ผลกระทบเชิงประจักษ์ของสถานการณ์การแข่งขัน การจัดการความรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
Publisher
Issued Date
2010
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
21, 334 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กฤตกร กัลยารัตน์ (2010). ผลกระทบเชิงประจักษ์ของสถานการณ์การแข่งขัน การจัดการความรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/961.
Title
ผลกระทบเชิงประจักษ์ของสถานการณ์การแข่งขัน การจัดการความรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
Alternative Title(s)
Empirical impact of competition rivalry, Knowledge management, learning climate, readiness to change and innovation on performance of Siam Commercial Bank Branches
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มของสาขาธนาคาร ที่มีผลการดําเนินงานสูง-ต่ํา ในบริบทการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาโมเดล ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับผลการดําเนินงานของธนาคารสาขาที่มีระดับผล ประกอบการสูง-ต่ํา 3) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้และรูปแบบของบรรยากาศการเรียนรู้ ของกลุ่มธนาคารสาขาที่มีผลประกอบการสูง-ต่ํา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สาขาของ ธนาคารไทยพาณิชย์จํากัด (มหาชน) ในประเทศไทยจํานวน 938 สาขา (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551) การศึกษาประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการศึกษา เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือซึ่งงประกอบด้วย 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของ ธนาคารสาขาและตอนที่ 2 ตัวแปรปัจจัยในการศึกษาจํานวน 6 ตัวแปร ได้แก่ 1) สถานการณ์การ แข่งขัน 2) การจัดการความรู้ 3) บรรยากาศการเรียนรู้ 4) ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลง 5) นวัตกรรม และ 6) ผลการดําเนินงาน ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 430 สาขาแบ่งเป็นกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง 221 สาขาและกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ํา 209 สาขา ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้จัดการและการสังเกตการณ์ทํางานใน สาขาธนาคารไทยพาณิชย์จํานวน 20 สาขา โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง 8 สาขา และกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ํา 12 สาขาผู้วิจัยใช้โปรแกรมสถิติ SPSS เพื่อวิเคราะห์ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าความเชื่อถือได้ของ แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทีและโปรแกรม AMOS 7.0 ใน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าโมเดลการวดของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีความ สอดคล้องกับทฤษฎีโดยตัวแปรสังเกตได้ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .515- .924 ค่าความผันแปรเฉลี่ยที่สกัดได้มีค่าระหว่าง .505-.787 และค่าความเชื่อถือได้อยู่ระหว่าง .598-.998 ในกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง (n = 221) พบว่าโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิง สาเหตุสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( x2= 142.39, df = 119, x2/ df = 1.197 , ns., GFI = .942, CFI = .994, RMR = .039, RMSEA = .030) และพบว่าสถานการณ์การแข่งขันมีอิทธพลโดยตรงเชิง บวกกับการจัดการความรู้ ( = .79, p < .001) และบรรยากาศการเรยนร (y = .93, < .001) และยัง มีอิทธพลทางอhอมตjอผลการดำเนินงานโดยมีการจัดการความรู้และบรรยากาศการเรียนรู้เป็นตัวแปร คั่นกลางนอกจากนี้ยังพบว่าการจัดการความรู้ยังมีอิทธพลโดยตรงเชิงลบต่อผลการดำเนินงาน ( B= -.89, P< 0.01) และมีอิทธพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานโดยมีนวัตกรรมและความพร้อมในการ ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแปรคนกลางส่วนบรรยากาศการเรียนรู้พบว่ามีอิทธพล โดยตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน ( B= .36, P< .05) และมีอิทธพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงาน โดยมนวัตกรรมเป็นตัวแปรคนกลางซึ่งโมเดลสามารถอธิบายผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 92.9 อนึ่ง การที่การจัดการความรู้มีอิทธพลเชิงลบต่อผลการดำเนินงานของสาขาที่มีผลประกอบการสูงผลการ วิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมชี้ว่าการจัดการความรู้มีอิทธพลเชิงลบต่อตัวแปรระดับความพึงพอใจของ พนักงานตัวแปรเดียวเท่านั้นนั่นคือหากมีการจัดการความรู้ที่เน้นเพียงกระบวนการมากกว่าการ สร้างการตระหนักถึงคุณค่าจะส่งผลให้ระดับความพึงพอใจของพนักงานลดลง ในกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ํา (n = 209) พบว่าโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิง สาเหตุสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 113.772, df = 94, X2/df = 1.210 , ns., GFI = .950, CFI = .994, RMR = .033, RMSEA = .032) และพบว่าสถานการณ์การแข่งขันมีอิทธพลโดยตรงเชิง บวกกับการจัดการความรู้ ( y= .87, p< .001) และบรรยากาศการเรยนร ( y= .97, p< .001) ส่วน การจัดการความรู้ไม่มีอิทธพลโดยตรงต่อผลการดำเนินงานแต่มีอิทธพลทางอ้อมผ่านความพร้อม ในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านบรรยากาศการเรี่ยนรู้พบว่าไม่มีอิทธพลใดต่อผลการ ดําเนินงานซึ่งโมเดลสามารถอธิบายผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 91.8 ข้อเสนอแนะสำคญในการศึกษานคือในการสร้างการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ธนาคารไทยพาณิชย์ ไม่ควรมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมหนังกิจกรรมใดระหว่างกระบวนการจัดการความรู้หรอการส่งเสริมบรรยากาศการ เรียนรู้แต่ควรส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ไปพร้อมๆกับการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เนื่องจาก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้ยืนยันถึงอิทธิพลของการบูรณาการตัวแปรการจัดการความรู้และบรรยากาศ การเรียนรู้หรอที่รียก “การจัดการความรู้เต็มรูปแบบ” พบว่ามีอิทธพลเชิงบวกต่อทั้งระดับความพึงพอใจ ของพนักงานระดับความพึงพอใจของลูกค้าตลอดจนผลการดำเนินงานทางการเงินของสาขาธนาคาร
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010