• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยภาวะผู้ประกอบการที่มีต่อผลประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

by วิทูร เจียมจิตต์ตรง

Title:

ปัจจัยภาวะผู้ประกอบการที่มีต่อผลประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

Other title(s):

The influence of entrepreneurship to small and medium-sized enterprises performance

Author(s):

วิทูร เจียมจิตต์ตรง

Advisor:

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาเอก

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2010

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทําความเข้าใจเรื่องมโนทัศน์ภาวะ ผู้ประกอบการที่มีต่อผลการประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ถึงแม้ว่าในช่วง เวลากว่าสามทศวรรษที่ผ่านมาภาวะผู้ประกอบการจะได้รับการศึกษาค้นคว้าเป็นจํานวนมากแต่ก็ ยังไม่มีข้อสรุปเป็นทฤษฎีภาวะผู้ประกอบการที่ ยอมรับโดยทั่วกันเพื่อนํามาใช้อธิบายความสัมพันธ์ ที่มีต่อผลการประกอบการของวิสาหกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริบทประเทศไทยคําถามของการ วิจัยครั้งนี้คือ ภาวะผู้ประกอบการมีองค์ประกอบอะไรบ้างและมีความสัมพันธ์กับผลการ ประกอบการของวิสาหกิจอย่างไร จากนิยามความหมายภาวะผู้ประกอบการและจากความสอดคล้องของฐานคติภาวะ ผู้ประกอบการที่มีต่อฐานคติของทฤษฎีต่างๆ สรุปได้ว่าองค์ประกอบของภาวะผู้ประกอบการนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีหลายๆด้านรวมกัน ได้แก่ ทฤษฎีภาวะผู้นํา ทฤษฎีการบริหารเชิงกล ยุทธ์ทฤษฎีพื้นฐานทรัพยากรและทฤษฎีการรู้คิด ภาวะผู้ประกอบการจึงประกอบด้วยปัจจัย 4 ด้าน คือปัจจัยภาวะผู้นําอย่างผู้ประกอบการ ปัจจัยการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์อย่างผู้ประกอบการ ปัจจัยการ รับรู้โอกาสธุรกิจอย่างผู้ประกอบการและปัจจัยการบริหารจัดการโอกาสธุรกิจอย่างผู้ประกอบการ ปัจจัยเหล่านี้ได้ร่วมกันทําหน้าที่เป็นตัวแทนของภาวะผู้ประกอบการไปพร้อมกัน การทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้ประกอบการและผลประกอบการของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้ข้อมูลจากการสํารวจด้วยแบบสอบถามทางไปรษณีย์จากกลุ่ม วิสาหกิจอุตสาหกรรมจํานวน 125 แห่งในประเทศไทยและวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลโดย โปรแกรมตัวแบบสมการโครงสร้าง การทดสอบตัวแบบการวัดภาวะผู้ประกอบการกับผล ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยืนยันในเชิงประจักษ์ว่าปัจจัยภาวะผู้ประกอบการทั้ง 4 ด้านเป็นองค์ประกอบของภาวะผู้ประกอบการการทดสอบตัวแบบสมการโครงสร้างพบว่า ภายในภาวะผู้ประกอบการนั้น ปัจจัยการรับรู้โอกาสธุรกิจฯ เป็นปัจจัยเริ่มต้นที่มีผลต่อการตัดสินใจ เชิงกลยุทธ์ฯและการบริหารจัดการโอกาสธุรกิจและปัจจัยทั้งสองนี้ จะมีอิทธิพลต่อภาวะผู้นําอย่าง ผู้ประกอบการที่มีผลต่อไปยังผลประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งานวิจัยชิ้นนี้ได้สร้างความเข้าใจได้ว่าวิธีการหนึ่งที่จะทําให้ผลประกอบการของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมมีกําไร เติบโต และความมั่นคงนั้น สามารถทําได้โดยการพัฒนาภาวะ ผู้ประกอบการให้กับวิสาหกิจ นอกจากนั้นแล้วในด้านนโยบาย การวัดระดับความสามารถภาวะ ผู้ประกอบการทําให้หน่วยงานภาครัฐมีเครื่องมือในการบ่งชี้และติดตามความสามารถในการ ประกอบการของวิสาหกิจฯ ได้สะดวกและมีประสิทธิผลมากกว่าการติดตามผลประกอบการซึ่งเป็น ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้ว

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010

Subject(s):

ธุรกิจขนาดกลาง
ธุรกิจขนาดย่อม -- ผู้ประกอบการ

Keyword(s):

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

13, 228 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/959
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-diss-b166942.pdf ( 1.34 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Dissertations [410]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×