช่น 1) มาตรการการให้สินเชื่อแก่กลุ่มผู้ที่ยากจนเฉพาะ 2) มาตรการที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ ยากจนสามารถเข้าศึกษาในระดับที่สูงเท่าเทียมกันกับกลุ่มผู้ร่ำรวยหรือได้เปรียบกว่าในสังคม เช่น การกําหนดโควตาให้กลุ่มผู้ยากจนโดยเฉพาะในการเข้าศึกษาในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ 3) มาตรการที่เป็นรูปธรรมในการส่งเสริมให้กลุ่มผู้ยากจนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองให้มาก ขึ้น เช่นควรปรับปรุงกติการะดับชาติโดยกําหนดสัดส่วนกลุ่มผู้ยากจนให้มีตัวแทนของตนในสภา ผู้แทนราษฎร
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010