อิทธิพลของพฤติกรรมผู้นำวัฒนธรรมการทำงานในองค์การและกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
by เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย
ชื่อเรื่อง: | อิทธิพลของพฤติกรรมผู้นำวัฒนธรรมการทำงานในองค์การและกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The influence of leadership behaviors, organizational culture and human resource development on employee performance in state enterprises |
ผู้แต่ง: | เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา |
ชื่อปริญญา: | รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | ปริญญาเอก |
สาขาวิชา: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2009.150 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นํา วัฒนธรรมการทํางานในองค์การกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับผลการปฏิบัติงานของ พนักงานรัฐวิสาหกิจศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นํา วัฒนธรรม การทํางานในองค์การกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน รัฐวิสาหกิจและเพื่อหารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นํา วัฒนธรรม การทํางานในองค์การ กิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน รัฐวิสาหกิจ ที่นําไปใช้สําหรับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ประชากรเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็น พนักงานประจําขององค์การรัฐวิสาหกิจ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างของพนักงานรัฐวิสาหกิจจะใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เพื่อให้ได้เป็นตัวแทนของประชากร และใช้ทดสอบกรอบแนวคิด ความสัมพันธ์ตามสมมติฐาน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามทฤษฎีกรอบแนวคิด และนิยามปฏิบัติการ ซึ่ง มีเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลคือ 1) การวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและ ยืนยันความถูกต้องของมาตรวัด 2) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายเพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่างพฤติกรรมผู้นําวัฒนธรรมการทํางานในองค์การกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ 3) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ ถดถอยมาตรฐาน ซึ่งเป็นค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางโดยทําการวิเคราะห์ตามสมการโครงสร้างของ แบบจําลองความสัมพันธ์และตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจําลองความสัมพันธ์ตาม สมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์และทําการวิเคราะห์หาค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปร อิสระทุกตัวที่มีต่อตัวแปรตามผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมผู้นําสร้างความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทํางานในองค์การ เน้นการปรับตัว กิจกรรมการฝึกอบรม และกิจกรรมการพัฒนาของพนักงานมีอิทธิพลทางตรงต่อ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยที่พฤติกรรมผู้นําสร้างความเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพล ต่อผลการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมาคือกิจกรรมการฝึกอบรม วัฒนธรรมการทํางานในองค์การ เน้นการปรับตัว และกิจกรรมการพัฒนาของพนักงาน ตามลําดับ และพฤติกรรมผู้นําที่ขาดภาวะ ผู้นํามีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยที่วัฒนธรรมการ ทํางานในองค์การเน้นการมีส่วนร่วม วัฒนธรรมการทํางานในองค์การเน้นพันธกิจ และพฤติกรรม ผู้นําแบบแลกเปลี่ยนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยส่งผ่าน กิจกรรมการฝึกอบรม และกิจกรรมการพัฒนาของพนักงาน และพบว่าพฤติกรรมผู้นําสร้างความ เปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการทํางานในองค์การเน้นการปรับตัววัฒนธรรมการทํางานใน องค์การเน้นการมีส่วนร่วม วัฒนธรรมการทํางานในองค์การเน้นพันธกิจ และพฤติกรรมผู้นําแบบ แลกเปลี่ยนมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการทํางานในองค์การเน้นพันธกิจ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (รปด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | วัฒนธรรมองค์การ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้นำ -- การศึกษาเฉพาะกรณี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี |
ประเภททรัพยากร: | ดุษฎีนิพนธ์ |
ความยาว: | 274 แผ่น ; 30 ซม. |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/968 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|